การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรมีการดำเนินการ ดังนี้
1. ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศึกษานิเทศก์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดตำแหน่ง บทบาท อำนาจและหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ ทั้งในส่วนกลาง จังหวัด และอำเภอรองรับการทำงานให้ชัดเจนเป็นระบบตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มาตรฐานวิทยฐานะศึกษานิเทศก์ และมาตรฐานวิชาชีพศึกษานิเทศก์
2. กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งและการพัฒนาบุคคลก่อนเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ในระดับ ประถมศึกษาไม่ควรระบุวิชาเอกเพราะการนิเทศการเรียนการสอนเป็นกระบวนการไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางในระดับประถมศึกษา และปรับจากการสอบข้อเขียนเป็นการคัดเลือกจากครูดีเด่น และหรือผู้บริหารดีเด่น มีผลงานเชิงประจักษ์เป็นที่ยอมรับของครูและผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนในระดับมัธยมศึกษาระบุวิชาเอกได้ตามที่เขตพื้นที่การศึกษาเห็นสมควร
3. แก้ไขคุณสมบัติและองค์ประกอบของคณะกรรมการ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
ตาม พ.ร.บ. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โดยกำหนดให้มีตำแหน่งศึกษานิเทศก์ในองค์ประกอบทั้ง ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
4.จัดตั้งหน่วยศึกษานิเทศก์ในส่วนกลาง หน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัด และหน่วยศึกษานิเทศก์อำเภอ
ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของศึกษานิเทศก์มีเอกภาพ มีการประสานงานกับสถานศึกษาอย่างใกล้ชิดอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ควรลดโครงการหรือบูรณาการโครงการที่สำคัญจำเป็นตามนโยบายรัฐบาลในระดับ สพฐ.7.
กำหนดตัวบ่งชี้คุณภาพ (KPI) ให้เป็นไปตามมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะสำหรับการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์
6.กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการด้านวิชาการให้หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ส่วนกลาง หน่วยศึกษานิเทศก์จังหวัด และหน่วยศึกษานิเทศก์อำเภอ ที่มาจากศึกษานิเทศก์เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง
7. พัฒนาวิชาชีพศึกษานิเทศก์ให้เป็นไปตามลักษณะงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และภาระหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานวิทยฐานะอย่างต่อเนื่อง
8. ควรจัดอัตรากำลังตำแหน่งศึกษานิเทศก์ให้ครบตามกรอบอัตรากำลังเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
9. ควรใช้วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งจากผลการปฏิบัติงานที่ได้รับการยอมรับโดยให้พื้นที่มีส่วนร่วมในการคัดเลือกและสรรหา โดยคำนึงถึงประสบการณ์ที่ได้รับการยอมรับ
10. ควรกำหนดรูปแบบหรือโครงสร้างการบริหารหน่วยศึกษานิเทศก์ที่ชัดเจน มีกฎหมายรองรับถูกต้อง และมีอำนาจบังคับบัญชาศึกษานิเทศก์โดยตรง
11. แก้ไข พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ โดยระบุให้กระบวนการนิเทศการเรียนการสอน เป็นหนึ่งในกระบวนการหลักของการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ที่ขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กับกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการบริหาร
12. แก้ไข พ.ร.บ. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 38ค โดยแก้ไข 38ค (1) เป็น 38ค และ 38ค (2) เป็น 38ง แล้วเพิ่มตำแหน่งศึกษานิเทศก์เข้าไปในองค์ประกอบของ ก.ค.ศ. และ
อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
13. การจัดสรรงบประมาณควรจัดสรรให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อนิเทศตามภารกิจหลัก และจัดสรรให้เครือข่ายการนิเทศ (กลุ่มจังหวัด) เพื่อให้นิเทศการเรียนการสอนโดยมีจุดเน้นแต่ละเรื่องพร้อมเขียนรายงานการนิเทศ และหรือรายงานวิจัยแต่ละเรื่องที่ได้รับมอบหมายระดับเครือข่ายโรงเรียนเป้าหมาย
เอกสารอ้างอิง
ฉลาด จันทรสมบัติ,วานิช ประเสริฐพร,พินิจ มีคำทอง. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการนิเทศ
สู่ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาชาติ แผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2564-2569). วารสารวิชาการ
และวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เม.ยมิ.ย. 2566.