ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานผลการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

การนิเทศวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน ประจำปี 2566

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

………………………………………………………………

ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้น

1.1 ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ - นามสกุล (นาย นาง นางสาว) ยินดี บุญทอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ (งาน/กลุ่มงาน) กลุ่มงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลกรจัดการศึกษา

วันเดือนปีที่ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ รวมระยะเวลา 3 ปี 5 เดือน 13 วัน

(นับถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566)

1.2 วุฒิทางการศึกษา (ระบุตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป)

ระดับการศึกษา คุณวฺฒิ สาขาวิชาเอก ปีที่สำเร็จการศึกษา

ปริญญาตรี ค.บ. การศึกษาปฐมวัย 2540

ภาคผนวก ก หน้า

ปริญญาโท กศ.ม. หลักสูตรและการสอน 2550

ตอนที่ 2 เอกสารผลงานที่เสนอขอรับการคัดเลือก จำนวน 5 ชุด (ต้นฉบับ 1 เล่ม สำเนา 4 เล่ม)

ชื่อผลงาน รายงานผลการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ระยะเวลาที่ดำเนินการ วันที่ 6 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ถึง วันที่ 8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 (ระบุ วัน เดือน ปี )

ชื่อเจ้าของผลงาน นางยินดี บุญทอง

ด้านที่ 1 การวิเคราะห์บริบทเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวมบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าในตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560 : 2) นักการศึกษาทุกสาขาทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและให้ความสนใจด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้วยความเชื่อว่าการเรียนรู้ในช่วงวัยนี้มีผลกระทบในระยะยาวต่อคุณภาพชีวิตของคน เพราะเป็นช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด การจัดประสบการณ์การทำขนมอบถือได้ว่ามีความสำคัญมากต่อสมองของเด็กปฐมวัยในช่วงยุคทองของชีวิตเพราะเด็กปฐมวัยนั้นเน้นการศึกษาด้วยสื่อที่เป็นของจริง ได้หยิบ จับ สัมผัส ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ผลที่ได้รับคือเด็กปฐมวัยมีการทำงานของสมองที่เป็นระบบมากขึ้นจากการประกอบอาหาร มุ่งเน้นการคิดที่เป็นกระบวนการ เด็กได้ใช้การตัดสินใจ การวางแผน เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลต่อสติปัญญา สมรรถนะ และความสามารถของเด็กอย่างถาวร เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตสมวัยและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552 : บทนำ)

ปฐมวัยหรือช่วงอายุปีแรก ๆ ของชีวิต เป็นช่วงเวลาของการพัฒนาที่สำคัญในชีวิตเด็ก โดยเป็นช่วงที่เด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งด้านสมอง ด้านการใช้ภาษา ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และการเคลื่อนไหว เป็นช่วงวัยของการสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตและการเรียนรู้ต่อไปในการใช้ชีวิต เด็กปฐมวัยจึงถือว่าเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญที่สุดและจะต้องได้รับการพัฒนาให้ครบทุกด้าน ดังนั้นการพัฒนาและการลงทุนในเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของทุกครอบครัวและประเทศชาติเพราะเป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิตเด็ก (เยาวพา เดชะคุปต์, 2542) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545) และฉบับที่ 3 (พ.ศ.2553) มาตรา 18 (1) กำหนดว่าการจัดการศึกษาปฐมวัยดำเนินการจัดในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษหรือสถานบันพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545) ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาปฐมวัยต้องยึดหลักการสร้างหลักประกันให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการดูแล คุ้มครอง พัฒนา และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องและทั่วถึง เกิดความเท่าเทียมตามหลักวิชาการ โดยให้มีระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่บูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับชาติ ภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน จนถึงครอบครัวให้เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ยึดหลักการและมาตรฐานกลางเดียวกันในการพัฒนาเด็กปฐมวัยแต่ละช่วง เพื่อให้เกิดคุณลักษณะแก่เด็กปฐมวัยตรงกัน ทั้งในสถานบริการอนามัยแม่และเด็ก และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกแห่ง เน้นการส่งเสริมพัฒนาการและการให้การศึกษาเด็กเป็นสำคัญ ตลอดจนส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทุกด้านอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้เต็มศักยภาพ คำนึงถึงวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุข (คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา, 2561)

รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาและได้ย้ำถึงเรื่องความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา

นั้น จะต้องเริ่มจากการศึกษาในระดับปฐมวัย โดยมอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้หลักสูตรเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 แทนหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อให้การจัดการศึกษาปฐมวัยที่ต้องพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี ให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญาที่เหมาะสมกับความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 และเพื่อให้สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำหลักสูตรฉบับนี้ไปใช้โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัยเด็กและสภาพท้องถิ่น โดยมีจุดเน้นสำคัญคือ การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ (Active learning) ด้วยการลงมือกระทำ มีการบูรณาการผ่านการเล่น มีเป้าหมายคือ เป็นคนดี มีวินัย มีปัญญา มีความสุข โดยหลักสูตรฉบับนี้มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 วรรคสอง กำหนดว่า "..รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย มีการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย" (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2562) ซึ่งสอดรับกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เป้าหมายข้อ 3.3 สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับมาตรฐาน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ และสมรรถนะของเด็กที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานคุณภาพเด็กปฐมวัยของอาเซียน (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2562) อีกทั้งหลักสูตรฉบับนี้ได้น้อมนำแนวพระราชดำริและพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงมีพระราชดำรัสใจความสำคัญว่า

" ...มุ่งปลูกฝังความดีให้นักเรียน อบรมบ่มนิสัยให้เป็นพลเมือง เป็นเด็กที่มี

น้ำใจ รู้จักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีความสามัคคี รู้จักดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน..."

และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริ สมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสใจความสำคัญว่า "...การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคง เข้มแข็ง อาทิ

การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงามมาขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรม..."

นอกจากนี้ยังมีระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)

ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน กล่าวถึง การวางรากฐานการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่กลุ่มเด็กปฐมวัยที่ต้องพัฒนาให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีทักษะ ความรู้ ทักษะการเรียนรู้ และทักษะชีวิต เพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพควบคู่กับการพัฒนาคนไทยในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี บนพื้นฐานของการมีสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นต้นทุนทางสังคมสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2559)

การนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สู่การปฏิบัติ สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี มี

หลักการสำคัญคือ เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามลำดับขั้นของพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวม มีคุณภาพและเต็มศักยภาพ ดังนั้น สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจึงต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ภายใด้บริบทและสภาพความต้องการของชุมชน โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมีความเหมาะสม นำไปสู่การปฏิบัติในการจัดประสบการณ์อย่างมีคุณภาพ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2561)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษา

เป็นอย่างมาก ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 โดยเริ่มต้นการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา ทั้งโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาส แบ่งเขตพื้นที่บริการครอบคลุม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน อำเภอ บางแก้ว อำเภอตะโหมด อำเภอป่าบอน และอำเภอปากพะยูน ซึ่งมีโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยทั้งหมด 112 โรง และจากการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ดำเนินการนิเทศ ติดตามและตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา และจากการรายงานผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษามีปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวนหลายเรื่อง หนึ่งในนั้น คือ เรื่องการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย พบว่า ครูผู้สอนระดับปฐมวัย ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา และครูผู้สอน ระดับปฐมวัย จำนวน 183 คน จบไม่ตรงวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย คิดเป็นร้อยละ 50.82

เพื่อให้โรงเรียนจัดการศึกษาปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาการศึกษาปฐมวัยให้เป็น

ที่ยอมรับของชุมชนและสังคม เด็กทุกคนมีพัฒนาการตามวัย เต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 การพัฒนาบุคลากรปฐมวัยเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนให้มีความรู้ ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยองค์รวม ผู้ศึกษาเชื่อว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างความเข้าใจให้โรงเรียนมีความเข้มแข็งทางวิชาการนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง จึงจัดทำคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดบริหารการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดอย่างแท้จริง โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตร 4 ช. ยึดหลักกระบวนการนิเทศ 5 ขั้นตอน 1) การวางแผน 2) การวิเคราะห์ข้อมูล 3) การปฏิบัติการนิเทศ 4) การประเมินผลการนิเทศ และ 5) การรายงานผล ดังภาพ

วัตถุประสงค์/เป้าหมายของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของครูปฐมวัยในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

3. เพื่อประเมินความสามารถของครูปฐมวัยในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

4. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของครู ที่มีต่อการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม

ศึกษาพัทลุง เขต 2

ด้านที่ 2 หลักการ กรอบแนวคิดในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

กรอบแนวคิดการรายงานผลการนิเทศการใช้คู่มือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

ขั้นตอน/กิจกรรมการนิเทศ เครื่องมือการนิเทศ

ด้านที่ 3 กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

3.1 การสร้างนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีดังนี้

1. แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

2. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

3. แบบประเมินความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

4. แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

2) การพัฒนานวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

1) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีรายละเอียดการสร้างและพัฒนา ดังนี้

1.1 ลักษณะของแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีจำนวน 20 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบข้อสอบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยครูผู้สอนประเมินตนเองด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

1.2 ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดรูปแบบของแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

ขั้นที่ 2 กำหนดข้อคำถามเกี่ยวกับแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 แล้วสร้างแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 จำนวน 30 ข้อ

ขั้นที่ 3 นำแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน (รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ หน้า 44 ) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.50 ซึ่งผลการวิเคราะห์ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญทุกข้อคำถาม มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 โดยผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขภาษาที่ใช้ให้สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย ปรับปรุงข้อคำถามบางข้อให้ชัดเจน สื่อความหมายได้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

ขั้นที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ

ขั้นที่ 5 การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 โดยนำข้อสอบไปทดลองใช้กับครูปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 อำเภอบางแก้ว และอำเภอตะโหมด จำนวน 30 คน เมื่อได้ผลการทดสอบแล้ว นำผลการสอบมาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (p) และหาค่าอำนาจจำแนก (r) โดยนำผลการสอบมาตรวจให้คะแนน เรียงลำดับกระดาษคำตอบจากคะแนนมากไปยังคะแนนน้อย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ พบว่าแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ (ก่อนและหลัง) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.63 - 0.80 และ มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.40 - 0.53 จำนวน 20 ข้อ และ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR-20 (Kuder – Richardson 20) พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91

ขั้นที่ 6 จัดพิมพ์แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ฉบับสมบูรณ์ ไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 คน

2) คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

2.1 ลักษณะของคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีองค์ประกอบ ดังนี้ 2.1.1 ชื่อเรื่อง 2.1.2 คำนำ 2.1.3 คำชี้แจงในการใช้คู่มือ 2.1.4 สารบัญ

2.1.5 หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ประกอบด้วย

1) แนวคิดของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 2) สาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และ 3) แบบทดสอบหน่วยที่ 1

2.1.6 หน่วยที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 2) การจัดทำองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 3) การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี และ 4) แบบทดสอบหน่วยที่ 2

2.1.7 หน่วยที่ 3 การนำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) การจัดประสบการณ์ 2) การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ 3) การจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้

4) การประเมินพัฒนาการ และ 5) แบบทดสอบหน่วยที่ 3

2.1.8 หน่วยที่ 4 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 1) แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา 2) การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) แบบทดสอบหน่วยที่ 4

2.1.9 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

2.1.10 บรรณานุกรม

2.2 ขั้นตอนการสร้างคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีดังนี้

ขั้นที่ 1 ศึกษาหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรปฐมวัย คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 โดยผู้รายงานได้ศึกษานโยบายและมาตรฐานตัวชี้วัด หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 หลักการและแนวคิดที่เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำความรู้ ในเรื่องดังกล่าวไปใช้ในการสร้างคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

ขั้นที่ 2 การดำเนินการสร้างคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 โดยการกำหนดโครงสร้างเนื้อหา 4 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 หน่วยที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย หน่วยที่ 3 การนำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สู่การปฏิบัติ และหน่วยที่ 4 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย

ขั้นที่ 3 นำคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน (รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ หน้า 44 ) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.50 ซึ่งผลการวิเคราะห์ค่าตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญทุกข้อคำถาม มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 และตรวจสอบความเหมาะสม โดยพิจารณาคำถามที่มีค่าความเหมาะสม มากกว่า 3.50 ซึ่งผลการวิเคราะห์ค่าความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญทุกข้อคำถาม มีค่าตั้งแต่ 0.67-1.00 โดยผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้จัดองค์ประกอบของแต่ละกิจกรรมในแนวทางให้มีรูปแบบเหมือนกันทุกหน่วย รูปภาพ ควรมีขนาดใหญ่ขึ้นและชัดเจน

