ผู้วิจัย : นายภัทรพล ทองในแก้ว
ปีการศึกษา : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง
ประชากรจำนวน 56 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 1 เล่ม และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ การวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 10 ชั่วโมง ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest Posttest Design เป็นการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวแต่มีการวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.44/87.22 หมายถึง แบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง มาตราตัวสะกดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
In this thesis, the researcher describes (1) the construction of a skills practice form on Thai basic words and meet the set standardized efficiency levels of 80/80; and (2) to study of dyslexia students achievement who studied using instructed by a skills practice form.
This study constitutes a research and development project involving a research population of 56 Mathayomsueksa One students in the first semester of the academic year 2016. Using the technique of Purposive Sampling, the researcher selected a sample population consisting of 10 students placed in an experimental group. The experimental group studied by means of the skills practice form constructed by the researcher.
The instruments of research consisted of 1) 5 learning plans 2) 1 skills practice form on the Thai basic words and 3) a 30-item test of Thai achievement couched at the reliability level of 0.851. Statistical techniques used by the researcher involved computation determining the efficiency of the skills practice form and t-test (Dependent Samples).
Findings are as follows:
1. The skills practice form exhibited quality at a very good level, inasmuch as evincing an efficiency level of 88.44/87.22. This efficiency level met the set criterion requirements.
2. The Thai achievement of the dyslexia students using the skills practice form was higher than before studying using the skills practice form. The Thai achievement levels of the dyslexia students under study differed at the statistically significant level of 0.05