วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามหลักสูตรของสถานศึกษา
2. เพื่อเป็นแนวทางการในดำเนินการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ของนักเรียน
ผลการดำเนินการ
จากการนำนวัตกรรมการบริหารจัดการของสถานศึกษาด้วยรูปแบบ KHAOTALOM MODEL
โดยบูรณาการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับนักเรียน มาใช้ในสถานศึกษาส่งผล ดังนี้
ด้านนักเรียน
นักเรียนมีเจตคติที่ดีขึ้นในการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชา และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นหรือเป็นไปตามเกณฑ์ของสถานศึกษากำหนด ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
ด้านครู
ครูผู้สอนได้มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลโดยจัดกลุ่มนักเรียนระดับกลุ่มอ่อน กลุ่มปานกลาง และกลุ่มเก่ง จึงทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการบูรณาการใช้สื่อนวัตกรรมชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ทุกระดับชั้น ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับนักเรียน ตลอดจนได้พัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนที่จะต้องจัดรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา
ด้านผู้บริหาร
ผู้บริหารสถานศึกษาได้มีแนวทางในการดำเนินงานโดยใช้รูปแบบบริหารจัดการที่ดี KHAOTALOM MODEL โดยบูรณาการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
ด้านสถานศึกษา
ในด้านความรู้ สถานศึกษาได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ มีการประเมินด้านการอ่านและการเขียนในทุกระดับอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกภาคเรียน
2. ดำเนินการคัดกรองนักเรียนที่มีที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 1/2566 เพื่อหาวิธีการแก้ไข/ช่วยเหลือ นักเรียนที่มีปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)
ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยที่ทำให้นวัตกรรม การบริหารจัดการของสถานศึกษาด้วยรูปแบบ KHAOTALOM MODEL
โดยบูรณาการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery) ให้กับนักเรียน แก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและประสบผลสำเร็จ
1. ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรม เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอย
ทางการเรียนรู้ (Learning Loss Recovery)
2. คณะครูทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ร่วมประชุม PLC และพัฒนาการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเจตคติที่ดีให้กับผู้เรียนและนำสื่อนวัตกรรมไปบูรณาการการจัดการเรียนรู้ได้จริง
3. ผู้ปกครองสนับสนุนให้ความร่วมมือในการฝึกฝน ทบทวนและส่งเสริมการอ่านใน
กิจกรรมอื่นๆ