ชื่อผู้ศึกษา นายวิทยา วรรณแสงทอง
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์)
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์)
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 31 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 297 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 169 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และขอบข่ายภารกิจการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน 3) แบบสอบถามการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนไปปฏิบัติ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อคุณลักษณะของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบ
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentages) ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าวิกฤตที (t-test) แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า
1. จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) พบว่า
1.1. องค์ประกอบหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
โรงเรียนเป็นหน่วยงานสำคัญในการจัดการศึกษา ซึ่งรับนโยบายจากส่วนกลางนำมาปฏิบัติตามบริบทความพร้อมของโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนมีอำนาจในการตัดสินใจในการบริหารสถานศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ร่วมพัฒนาโรงเรียนในทุกๆ ด้าน การบริหารจัดการต้องมีความโปร่งใส และคุ้มค่าต่อภารกิจหลักของโรงเรียน และมีการติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
1.2 ขอบข่าย ภารกิจการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งต้องบริหารงานตามโครงสร้างของโรงเรียนที่กำหนดไว้ คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป โดยสถานศึกษาต้องมอบหมายให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีคุณภาพทั้งด้านการเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตร และตามที่โรงเรียนกำหนดไว้
2. ผลการสร้างรูปแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) พบว่า
2.1 ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) ตามองค์ประกอบหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ หลักการกระจายอำนาจ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม หลักการบริหารตนเอง และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปทุกองค์ประกอบ และทุกข้อ
2.2 ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) ตามขอบข่าย ภารกิจการบริหารสถานศึกษา คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไปทุกด้าน และทุกข้อ
2.3 คุณภาพของรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) พบว่า
3.1 ระดับการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายหลังการนำองค์ประกอบหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) ไปปฏิบัติ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ระดับการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายหลังการนำขอบข่าย ภารกิจการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) ไปปฏิบัติ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) พบว่า
4.1 ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) พบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบทุกคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 พบว่า ทุกระดับชั้นมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของภาคเรียนที่ 2 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของภาคเรียนที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อคุณลักษณะนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการาม(ปิยแหวนรังสรรค์) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ลำดับแรก คือ ด้านการเป็นคนดี รองลงมาคือ ด้านการเป็นคนมีความสุข ส่วนลำดับสุดท้าย คือ ด้านการเป็นคนเก่ง