บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อส่งเสริมการออมเงินตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.เพื่อส่งเสริมการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเป็นรายบุคคล 3.เพื่อส่งเสริมความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการออมเงิน กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 28 คน ปีการศึกษา 2565
กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
กระบวนการผลิต ศึกษา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้การออมเงิน แบบรายงานการเยี่ยมบ้าน สมุดบันทึกการออมเงิน สมุดธนาคารโรงเรียน ทฤษฎีแรงจูงใจ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ออกแบบเครื่องมือวัดรวมไปถึงประเมินผล แล้วนำมาออกแบบโมเดล
การดำเนินงานการส่งเสริมนักออมเศรษฐีตัวน้อย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 ด้วยรูปแบบ TFIVE+ Model
ภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นจุดเน้นเด็กสงขลา จุดเน้นที่ 2 อยู่อย่างพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) การออกแบบผลงานนวัตกรรม ดังนี้ F = Focus โดยศึกษา- หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความรู้การออมเงิน แบบรายงานการเยี่ยมบ้าน สมุดบันทึกการออมเงิน สมุดธนาคารโรงเรียน ทฤษฎีแรงจูงใจ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ออกแบบเครื่องมือวัดรวมไปถึงประเมินผล แล้วนำมาออกแบบโมเดลและรูปแบบการนิเทศติดตาม
I = Integration ทำการ plc ถอดบทเรียน สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง สมรรถนะด้านทักษะอาชีพและผู้ประกอบการ
บูรณาการเนื้อหาวิชาทักษะอาชีพ การทำบันทึกรายรับรายจ่าย V = Variety การเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ขั้นวางแผน วิเคราะห์สภาพปัญหา PLC ร่วมกับครูผู้สอน ครูประจำชั้น หน.งานสัมพันธ์ชุมชน ขั้นดำเนินการ ทำบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นรายบุคคล และถอดบทเรียน ขั้นปฏิบัติ สร้างอาชีพและเข้าร่วมโครงการตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง
E = Evaluation ขั้นตรวจสอบประเมินผล จากตารางการส่งยอดเงินธนาคารโรงเรียนเป็นรายสัปดาห์ให้กับเจ้าหน้าที่ธนาคารของโรงเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง ขั้นปรับปรุงและพัฒนา นำผลที่ได้มาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป
ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
1. การออมเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา 2564 นักเรียนมีพฤติกรรมการออมอย่างพอเพียง จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 38.29 และปีการศึกษา 2565 นักเรียนมีพฤติกรรมการออมอย่างพอเพียง จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2. แสดงให้เห็นว่าในภาคเรียนที่ 1 มีนักเรียนทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 35.71 และภาคเรียนที่ 2.แสดงจำนวนนักเรียนที่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย มีนักเรียนทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ซึ่งนักเรียนมีการออมเงิน 100% 3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อพฤติกรรมการออมภายหลังจากการทำบันทึกการออมเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 ปีการศึกษา 2565 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความพึงพอใจร้อยละ 98.57 ต่อพฤติกรรมออมภายหลังจากการทำบันทึกการออมเงิน