บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑.เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการสื่อสาร ๒. เพื่อส่งทักษะด้านกีฬา E-SPORT๓.เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม ประชากรและกลุ่มเป้ามาย คือ นักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) จำนวน ๒๘ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๕
การพัฒนาระบบการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การออกแบบผลงานนวัตกรรมหรือแนว การส่งเสริมทักษะด้านภาษาและด้านกีฬา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๑ ด้วยรูปแบบ TFIVE+ Model ตามกฎแห่งการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดำเนินการดังนี้
T = Team การดำเนินงานเป็นทีม การทำงานทุกขั้นตอนจะเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางยกระดับ ร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอน และมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันสรุป วิเคราะห์ผลการดำเนินการ F = Focus โดยศึกษาเอกสารหลักสูตร ศึกษาแนวคิดศึกษาแนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ภาษาถิ่น คำศัพท์ภาษาอังกฤษ คำศัพท์ภาษาจีน ศึกษาวิธีการเล่นกีฬา E Sport เอกสารที่เกี่ยวข้องกับจัดเป็นกีฬาอีเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC SPORT / E-SPORT) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ออกแบบเครื่องมือวัดผลและประเมินผล แล้วนำมาออกแบบโมเดลในการแก้ปัญหา I = Integration บูรณาการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของคณะทำงาน บูรณาการสอนในรายชั่วโมง บูรณาการในกิจกรรมหน้าเสาธง บูรณนาการข้ามกลุ่มสาระนำไปใช้ และกิจกรรมนอกเวลาเรียน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของผู้ปกครอง V = Variety การจัดการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยมีการปรับกิจกรรมกระบวนการทำซ้ำแต่ยังคงใช้กระบวนการเหมือนตอนเดิม ขั้นวางแผน วิเคราะห์สภาพปัญหา ด้านการเรียนการสอน PLC กลุ่มในสาระ
ขั้นตอนการดำเนินงาน กำหนดน้ำหนักชั่วโมงสอน PLC ข้ามกลุ่มสาระในการจัดกิจกรรม และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning E = Evaluation การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน
จากการสุ่มท่องคำศัพท์ แบบประเมินความพึงพอใจในการตอบคำถามของนักเรียน และแบบประเมินแบบประเมินความพึงพอใจในการตอบคำถามของผู้ปกครอง
ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ผลสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรมทักษะด้านภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีค่าเฉลี่ย
ร้อยละ 2.๗๙
๒. ผลการดำเนินงานจากการแบบสอบถามชุมนุม กีฬา E-SPORT
- แบบสอบถามของนักเรียนความพึงพอใจในกิจกรรมชุมนุม มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ ๙๐.๐๐
- แบบสอบถามของผู้ปกครอง ความพึงพอใจในกิจกรรมชุมนุม มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ ๙๐.๐๐