วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
เรื่อง การพัฒนาส่งเสริมทักษะอาชีพ เจ้าสัวน้อย โดยใช้รูปแบบ TFIVE+ Cooperative Learning Modle
ประเด็นจุดเน้นเด็กสงขลา : มีทักษะอาชีพ
นางสาวเนตรนภา หยูมาก ครู คศ.1
การจัดการเรียนรู้ส่งเสริม 5 จุดเน้นเด็กสงขลา เพื่อพัฒนาส่งเสริมทักษะอาชีพ เจ้าสัวน้อย โดยใช้รูปแบบ TFIVE+ Cooperative Learning Modle ประเด็นจุดเน้นเด็กสงขลา : มีทักษะอาชีพ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพ เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชุมนุมเจ้าสัวน้อย ระดับชั้นประถมปีที่ 3/2 จำนวน 26 คน
ผู้ศึกษาได้ใช้รูปแบบ TFIVE+ Cooperative Learning Modle ที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจาก TFIVE Modleของสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศด้านการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยจากศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ 2564 โดยข้าพเจ้าได้นำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มาพัฒนาต่อยอด โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ และความสามารถที่หลากหลายของนักเรียน ประกอบไปด้วย ๕ขั้นตอน ดังนี้
1. การเรียนรู้ฝึกปฏิบัติแบบเป็นทีม Team ประกอบไปด้วย ผู้ขายสินค้า ผู้จัดเตรียมร้านค้า ผู้ประกอบอาหาร ฝ่ายบัญชีเก็บเงิน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะทำงานร่วมกันภายใต้ความความสามารถที่แตกต่าง
2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการโดยนักเรียน Focus ประกอบไปด้วย การสำรวจตลาด
วิเคราะห์อาชีพที่สนใจ ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานในแต่ละอาชีพ นำผลการศึกษามาแลกเปลี่ยนกัน และการศึกษาขั้นตอนวิธีการขายสินค้า
3. การบูรณาการในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของนักเรียน Integration เพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมของกลุ่มประสบความสำเร็จโดยมีการแลกเปลี่ยนสลับหน้าที่กัน คือ ผู้ขายสินค้า ผู้จัดเตรียมร้านค้า ผู้ประกอบอาหาร และฝ่ายบัญชีเก็บเงิน
4. การฝึกปฏิบัติอาชีพที่หลากหลาย Variety ประกอบไปด้วย 4 อาชีพ คือ การทำขนมบัวลอย ทำแซนวิช การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน และการเพาะถั่วงอก โดยมีการฝึกปฏิบัติอาชีพเพื่อเปิดร้านจำหน่ายสินค้าตามตารางที่กำหนดไว้ การออกร้านจำหน่ายในตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาชีพจะออกร้านทุกวันศุกร์แรกของเดือน
5. การวัดและประเมินการฝึกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ Evaluation โดยประเมินจากการสังเกตทักษะการประกอบอาชีพ และประเมินจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง
ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการดำเนินงานจากการสังเกตทักษะการประกอบอาชีพของนักเรียน แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีทักษะประกอบอาชีพเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็นร้อยละ 86.25 จากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมชุมนุมเจ้าสัวน้อยโดยภาพรวม ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมชุมนุมเจ้าสัวน้อย คิดเป็นร้อยละ 93.75 และจากการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ในการจัดกิจกรรมชุมนุมเจ้าสัวน้อยโดยภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมชุมนุมเจ้าสัวน้อย คิดเป็นร้อยละ 93.75 นักเรียนให้ร่วมมือกันและดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ผู้ปกครองให้การร่วมมือสนับสนุน ร่วมกิจกรรม และร่วมประเมินผลในการส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับนักเรียน