ปัจจัยความสำเร็จ
๑. ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการพัฒนาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม กิจกรรม ๕ ส และหลักการวงจรคุณภาพ PDCA
๒. ผู้บริหาร นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าใจบทบาทการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ของโรงเรียนต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนตามแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ๓ ประสาน ร่วมพัฒนาโรงเรียนสะอาดน่าอยู่ ด้วยกิจกรรม ๕ ส
๓.ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีศักยภาพในการสานสัมพันธ์ เชื่อมโยงการช่วยเหลือ และพัฒนาจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอิฐ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านอิฐ และผู้นำชุมชน ดูแลสนับสนุนเจ้าหน้าที่ กำลังคน ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน รวมทั้งสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณในการดำเนินงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ดูแลสนับสนุน ผ่านทางศึกษานิเทศก์ ให้การนิเทศแบบกัลยาณมิตร ในการให้คำแนะนำพัฒนาโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน สนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือมาโดยตลอด เป็นต้น
๔. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักและยอมรับในความพร้อมของตนเอง ยินดีปฏิบัติตามกิจกรรม ๕ ส อย่างมีความสุข
บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
การนำแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ๓ ประสาน ร่วมพัฒนาโรงเรียนสะอาดน่าอยู่ ด้วยกิจกรรม ๕ ส ไปใช้ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลย่อมทำได้ในโรงเรียน ดังนี้
๑. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรม ๕ ส แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม หลักการวงจรคุณภาพPDCA และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ๓ ประสาน ร่วมพัฒนาโรงเรียนสะอาดน่าอยู่ ด้วยกิจกรรม ๕ ส ของโรงเรียนบ้านน้ำผึ้ง
๒. ครู บุคลากร สามารถดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายในการเชื่อมโยงความรู้ ความสอดคล้องของแผนการดำเนินการสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ
๓. ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพร้อมยอมรับการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศBest Practice ๓ ประสาน ร่วมพัฒนาโรงเรียนสะอาดน่าอยู่ ด้วยกิจกรรม ๕ ส ในการพัฒนาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน