ชื่อผลงาน รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้ ISARA Model
โดย : นางสาวอิสระ ชอนบุรี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครพนม เขต 2
การนิเทศเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้ ISARA Modelเป็นรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่มุ่งพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A ในการดำเนินงาน พร้อมทั้งใช้หลักการมีส่วนร่วม (Participation) และกระบวนการนิเทศ มาใช้ในการติดตามตรวจสอบและปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ทำให้การดำเนินงานพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ
ในขั้นนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 โดยแบ่งตามระดับคุณภาพเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวางใจ กลุ่มไว้ใจ กลุ่มใส่ใจ และกลุ่มห่วงใย ในภาพรวม และรายโรงเรียน และจัดทำข้อมูลสารสนเทศ เพื่อแสดงคะแนนระดับความสามารถในการอ่านและเขียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้ ISARA Model ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 และการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียน คือ นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 80 หมายถึง จำนวนนักเรียนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มไว้ใจและกลุ่มวางใจ มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน (DO) เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประธานกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายและผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 181 โรงเรียน เพื่อนำรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้ ISARA Model ไปใช้ดำเนินงานพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนในสังกัดทั้ง 181 โรงเรียน โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้
I : Information (ข้อมูลสารสนเทศ) เป็นการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากผลการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและผลการทดสอบความสามารถในการอ่านการเขียนภาษาไทยของโรงเรียนในสังกัด เพื่อเป็นการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องในการวางแผนพัฒนาและส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา
S : Share to design (การแบ่งปันสู่การออกแบบ) เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาความสามารถในการอ่านการเขียนภาษาไทย เพื่อนำมาสู่การออกแบบนวัตกรรมการนิเทศและการพัฒนาเครื่องมือที่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงและตรงกับความต้องการของครูผู้สอน
A : Action (การดำเนินงานตามแผน) เป็นการนำรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 สู่การปฏิบัติครอบคลุมทุกโรงเรียนในสังกัด
R : Reflect (สะท้อนผลการดำเนินงาน) เป็นการนิเทศ ติดตาม รับทราบผล การดำเนินงานและการให้ความช่วยเหลือ แนะนำของศึกษานิเทศก์ทุกคน เป็นการประเมินกระบวนการนิเทศทุกมิติทั้งกระบวนการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ผู้รับการนิเทศและตัวผู้นิเทศ จากนั้นจึงสรุปและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา
A : Accountable (การร่วมรับผิดชอบ) เป็นการร่วมกันรับผิดชอบผลที่เกิดจากนวัตกรรมการนิเทศ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับรู้ข้อมูลการดำเนินงาน รวมถึงชื่นชมในความสำเร็จ มีการขยายผลของความสำเร็จสู่สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อพัฒนาสู่ความมีคุณภาพที่ยั่งยืน
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตราจสอบความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้ ISARA Model
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) และนำผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยใช้ ISARA Model มาวิเคราะห์และสะท้อนผล เพื่อค้นหาปัญหา อุปสรรค ที่ควรแก้ไข ปรับปรุงเพื่อนำไปวางแผนในการปฏิบัติครั้งต่อไปเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษามีคุณภาพที่ยั่งยืน
ผลการอ่านการเขียนภาษาไทย โดยใช้ ISARA Model
แบบสรุปคะแนนการอ่านการเขียน
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2564
แบบสรุปคะแนนการอ่านการเขียน
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2565
ชั้น จำนวน (คน) จำนวนนักเรียน (คน)
(1)กลุ่มห่วงใย (2)กลุ่มใส่ใจ (3)กลุ่มไว้ใจ (4)กลุ่มวางใจ กลุ่ม(3)+(4)
ป.1 2879 167 226 699 1787 2486
ป.2 3081 150 242 800 1889 2689
ป.3 3137 185 307 860 1785 2645
ป.4 3513 247 588 1170 1508 2678
ป.5 3433 211 521 1192 1509 2701
ป.6 3234 185 355 1142 1552 2694
รวม 19,277 1145 2239 5863 10030 15893
ร้อยละ 5.94 11.61 30.41 52.03 82.44