ภาษาไทยมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผน แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม การเรียนภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัยไม่ใช่ความยุ่งยาก เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่คุ้นเคยกับพยัญชนะไทย 44 ตัว โดยรอบตัวอยู่แล้ว กิจกรรมการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับวัย และพัฒนาการของเด็ก การเรียนรู้ต้องเพิ่มตามลำดับความสามารถ และตามวัยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยต้องเน้นให้เด็กเห็นความสัมพันธ์ของภาษาไทยในธรรมชาติ บ้านและโรงเรียน กิจกรรมการเรียนต้องสอดคล้องกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่จะช่วยในการพัฒนาทักษะทางภาษาไทยที่ดี เด็กมีทักษะทางภาษาไทยของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางพยัญชนะไทย 44 ตัว ดังนั้นแล้วคณะทำงานจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาทักษะด้านภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางภาษาไทยด้านการจำตัวอักษรพยัญชนะไทย 44 ตัว เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสมเด็จพระวันรัต การพัฒนาทักษะการคิดในการใช้ทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุก เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาไทยของเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมตามวัยของนักเรียน
จากเหตุผลข้างต้น ครูผู้สอนได้ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะวิธีการค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และยกระดับความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยีของการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรม ลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุก เป็นวิธีการเรียนรู้ที่พัฒนามาจากแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ซึ่งหมายถึงรูปแบบการสอน ที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และเข้าใจบทบาทในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยครูจึงเป็นเพียงผู้ชี้แนะกระบวนการจัดการเรียนรู้เท่านั้น
ดังนั้นข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนจึงคิดค้นนวัตกรรมรูปแบบการสอนใหม่ๆ ควบคู่กับการใช้สื่อที่หลากหลาย ที่เรียกว่าการพัฒนาทักษะการคิดในการใช้ทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุก มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณภาพสอดคล้องกับจุดเน้น สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กำหนดเอาไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา
จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1 เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางภาษาไทยด้านการรู้จักพยัญชนะไทย 44 ตัว โดยใช้การจัดกิจกรรมลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุกได้เหมาะสมกับวัย
2 เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางภาษาไทยด้านการจำตัวอักษรพยัญชนะไทยได้เหมาะสมกับวัย
3 เพื่อฝึกการสังเกตและการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานภาษาไทยให้เด็กสามารถนำไปประสมกับสระได้เหมาะสมกับวัย
4 เพื่อสร้างสื่อ/นวัตกรรม ชุกลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุกเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางภาษาไทย
5 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถใช้ชีวิตในประจำวันได้เหมาะสมกับวัย
การออกแบบนวัตกรรม
ในครั้งนี้เพื่อให้ " การพัฒนาทักษะการคิดในการใช้ทักษะภาษาไทยโดยใช้รูปแบบลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุก โดยใช้ตัวอักษรพยัญชนะไทย ก ถึง ฮ ทั้งหมด 44 ตัว รูปภาพ ก ถึง ฮ และสระอะ ถึง สระอู เกิดผลอันเป็นที่น่าพอใจสำหรับผู้ที่นำนวัตกรรมนี้ไปใช้สำหรับส่งเสริมและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดในการใช้ทักษะภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยนั้น และเพื่อเป็นการการเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรนั้น
ลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุก คือ โดยใช้พยัญชนะไทย 44 ตัว รูปภาพ ก ถึง ฮ และสระอะ ถึง สระอู ที่ข้าพเจ้าสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทยของผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาในบทเรียนอย่างรวดเร็ว โดยดัดแปลงมาเป็นสื่อลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุก เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทย โดยใช้ตัวอักษรพยัญชนะไทย 44 ตัว รูปภาพ ก ถึง ฮ และสระอะ ถึง สระอู เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทย ด้านการจำพยัญชนะไทย 44 ตัว และการประสมคำกับสระอะ ถึงสระอู
ผลจากการดำเนินงาน โดยใช้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศและทำอย่างต่อเนื่องทำให้การจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการคิดในการใช้ทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทยโดยใช้รูปแบบนวัตกรรมการสอนใหม่ๆ ควบคู่กับการใช้สื่อที่หลากหลาย ที่เรียกว่าการพัฒนาทักษะการคิดในการใช้ทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทยโดยใช้รูปแบบลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุกมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครอง
1 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม นักเรียนได้รับความรู้จากครูและเทคนิควิธีการ นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนผ่านการลงมือปฏิบัติ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีความพึงพอใจต่อการสอนเสริม ทำให้ผลการทดสอบการจำตัวอักษรพยัญชนะไทย 44 ตัว ทักษะพื้นฐานระดับชั้นอนุบาลเก่งขึ้น
2 จัดมุมการเรียนรู้ในห้องเรียน เด็กๆ ทุกคนเลือกเข้ามุมตามความสนใจของตนเองในแต่ละวัน คุณครูสังเกตพฤติกรรม ในขณะเข้ามุมการเรียนรู้ มีการสื่อสาร การแสดงบทบาทสมมติ การจินตนาการ ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน ระหว่างเด็กกับครู ทั้งในห้องเรียนและห้องศูนย์การเรียนรู้คุณครูบันทึกพัฒนาการ ลงในแบบบันทึกการเข้ามุมประสบการณ์ทุกวัน ผู้รับผิดชอบงานติดตามตรวจทุกเดือน
3 มีการหมุนเวียนในการใช้สื่อนวัตกรรม รูปแบบลูกเต๋าพยัญชนะมหาสนุก ในสายชั้นอนุบาลปีที่ 1 และสายชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยสลับผลัดเปลี่ยนกันไป (อนุบาล 1-3) เด็กทุกคนมีสวนร่วมตอบรับ มีการบันทึกในการเรียนรู้ตลอดปีการศึกษาผู้รับผิดชอบงานจะเป็นผู้ติดตามงานทุกวัน