ขั้นที่ 4 ปรับปรุงคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

3). แบบประเมินความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีรายละเอียดการสร้างและพัฒนา ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 ข้อ แบบสอบถามตอนนี้ มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (check list)

ตอนที่ 2 ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 จำนวน 3 ด้าน กำหนดรูปแบบของแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สอนเป็นแบบมาตรประมาณ ค่าของ ลิเคิร์ท (Likert scale) 5 ระดับ ดังนี้

5 หมายถึง มีความสามารถอยู่ในระดับมากที่สุด

4 หมายถึง มีความสามารถอยู่ในระดับมาก

3 หมายถึง มีความสามารถอยู่ในระดับปานกลาง

2 หมายถึง มีความสามารถอยู่ในระดับน้อย

1 หมายถึง มีความสามารถอยู่ในระดับน้อยที่สุด

3.1 ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามความสามารถของครูผู้สอนที่ได้รับการนิเทศตามคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดรูปแบบของแบบประเมินความสามารถของครูผู้สอนที่เข้ารับการนิเทศ

ขั้นที่ 2 กำหนดประเด็นที่สอบถามเกี่ยวกับการนิเทศคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 แล้วสร้างแบบสอบถามฉบับร่าง

ขั้นที่ 3 นำแบบประเมินความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน (รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ หน้า 44 ) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.50 ซึ่งผลการวิเคราะห์ค่าตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญทุกข้อคำถาม มีค่าตั้งแต่ 0.67-1.00 โดยผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่ายปรับปรุงข้อคำถามบางข้อให้ชัดเจน

ขั้นที่ 4 นำแบบประเมินความสามารถเกี่ยวกับการนิเทศคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่แก้ไขตามคำแนะนำแล้วไปหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficiency) ของครอนบัค (Cronbach) (กัลยา วานิชย์บัญชา. 2559 : 449) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficiency) เท่ากับ 0.74 แสดงว่า เครื่องมือที่ใช้วัดแบบสอบถามมีความเชื่อถือได้มาก

ขั้นที่ 5 ดำเนินการจัดพิมพ์แบบประเมินความสามารถฉบับสมบูรณ์ โดยเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

4). แบบสอบถามความพึงพอใจของครูเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ลักษณะของแบบสอบถามความพึงพอใจของครูเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีจำนวน 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 5 ข้อ แบบสอบถามตอนนี้ มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (check list)

ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศ จำนวน 15 ข้อ กำหนดรูปแบบของแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สอนเป็นแบบมาตรประมาณ ค่าของ ลิเคิร์ท (Likert scale) 5 ระดับ ดังนี้

5 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

4 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

3 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง

2 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย

1 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด

3.4.1 ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่ได้รับการนิเทศตามคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดรูปแบบของแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่เข้ารับการนิเทศ

ขั้นที่ 2 กำหนดประเด็นที่สอบถามเกี่ยวกับการนิเทศคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 แล้วสร้างแบบสอบถามฉบับร่าง

ขั้นที่ 3 นำแบบสอบถามความพึงพอใจของครูเกี่ยวกับการนิเทศคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน (รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ หน้า 44 ) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.50 ซึ่งผลการวิเคราะห์ค่าตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญทุกข้อคำถาม มีค่าตั้งแต่ 0.67-1.00 โดยผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่ายปรับปรุงข้อคำถามบางข้อให้ชัดเจน

ขั้นที่ ๔ นำแบบสอบถามความพึงพอใจของครูเกี่ยวกับการนิเทศคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่แก้ไขตามคำแนะนำแล้วไปทดลองกับกลุ่มประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficiency) ของครอนบัค (Cronbach) (กัลยา วานิชย์บัญชา. 2559 : 449) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficiency) เท่ากับ 0.74 แสดงว่า เครื่องมือที่ใช้วัดแบบสอบถามมีความเชื่อถือได้มาก

ขั้นที่ 5 ดำเนินการจัดพิมพ์แบบสอบถามความพึงพอใจของครูเกี่ยวกับการนิเทศคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ฉบับสมบูรณ์ โดยเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

ด้านที่ 4 การนำไปใช้ในการนิทศและผลที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

ข้าพเจ้าได้ดำเนินการนิเทศตามแผนการนิเทศ ตามตารางที่ 1 ดังนี้

ตารางที่ 1 แผนการนิเทศ ติดตามแบบกัลยาณมิตร เพื่อนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

ปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

กิจกรรม วัน เดือน ปี สื่อ/เครื่องมือที่ใช้

1. การวางแผน

1.1 ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 6 มิถุนายน 2565 คำสั่ง

1.2 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน 7 มิถุนายน 2565 เอกสารประกอบการประชุม

1.3 กำหนดปฏิทินการนิเทศ 7 มิถุนายน 2565 ปฏิทินการนิเทศ ฯ

1.4 สำรวจข้อมูลครูกลุ่มตัวอย่าง 7 มิถุนายน 2565 แบบสำรวจ

1.5 ประชุมชี้แจงครูกลุ่มตัวอย่างผ่านระบบทางไกล (Video Conference) 7 มิถุนายน 2565 เอกสารประกอบการประชุม

1.6 ทดสอบความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรปฐมวัย ฯ 7 มิถุนายน 2565 แบบทดสอบ

2. การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลครูกลุ่มตัวอย่าง โดยการตรวจแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ฯ 10 มิถุนายน 2565 แบบวิเคราะห์ข้อมูล

แบบบันทึกคะแนน

3. การปฏิบัติการนิเทศ

3.1 ประชุมผ่านระบบทางไกล (Video Conference) โดยรับชมผ่านช่องทาง YouTube 13 - 17

มิถุนายน 2565 เอกสารประกอบการประชุม

3.2 ดำเนินการนิเทศติดตามการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ฯ ให้คำปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มย่อย 7 – 8 คน ตามหน่วย จำนวน 4 ครั้ง 27 มิถุนายน 2565 คู่มือการพัฒนาฯ หน่วยที่ 1

28 มิถุนายน 2565 คู่มือการพัฒนาฯ หน่วยที่ 2

30 มิถุนายน 2565 คู่มือการพัฒนาฯ หน่วยที่ 3

1 กรกฎาคม 2565 คู่มือการพัฒนาฯ หน่วยที่ 4

4. การประเมินผลการนิเทศ

4.1 ทดสอบความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร ฯ 4 กรกฎาคม 2565 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ

4.2 ประเมินความรู้ความสามารถ ฯ 5 กรกฎาคม 2565 แบบประเมินความรู้ความสามารถ

4.3 ประเมินความพึงพอใจ ฯ 6 กรกฎาคม 2565 แบบประเมินความพึงพอใจ

5. การรายงานผล

5.1 รายงานผลการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 7 กรกฎาคม 2565 รูปแบบของรายงานผลการนิเทศ

5.2 รายงานผลผู้เกี่ยวข้อง 8 กรกฎาคม 2565 รายงานผลการนิเทศ

5.3 เผยแพร่ผลงาน 8 กรกฎาคม 2565 การเผยแพร่ผลงาน

การใช้ทรัพยากร

1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากร

ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอน ระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 138 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2565

อำเภอป่าบอน ประกอบด้วย เครือข่ายบูรพาป่าบอน จำนวน 17 คน และเครือข่ายทุ่งธงทอง จำนวน 17 คน รวมทั้งหมด 34 คน ที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (บุญชม ศรีสะอาด, 2540: 23)

4.1 ผลที่เกิดตามกลุ่มเป้าหมาย สถานศึกษา/ผู้บริหารสถานศึกษา/ครู

ผลการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

1. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิผล เท่ากับ ร้อยละ 72.00

ตารางที่ 2 แสดงดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

จำนวนครู คะแนนเต็ม ผลรวมคะแนน ค่าดัชนีประสิทธิผล

(E.I)

ทดสอบก่อน ทดสอบหลัง

34 20 497 628 0.72

จากตารางที่ 2 พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผลของคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 คะแนนเต็ม 20 คะแนน มีผลรวมคะแนนของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 497 คะแนน ผลรวมคะแนนของการทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 628 คะแนน ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ได้เท่ากับ 0.72 หมายความว่า คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.72 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.00

2. ครูมีความรู้ ความเข้าใจ หลังการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 สูงกว่าก่อนการพัฒนา

ตารางที่ 3 แสดงผลการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับ

ครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

จำนวนบุคลากร

ที่เข้ารับการพัฒนา

(34 คน) คะแนนความรู้ความเข้าใจ ค่าพัฒนา

(+,-)

ก่อน หลัง

รวม 497 628 +131

ค่าเฉลี่ย 14.62 18.47 +3.85

ร้อยละ 73.09 92.35 + 19.26

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.28 0.93 -0.35

จากตารางที่ 3 พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับ ครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 หลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย 18.47 คิดเป็น ร้อยละ 92.35 สูงกว่าก่อนการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย 14.62 คิดเป็นร้อยละ 73.09

3. ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 อยู่ในระดับมากที่สุด

ตารางที่ 4 แสดงผลการประเมินความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

ข้อที่ รายการประเมิน ระดับความสามารถ

ค่าเฉลี่ย

S.D. แปลผล

ด้านหลักสูตร

1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 4.62 0.4 ระดับมากที่สุด

2 แนวคิดของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 4.71 0.3 ระดับมากที่สุด

3 สาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 4.59 0.2 ระดับมากที่สุด

4 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 4.53 0.3 ระดับมากที่สุด

5 ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 4.41 0.2 ระดับมาก

6 การจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 4.62 0.3 ระดับมากที่สุด

7 การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้รายปี 4.65 0.3 ระดับมากที่สุด

ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

8 การนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สู่การปฏิบัติ 4.74 0.3 ระดับมากที่สุด

9 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4.56 0.3 ระดับมากที่สุด

10 การเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4.65 0.2 ระดับมากที่สุด

11 การจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ 4.68 0.2 ระดับมากที่สุด

ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการผู้เรียน

12 การประเมินพัฒนาการ 4.79 0.2 ระดับมากที่สุด

13 การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 4.65 0.3 ระดับมากที่สุด

14 แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา 4.71 0.3 ระดับมากที่สุด

15 การสร้างรอยเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4.71 0.3 ระดับมากที่สุด

ระดับความสามารถ 4.64 0.27 ระดับมากที่สุด

จากตารางที่ 4 พบว่า ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ในภาพรวมระดับความสามารถ อยู่ในระดับมากที่สุด 4.64 เมื่อพิจารณาราย รายการประเมิน พบว่า ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการผู้เรียน ข้อการประเมินพัฒนาการครูปฐมวัยมีความสามารถในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.79

4. ความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 อยู่ในระดับมากที่สุด

ตารางที่ 5 แสดงผลความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

ปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

ข้อที่ รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ

ค่าเฉลี่ย

S.D. แปลผล

1 ผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่นิเทศ 4.94 0.24 ระดับมากที่สุด

2 ผู้นิเทศมีเทคนิคและวิธีการนิเทศที่เหมาะสม 4.96 0.20 ระดับมากที่สุด

3 ผู้นิเทศมีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี 4.61 0.49 ระดับมากที่สุด

4 ผู้นิเทศมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 4.55 0.50 ระดับมากที่สุด

5 ผู้นิเทศมีขั้นตอนของการนิเทศเหมาะสม 4.73 0.45 ระดับมากที่สุด

6 ผู้นิเทศมีการวางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบ 4.27 0.45 ระดับมาก

7 ผู้นิเทศเปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วม 4.96 0.20 ระดับมากที่สุด

8 ผู้นิเทศรับฟังความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศ 4.06 0.24 ระดับมาก

9 ผู้นิเทศชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของการจัดการเรียนรู้ 4.20 0.41 ระดับมาก

10 ผู้นิเทศให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อบกพร่อง 4.65 0.48 ระดับมาก

11 ผู้นิเทศมีการนิเทศอย่างต่อเนื่อง 4.14 0.35 ระดับมาก

12 ผู้นิเทศมีความเป็นกัลยาณมิตร 4.86 0.35 ระดับมากที่สุด

13 ระยะเวลาในการนิเทศ 4.98 0.14 ระดับมากที่สุด

14 ประโยชน์ที่ได้รับจากการนิเทศ 4.14 0.35 ระดับมาก

15 ผลการนิเทศสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน 4.86 0.35 ระดับมากที่สุด

ระดับความพึงพอใจ 4.59 0.35 ระดับมากที่สุด

จากตารางที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.59 เมื่อพิจารณาราย รายการประเมิน พบว่า ระยะเวลาในการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.98

4.2 ผลที่เกิดต่อการพัฒนาผู้เรียน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานำข้อมูลการประเมิน

พัฒนาการนักเรียนปฐมวัย ทั้ง 4 ด้าน มาวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย และ/หรือกลุ่มใหญ่

วิธีการดำเนินการ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ได้จัดทำโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย ปีงบประมาณ 2566 ดำเนินกิจกรรม 5 โครงการ/กิจกรรม เพื่อการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานำข้อมูลการประเมินพัฒนาการนักเรียนปฐมวัย ทั้ง 4 ด้าน มาวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย และ/หรือกลุ่มใหญ่ ดังนี้

1) กิจกรรมการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดสรรงบประมาณ เป็นเงิน 5,200 บาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยจำนวน 112 โรงเรียน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2565 ที่เป็นโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 โรงเรียน ตามขนาดโรงเรียน 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบและปฐมวัยต้นแบบเครือข่าย และโรงเรียนทั่วไป ประเมินตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ การประเมินตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 แต่งตั้งคณะกรรมการเป็นศึกษานิเทศก์ประเมินร่วมกับครูปฐมวัย โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 เป็นผู้ตรวจเยี่ยมการประเมิน

ภาพกิจกรรมประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และ

คณะกรรมการตรวจเยี่ยม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 112 โรงเรียน

2) การประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปีการศึกษา 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดสรรงบประมาณ เป็นเงิน 15,000 บาท

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ดำเนินการโดย

2.1 จัดอบรมขั้นพื้นฐานแก่ครูที่ยังไม่ผ่านการอบรมขั้นพื้นฐาน เรื่อง น้ำและอากาศ

2.2 นิเทศพบกลุ่ม โรงเรียนที่ถึงรอบรับตราพระราชทาน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 69 โรงเรียน

เมื่อวันที่ 2-3 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมสังข์หยด

3) โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 อนุมัติงบประมาณ เป็นเงิน 21,875 บาท กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติ ให้แก่ครูในสังกัด เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนในระดับปฐมวัย มีครูลงทะเบียนเข้ารับการอบรมฯ จำนวน 72 คน

4) ส่งเสริมการใช้มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในการค้นหา เฝ้าระวัง ติดตามและ

ช่วยเหลือเด็กปฐมวัย (3-5 ปี) ทุกคนให้ได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการ จากสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ดังนี้

4.1 ศึกษานิเทศก์และครูเข้าร่วมการประชุมการบันทึกข้อมูลสารสนเทศตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติของเด็กปฐมวัย

5) โครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก ระดับปฐมวัย ในโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับโรงเรียนคุณภาพ ให้เป็นต้นแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก ระดับปฐมวัย ดำเนินการโดยศึกษานิเทศก์และครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 5 คน โรงเรียนบ้านแม่ขรี(สวิงประชาสรรค์) เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการฯ และนิเทศ ติดตามโรงเรียนต้นแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก โดยศึกษานิเทศก์

ผลการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานำข้อมูลการประเมินพัฒนาการนักเรียนปฐมวัย ทั้ง 4 ด้าน มาวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย และ/หรือกลุ่มใหญ่

ผลการประเมินพัฒนาการพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2564 และ 2565

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนชั้นอนุบาล 3 (ปีการศึกษา 2564 และ 2565) ในระดับดีขึ้นไป (ระดับ 3 ขึ้นไป)

112 โรงเรียน จำนวนนักเรียน

ชั้นอนุบาล 3 จำนวนนักเรียนชั้นอนุบาล 3

ที่มีผลการประเมินพัฒนาการในแต่ละด้าน

ระดับดีขึ้นไป (ระดับ 3 ขึ้นไป) (คน) จำนวนนักเรียน

ผ่านการประเมิน

ระดับดีขึ้นไป ทั้ง 4 ด้าน

ปี งปม.64 ปี งปม.65 ปี งปม.64 ปี งปม.65 ปี งปม.64 ปี งปม.65 ปี งม.64 ปี งปม.65 ปี งปม.64 ปี งปม.65 ปี งปม.64 ปี งปม.65

ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา

รวม 2,138 1,786 2,032 1,785 2,063 1,784 2,052 1,778 1,946 1,676 1,925 1,673

ร้อยละ 95.04 99.94 96.49 99.89 95.97 99.55 91.01 93.84 90.03 93.67

จากตารางที่ 2 พบว่า ปีการศึกษา 2565 มีผลการพัฒนาดังนี้

ด้านร่างกาย จำนวน 1,785 คน คิดเป็นร้อยละ 99.94

ด้านอารมณ์จิตใจ จำนวน 1,784 คน คิดเป็นร้อยละ 99.89

ด้านสังคม จำนวน 1,778 คน คิดเป็นร้อยละ 99.55

ด้านสติปัญญา จำนวน 1,676 คน คิดเป็นร้อยละ 93.84

ปีงบประมาณ 2565 พบว่า จำนวนผู้เรียนระดับปฐมวัยมีผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับ 3 ทั้ง 4 ด้าน จำนวน 1,673 คน คิดเป็นร้อยละ 93.67

