ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้
(Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย : นายดาวทอง จ้ำนอก
ปีที่ทำวิจัย : 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน
การงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างรูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
เรื่อง อาหารประเภทสำรับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองรูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding)
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1.1 องค์ประกอบของรูปแบบจากการวิเคราะห์เอกสารมี 4 องค์ประกอบดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการสอน และ 4) องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน
1.2 ความต้องการในการพัฒนารูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3 การพัฒนารูปแบบการสอน
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ
2. ผลการสร้างรูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 2.1 องค์ประกอบของรูปแบบมี 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) องค์ประกอบ
ด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการสอน มี 5 ขั้น
ดังนี้ ขั้นสร้างความสนใจ (Recruitment) ขั้นให้การชี้แนะ (Advise) ขั้นเพิ่มความซับซ้อน (Complicated) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflect) ขั้นติดตามตรวจสอบ (Examine) 4) องค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน และ 5) องค์ประกอบด้านบทบาทของครูและบทบาทผู้เรียน 2.2 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบ และความเหมาะสมของรูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการทดลองภาคสนาม (Field tryout) มีค่า E1/E2 80.62/80.22 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 80/80
3. ผลการทดลองรูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.1 รูปแบบการสอนการงานอาชีพตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีประสิทธิภาพ 84.95/83.78 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนการงานอาชีพ
ตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนการงานอาชีพ
ตามเทคนิคนั่งร้านเสริมการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนการงานอาชีพตามแนว
เสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก