สุรีรัตน์ วารีนิล. (๒๕๖๖). กุญแจแห่งความสำเร็จ : กับคุณภาพการศึกษาปฐมวัย (The key to
success: with the quality of early childhood education). การบริหารและจัดการศึกษา.
ราชบุรี : โรงเรียนวัดดอนทราย(สุวรรณรัฐราษฎร์อุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ราชบุรี เขต 2.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทสรุป
มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ เพื่อให้สถานศึกษามีรูปแบบการนิเทศภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาปฐมวัยและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย ระยะเวลาสร้างและพัฒนานวัตกรรม ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 จนถึงปัจจุบัน
การออกแบบนวัตกรรม กุญแจแห่งความสำเร็จ : กับคุณภาพการศึกษาปฐมวัย (The key to success: with the quality of early childhood education) เป็นรูปแบบการนิเทศภายในที่มีการสังเคราะห์จากรูปแบบการนิเทศภายในของนักวิชาการอย่างหลากหลาย ทดลองใช้กับโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกันมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 และพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นนวัตกรรม NITED Model ปีการศึกษา 2564 มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การศึกษาความต้องการและการสร้างเครือข่าย(Needs and Network) 2.การ บูรณาการและการสร้างนวัตกรรม(Integrations and Innovation) 3.การนำเทคโนโลยีสู่การเรียนรู้(Technology)4.การเสริมพลังและกำลังใจ(Empowerment) และ 5.การพัฒนาและปรับปรุง (Development) ผู้รายงานมีการถอดบทเรียนและนำผลมาพัฒนาปรับปรุงนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นแนวทางกับโรงเรียนอื่นไปประยุกต์ใช้ต่อไป
ผลการดำเนินงาน พบว่า สถานศึกษามีรูปแบบการนิเทศภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา คือ NITED MODEL เป็นนวัตกรรมการขับเคลื่อนพลังการเรียนรู้สู่เป้าหมายของการเรียนรู้อย่างมีความหมายและมีคุณภาพ คณะครูและผู้ปกครองหลังจากนำนวัตกรรมไปใช้แล้วมีการพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น ผลการประเมินคุณภาพของนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
จุดเด่นของผลงาน คือ เป็นรูปแบบของความร่วมมือ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมเรียนรู้อย่างมืออาชีพ นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ คือ 1) ความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมสร้างเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานด้วยกัน 2) การมีกลยุทธ์ชัดเจนในการขับเคลื่อนจึงนำไปสู่การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ 3) การเสริมพลังและกำลังใจให้กับคณะครูและบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้คณะครูและบุคลากรทำงานเต็มศักยภาพ 4) การสะท้อนผลเชิงบวกหลังการทำงาน(After action review) เป็นมุมมองของการทำงานที่ยอมรับผลที่เกิดขึ้นและแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานกันและกันนำไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพต่อไป 5) การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความต้องจำเป็น
ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า 1) ต้องระดมสมองและปรับเปลี่ยน วิธีคิด(mind-set) ของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเกี่ยวกับการจัดการศึกษา 2) ร่วมสร้างเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาไปด้วยกัน 3) ทุกคนต้องทำตามบทบาทของตนเองและต้องยอมรับว่าทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง 4) ทุกฝ่ายหมั่นตรวจสอบการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