วิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การแก้ปัญหาเด็กไม่รู้จักการรอคอย โดยการเล่านิทาน
ชื่อผู้วิจัย ครูมานิดา จันทรา
ระดับชั้น อนุบาลปีที่ 2/1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จะเห็นได้ว่าแนวทางการจัดการศึกษาของรัฐ มุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของการมีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม ตั้งแต่ช่วงปฐมวัยการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะทางภาษา จึงเป็นสิ่งจำเป็นทั้งนี้ ครูจะคอยคำนึงถึงวุฒิภาวะ หรือความพร้อมทางพัฒนาการต่างๆ ของเด็กไปด้วยจากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กชั้นอนุบาล 2/1 ที่ตนรับผิดชอบพบว่า เด็กส่วนใหญ่ยังขาดคุณธรรมจริยธรรม จิตใจที่ดีงาม ไม่รู้จักการรอคอย อาจเกิดจากการที่เด็กไม่ได้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่แรกเริ่ม เด็กจึงขาดการปฏิสัมพันธ์ด้านคุณธรรม จริยธรรม หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลให้เด็กอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีความสุขใจอนาคต เด็กจะมีปัญหาทั้งด้านการเรียนและการดำเนินชีวิต การที่ครูผู้สอนจะนำเอากิจกรรมการเล่านิทานส่งเสริมคุณธรรม ที่มีสาระที่ช่วยพัฒนาคุณธรรมด้านนี้ในเด็กที่มีปัญหาให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น เพราะการที่เด็กได้มีโอกาสได้รับฟังนิทานส่งเสริมคุณธรรมบ่อยๆ เด็กจะเกิดการคล้อยตามหรือมีจินตนาการตามนิทานที่ได้ยินได้ฟัง และปฏิบัติตามได้ในที่สุดจะทำให้เด็กเหล่านั้นเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง สุดท้ายก็พัฒนาแสดงออกทางด้านความอดกลั้นอดทนต่อสิ่งยั่วยุ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ทีละน้อยจนในที่สุดเด็กจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขกับการเรียนรู้ตลอดไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. รอนานหน่อยนะ
2. ช้างน้อยคอยได้
3. หิ่งห้อยและการรอคอย
สมมุติฐานของการวิจัย
กิจกรรมเล่นนิทานส่งเสริมคุณธรรม 3 เรื่อง สามารถพัฒนาความอดกลั้น อดทนของเด็กปฐมวัยได้ดียิ่งขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือเด็กนักเรียนชายและหญิงที่เรียนอยู่ชั้นอนุบาล2/1จำนวน19 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ นิทานส่งเสริมคุณธรรม 3 เรื่อง
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ เทคนิคการเล่านิทานของครู
3. ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ใช้เวลา 2 เดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2566
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กชั้นอนุบาล 2/1 มีความอดทนมากขั้น
2. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจสำหรับเด็กปฐมวัย
3. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจมากขึ้น
วิธีการวิจัย
นำนิทานส่งเสริมคุณธรรมไปเล่าให้เด็กฟังหลังการดื่มนมและเริ่มกิจกรรมในตอนเช้าโดยเล่านิทานสัปดาห์ละ 3 วัน เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอยในการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือในการวิจัยดังนี้
1. หนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรม จำนวน 3 เรื่อง
2. แบบสังเกตพฤติกรรมมาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ระหว่างเดือน มิถุนายน กรกฎาคม2566 โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์คะแนนการมีความอดกลั้นอดทนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมจากแบบสังเกตพฤติกรรมมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงามโดยการหาค่าร้อยละ และเมื่อพิจารณาหลังการใช้กิจรรมเล่านิทานคะแนนการมีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามของเด็กปฐมวัย ดังนี้
รายการที่ 1 การรู้จักขอโทษและให้อภัย คิดเป็นร้อยละ 89.4
รายการที่ 2 การรอคอยตามลำดับก่อน หลัง คิดเป็นร้อยละ 100
รายการที่ 3 การแสดงความรักเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 89.4
รายการที่ 4 การร่าเริงแจ่มใสอารมณ์ดี คิดเป็นร้อยละ 94.7
ส่วนในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 78.94
อภิปรายผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความอดทน อดกลั้นของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมเล่านิทาน ซึ่งผลการใช้กิจกรรมดังกล่าว เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือ การใช้กิจกรรมเล่านิทานส่งเสริมคุณธรรมสามารถพัฒนาความอดกลั้น อดทนของเด็กปฐมวัยได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมการเล่นนิทานเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมคุณธรรมบ่อยๆ เด็กจะเกิดความคล้อยตามหรือมีจินตนาการตามนิทานที่ได้ยินได้ฟัง และปฏิบัติตามในที่สุดจะทำให้เด็กเหล่านั้นเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง สุดท้ายก็พัฒนาการแสดงออกทางด้านพัฒนาการด้านความอดกลั้น อดทนต่อสิ่งยั่วยุเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อย จนที่สุดเด็กจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขกับการเรียนรู้ตลอดไป ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สามารถศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย อันจะเป็นการปูพื้นฐานการมีคุณธรรม จริยธรรมมีจิตใจที่งามให้เกิดกับเด็กจะช่วยให้เด็กกล้าคิด กล้าทำสิ่งต่างๆ ด้วยความมั่นใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยความมั่นใจสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ต่างๆ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต