เอกสารรายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
----------------------------------------
ชื่อผลงาน : วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐาน
ของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาที่ 3 โดยใช้รูปแบบ
WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
ชื่อผู้พัฒนาผลงาน : นางสาวศศิธร ช่วยสงค์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนวัดดอนมะปราง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ประเภทของผลงานผู้บริหารสถานศึกษา
การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาที่ 3
1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
1.1 ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) และฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2553) บัญญัติไว้ใน มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน โดยประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้นให้เป็นการวัดผลระดับชาติ เพื่อให้สามารถใช้การวัดและประเมินผลที่เป็นมาตรฐานสากล สามารถเทียบเคียงกันได้ เป็นกลไกในการประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น การประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติ จะสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จหรือคุณภาพในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่สื่อให้เห็นถึงคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ถึงแม้ว่าคนไทยจะไดรับการพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาทุกชวงวัย แต่ก็ยังมีปัญหาด้านการพัฒนาสติปัญญาและคุณภาพการศึกษา และยังพบว่า คุณภาพผู้เรียนในภาพรวม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าร้อยละ 50 รวมถึงมาตรฐานความสามารถของผู้เรียนในเรื่องการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห มีวิจารณญาณ และคิด
สร้างสรรค์อยู่ในระดับที่จะต้องได้รับการพัฒนา นอกจากนั้น การประเมินคุณภาพผู้เรียนทุกช่วงวัย ก็ยังมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผลการประเมินดังกล่าว จะนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการวางแผน กำหนดทิศทางในการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา และเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการประเมิน นอกจากนี้ ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ยังจะช่วยในการวางแผนพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพของตนเองอีกด้วย (กระทรวง ศึกษาธิการ,2562 : 10)
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง ศึกษาธิการ ได้กำหนดรายละเอียดการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ระดับประเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นนักเรียนในชั้นสูงสุดของช่วงชั้นที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ไว้เป็น 2 ด้าน คือ การประเมินด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และด้านภาษาไทย (Thai language) เพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนทุกคน ทุกโรงเรียน ทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ให้ได้มาตรฐานและเพื่อเป็นการตรวจสอบ ควบคุม ดูแล และรักษาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอีกด้วย โดยกำหนดให้เป็นการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ เพื่อวัดความรู้และความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ก่อนปีการศึกษา 2562 คือ เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนใน 3 ด้าน ได้แก่ ความสามารถด้านภาษา (Literacy) ด้านคำนวณ (Numeracy) และด้านเหตุผล (Reasoning Abilities) นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาความสามมารถของผู้เรียน และในปัจจุบัน กำหนดไว้เป็น 2 ด้านเท่านั้น คือ การประเมินด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และด้านภาษาไทย (Thai language) ดังที่กล่าวมาแล้วโดยมีวัตถุประสงค์และรายละเอียดที่สำคัญ คือ
1. เพื่อตรวจสอบความสามารถพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งในด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ เพื่อให้ครูผู้สอนมีข้อมูลความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนสำหรับนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล และทราบถึงสาระการเรียนรู้ที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา นำข้อมูลไปสู่การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนในปีการศึกษาต่อไป อีกทั้งทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รู้จุดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาผู้เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น
2. เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด วินิจฉัยสิ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคล เน้นนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น เตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนการเรียนในปีการศึกษาต่อไป ครูผู้สอนสามารถนำผลการประเมินไปใช้ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน และวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3. การประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) มีกรอบการประเมิน 2 ด้าน คือ ความสามารถด้านภาษาไทย และความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โดยมีกลุ่มเป้าหมายการประเมินผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทุก ๆ โรงเรียนจะได้ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนมาอย่างต่อเนื่องแต่กลับพบว่า ผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามรายงานของสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รายงานผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2562 พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 44.94 ด้านภาษาไทย (Thai language) คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.46 รวมคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน คือร้อยละ 45.70 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 50 อยู่มาก (สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563 : 3) ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนวัดดอนมะปราง ที่มีผลการทดสอบความสามารถด้านคิดคณิตศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.20 และผลการทดสอบด้านภาษาไทย คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 62.30 รวมคะแนน 2 ด้าน คะแนนรวมเฉลี่ยร้อยละ 53.75 เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 60.00 ขึ้นไป และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ (โรงเรียนวัดดอนมะปราง, 2564 : 8)
1.2 แนวทางการแก้ปัญหา
ผู้พัฒนานวัตกรรม ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนวัดดอนมะปราง จึงได้ศึกษารูปแบบการบริหารเพื่อความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหาร รวมถึงตำรา เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีหลายรูปแบบที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ โดยได้เลือกรูปแบบการบริหารที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในโรงเรียน และแก้ปัญหาที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้ จึงได้ดำเนินการสร้างนวัตกรรม การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ตามหลักการ แนวคิดสำคัญในการออกแบบผลงานหรือนวัตกรรมที่สามารถอ้างถึงแนวคิด หลักการทฤษฎี รูปแบบ วิธีการที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการออกแบบผลงาน แนวคิดการพัฒนา ความ สามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยยึดหลัก การจัดการศึกษาและการบริหารจัดการการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติวัตถุ ประสงค์ของ
แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน เรื่อง การเตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2563 : 5) ยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2563 : 11) เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน มุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัย ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง คนไทยในอนาคต จะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนเชิงรุก (Active Learning) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562 ) แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของนรรัชต์ ฝันเชียร (2558) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของสมบัติ นามบุรี (2562) และยังรวมถึงแนวคิดของประชา แสนเย็น (2558) ที่ได้กล่าวถึง การบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยนำมาจัดทำเป็นนวัตกรรม การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ซึ่งเป็นอักษรย่อชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียนวัดดอนมะปราง (Wat Don Ma Prang School) นั่นเอง
ผู้พัฒนานวัตกรรม มีความเชื่อว่า นวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ที่สร้างขึ้น จะช่วยให้สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
2.1.1 เพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคุณภาพสูงขึ้นและเกิดความยั่งยืน
2.1.2 เพื่อสร้างความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมแก่ผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
2.2.1 ด้านปริมาณ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดดอนมะปราง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 คน และปีการศึกษา 2565 จำนวน 11 คน ได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ และความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT)
2.2.2 ด้านคุณภาพ
2.2.2.1 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50.00 ผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50.00 และมีค่าเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.00 ขึ้นไป รวมถึงมีค่าเฉลี่ยทั้ง 2 ด้าน สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกปี
2.2.2.2 ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจและมีส่วนร่วมในการการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากขึ้นไป
3. กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง มีกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้
1. ขั้นการวางแผน (Plan : P) ประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนา
1. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดดอนมะปราง
2. แต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาและพัฒนาความ สามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. คณะทำงานและผู้รับผิดชอบร่วมกันศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สารสนเทศผลการพัฒนา ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 และผลสัมฤทธิ์ทางเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อร่วมกันพิจารณาจุดเด่น จุดด้อยของการพัฒนา และพิจาณาความจำเป็นในการพัฒนาทั้งระบบ จากสารสนเทศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล/สภาพปัญหา
กำหนดกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/สภาพปัญหา ดังนี้
1. คณะทำงานและผู้รับผิดชอบ ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศผลการจัด การเรียนรู้ของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2562 รวมถึงสารสนเทศผลการพัฒนาความ สามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 และข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
2. วิเคราะห์ความสามารถทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563,2564 และ 2565 เป็นรายบุคคล เพื่อคัดกรองและจำแนกความสามารถของผู้เรียนทุกคน
3. วิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การบริหารและการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พิจารณาประเด็นความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนา และการบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้สูงขึ้นและเกิดความยั่งยืน
4. จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 บริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ โดยให้น้ำหนักเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และการส่งเสริมให้ครูและบุคลากร มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาความ สามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ขั้นที่ 3 หาวิธีแก้ปัญหา/นวัตกรรมแก้ปัญหา
1. ประสานงาน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ประสานความร่วมมือในการดำเนินการแก้ปัญหา และแสวงหานวัตกรรการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
2. จัดเตรียมงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และปัจจัยสนับสนุนในการดำเนินการแก้ปัญหาและการสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหา
3. วางแผนการแก้ปัญหา/แสวงหาวิธีการ/นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาตามรูปแบบที่สร้างขึ้น
4. ศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ หลักการบริหารสถานศึกษา การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนา การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การสร้างความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ
5. แสวงหาแนวทาง วิธีการหรือการสร้างทางเลือกในการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
6. เลือกและกำหนดแนวทางการพัฒนา และจัดทำนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
ขั้นที่ 4 พัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหา
1. ออกแบบนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
2. กำหนดรายละเอียดของวิธีการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ได้แก่
2.1 ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
2.2 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.3 กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
2.4 ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
2.5 ปัจจัยความสำเร็จ
2.6 บทเรียนที่ได้รับ
2.7 การเผยแพร่ผลงาน/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
2.8 ภาคผนวกที่เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างเครื่องมือที่ใช้กับนวัตกรรมวิธีการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ได้แก่
3.1 แบบบันทึกผลการประเมิน National Test : NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563, 2564 และ 2565
3.2 แบบประเมินความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
