ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายวีระวัฒน์ แดงบุดดา
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และ (3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยการวิเคราะห์เอกสาร แล้วนำมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างเครื่องมือ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ แบบสอบถาม เกี่ยวกับการดำเนินงานการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยนำไปสอบถาม ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนที่ 3 การร่างรูปแบบ โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 มาดำเนินการยกร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จากนั้นนำร่างรูปแบบ ดังกล่าว ไปดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ โดยวิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence : IOC) ของเนื้อหาสาระของร่างรูปแบบตามองค์ประกอบที่กำหนดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้ร่วมสนทนากลุ่มประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งสิ้น 10 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทั้งนี้เพื่อประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จากนั้นนำข้อมูลจากผลการประเมินมาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มาทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนไตรมิตร ภาคเรียนที่ 2 ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 250 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อประเมินการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Ratting scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test (Independent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2) การวัดผลและประเมินผล 3) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี 4) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ 5) การวางแผนงานวิชาการ
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มีการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการบริหาร PDCA ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล และ 3) มีภูมิคุ้มกันที่ดี
3. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สำหรับโรงเรียนไตรมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Congruence : IOC) ของเนื้อหา สาระของรูปแบบตามองค์ประกอบที่กำหนดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกด้าน และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 และพบว่า คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนไตรมิตร มีการปฏิบัติโดยรวมอยูในระดับมาก ทุกด้าน ตามลำดับคือ 1) ด้านความมีวินัยและรับผิดชอบ 2) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 3) ด้านความกตัญญูกตเวที 4) ด้านความประหยัด และ 5) ด้านความเมตตา
The Title The Development of Academic Administration Model
Based on Philosophy of Sufficiency Economy
to Promote the Morality and the Ethicality
for Thraimit School
under Srisakeat Provincial Administrative Organization
The Author Mr. Weerawat Deangbuddha
Year 2022
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ABSTRACT
The objectives of the study were 1) to study the problems of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality for Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization, 2) to construct and develop of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality for Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization and 3) to the evaluation of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality for Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization. The research and development was divided into 4 steps as follows : Step 1 : to study the problems of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality for Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization by synthesizing documents. Step 2 : to construct the questionnaire of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality for Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization for 48 directors and teachers in Thraimit school. Step 3 : data of step 1 and step 2 which to construct of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization by 10 people attended focus group discussion. Step 4 : to assessing the suitability and feasibility of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization by evaluated to determine compliance (IOC) and evaluation in which the evaluation form is based on opinions of 5 experts. And assessing the morality and the ethicality Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization by using questionnaire for 250 students in Matthayoomsuksa 1-6 of Thraimit school in the 2nd semester, B.E.2565 academic year. The collect data were analyzed by using percentage (%), mean ( ), standard deviation (S.D.) and content analysis.
The results of the study were as follow :
1. The problems of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization was learning activity, evaluation, technology and media development, develop of curriculum, and plan.
2. Academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization found that academic administration using PDCA system and philosophy of sufficiency economy was namely sufficiency, rationality and immunity.
3. The results of the feasibility assessment of academic administration model based on philosophy of sufficiency economy to promote the morality and the ethicality Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization found that the IOC (Index of Congruence: IOC) of the content of a model based on elements that define the philosophy of sufficiency in all aspects and results of the evaluation. And evaluation in which the evaluation form is based on opinions of 5 experts. The most suitable is the average of 4.60. And assessing the morality and the ethicality Thraimit school under Srisakeat provincial administrative organization as follows : discipline and responsibility, honesty, gratitude, saving, and mercy respectively.