4. นำเสนอเครื่องมือฉบับที่ 3.2 แบบประเมินความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item objective congruence : IOC) ของข้อคำถามกับเนื้อหาในการตรวจสอบ
5. ทดลองใช้และหาคุณภาพของเครื่องมือฉบับที่ 3.2 แบบประเมินความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) (บุญชม ศรีสะอาด,2556 : 99 100) ก่อนนำ ไปใช้ในการเก็บข้อมูล
2. ขั้นดำเนินการตามแผน (Do : D) ประกอบด้วย
ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบูรณาการ
ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง ดังนี้
1. พัฒนาครูและบุคลากร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
1.1 ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งระบบ
1.2 การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ของครูและบุคลากร โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันจากสภาพปัญหาและการระดมสมอง และการแสวงหาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน
1.3 สร้างความตระหนักในบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและอื่น ๆ
1.4 ครูและบุคลากรทุกคน ร่วมกันศึกษาแนวทางการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของแบบทดสอบ (Test Blueprint NT) เนื้อหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ทั้ง 5 สาระการเรียนรู้ คือ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย และสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต คือ สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต และสาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
1.5 ครูและบุคลากรทุกคน จัดเตรียมสื่อการสอน แบบทดสอบ วัดและประเมินผลตามโครงสร้างของแบบทดสอบ (Test Blueprint NT) เพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้ครอบคลุมเนื้อการวัดและประเมิน
1.6 สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทุกคน มีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.7 การนิเทศ กำกับ ติดตามผลการมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้ผู้เรียนมีคุณภาพอย่างยั่งยืน
1.8 การสร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ดังนี้
2.1 สร้างความร่วมมือกับครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการวางแผน การดำเนินการพัฒนา การนิเทศ กำกับติดตาม และการประเมินผลการดำเนินการ
2.2 ประสานความร่วมมือกับครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง
2.3 บูรณาการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้มแข็ง การคัดกรองนักเรียน และกำหนดแนวทางการพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียน
2.4 การสร้างความภาคภูมิใจร่วมกันในความสำเร็จ และร่วมรับผลประโยชน์ของ การดำเนินการ
3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบบูรณาการ ดังนี้
3.1 ครูและบุคลากรทุกคน จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามพันธกิจหลักและค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
3.3 ครูและบุคลากรทุกคน พัฒนาคุณภาพและความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) สูการปฏิบัติ และมุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืน
3.4 ครูและบุคลากรทุกคนจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม จากกิจกรรม ดังต่อไปนี้
3.4.1 จัดการเรียนรู้ตามตามโครงสร้างของแบบทดสอบ (Test Blueprint NT) เพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้ครอบคลุมเนื้อการวัดและประเมิน และทำแบบทดสอบทุกสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
3.4.2 จัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT)
3.4.3 จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางวิชาการ และความสามารถอื่น ๆ
3.4.4 การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะการสื่อสารสองทาง ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบถ่ายทอดสด (LIVE) ระหว่างครูและนักเรียน ทั้งนี้ นักเรียนจะต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น Google Meet , Zoom Meeting, Line , Facebook
3.4.5 จัดกิจกรรม Pre NT ป.3 และทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามโครงสร้างของการทดสอบ
3.4.6 การเตรียมความพร้อมและส่งนักเรียนเข้าร่วมทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. ขั้นตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check : C) ประกอบด้วย
ขั้นที่ 6 การวัดและประเมินคุณภาพความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
1. ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกันกำหนดกรอบการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ตามโครงสร้างของการทดสอบ
2. ครูและบุคลากรทุกคน ดำเนินการสร้างแบบวัดและประเมินผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แล้วแจ้งให้นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบและตกลงร่วมกัน
3. ครูและบุคลากรทุกคน ดำเนินการวัดและประเมินผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยทำการตรวจสอบความก้าวหน้าของการจัดการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติตามโครงสร้างของแบบทดสอบ (Test Blueprint NT) เพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำหนดไว้
4. จัดเก็บข้อมูล สารสนเทศการวัดและประเมินผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
4. ขั้นปรับปรุงและแก้ไข (Act : A) ประกอบด้วย
ขั้นที่ 7 สรุปผล ตรวจสอบ สะท้อนความคิดและรายงานผล
1. ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกันสรุปผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อปรับปรุงแก้ไข การพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3. ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สะท้อน ความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พร้อมเสนอแนะแนวทาง การปรับปรุงเพื่อการพัฒนา
4. จัดกิจกรรมการทบทวนผลหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) การพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อทบทวนวิธีการทำงานทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันสะท้อนและทบทวนกระบวนการต่าง ๆ นำบทเรียนที่ได้จากความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น มาจัดทำและพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานร่วมกัน
5. จัดทำเอกสารสรุปและรายงานผล
6. เผยแพร่ผลงานและเสนอต่อผู้ปกครอง ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
การประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ WDMP Model โรงเรียนวัดดอนมะปราง เป็นการประเมินขั้นสุดท้าย เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการใช้นวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศที่สร้างขึ้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาคุณภาพผู้เรียนได้จริงหรือไม่ อย่างไร ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพผู้เรียนได้จริง ให้ดำเนินการนิเทศและพัฒนาตามขั้นตอนใหม่อีกรอบ แต่ถ้าประเมินแล้วสามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมาย รวมถึงผล การประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะนำไปสู่การสรุปรายงานผลเพื่อการเผยแพร่ต่อไปโดยผู้พัฒนานวัตกรรม สามารถนำไปเขียน Flow Chart วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)