เป้าหมาย

เชิงคุณภาพ

1. เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

2. ครูปฐมวัยได้รับการนิเทศติดตามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัย

เชิงปริมาณ

1. เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ระดับดี ร้อยละ 100

2. ครูปฐมวัยได้รับการนิเทศติดตามเกี่ยวกับการจัดกิจประสบการณ์ ร้อยละ 100

4.3 ผลที่เกิดต่อการพัฒนาวิชาชีพ

ส่งผลให้

1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ผลการนิเทศการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ส่งผลให้ ผลการติดตาม ประเมินผล การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามตัวชี้วัดนโยบายเร่งด่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Quick Policy : QP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (รอบ 6 เดือน) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตัวขี้วัดที่ 6a ระดับความสำเร็จของการจัดการการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ ระดับคะแนน ประเมินตนเอง ระดับ 5 การประเมิน สพฐ. ระดับ 5

2) ปีการศึกษา 2565 ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัด ได้รับรางวัล ผู้ส่งผลงาน วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย ประจำปี 2565 ด้านการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัย และด้านการจัดประสบการณ์การจัดการศึกษาปฐมวัย

3) ปีการศึกษา 2566 ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัด ได้รับรางวัล ผู้ส่งผลงาน วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย ประจำปี 2565 ด้านการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัย และด้านการจัดประสบการณ์การจัดการศึกษาปฐมวัย

ด้านที่ 5 การเผยแพร่และการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

5.1 การเผยแพร่นวัตกรรมการนิเทศการศึกษา พิจารณาจาก วิธีการ ช่องทางการเผยแพร่

นวัตกรรมหรือผลงานด้านการ นิเทศการศึกษา

เทศบาลตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

เทศบาลตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

5.2 การขยายผลการต่อยอดนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา พิจารณาจาก การนำนวัตกรรม

การนิเทศการศึกษา ไปขยายผล ต่อยอด การพัฒนางานนิเทศการศึกษา

อบรมเชิงปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน การประชุมชี้แจง

อบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางฯ

การนิเทศครูวิชาการแบบพบกลุ่ม 11 เครือข่าย

5.3 หลักฐานร่องรอยการเผยแพร่ พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา

นวัตกรรมหรือผลงานด้านการ นิเทศการศึกษา

การเผยแพร่

เทศบาลตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

เทศบาลตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมการนิเทศการศึกษานวัตกรรมหรือผลงานด้านการ นิเทศการศึกษา

อบรมเชิงปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน การประชุมชี้แจง

อบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางฯ

การนิเทศครูวิชาการแบบพบกลุ่ม 11 เครือข่าย

ขอรับรองและรับผิดชอบข้อความที่แจ้งไว้ข้างต้น ว่าเป็นความจริงทุกประการ

(ลงชื่อ)........................................................................................ผู้เสนอขอรับการคัดเลือก

( นางยินดี บุญทอง )

วันที่............เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566

ผู้ตรวจสอบข้อมูล*

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

(ลงชื่อ)………………………………………………………..

ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

วันที่............เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566

ผู้รับรองข้อมูล

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

(ลงชื่อ)………………………………………………..

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย

วันที่............เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566

หมายเหตุ * กรณีผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา เป็นผู้สมัคร

ให้ผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูล

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1)

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2559). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ :

ซีเค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ.

ขวัญชนก หงส์วิเศษ. (2556). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยขององค์การบริหาร

ส่วนตำบลสมสะอาด อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

นงนุช พิจารณ์. (2554). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยขององค์การ

บริหารส่วนตำบลในจังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นพดล ยิ่งรักชัย. (2561). การจัดทำคู่มือการนิเทศการสอนที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียน

ขุนตาลวิทยาคม จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิสณุ ฟองศรี. (2551).วิจัยในชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : บริษัท

พรอพเพอร์ตี้พรินท์ จำกัด.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอพีกราฟฟิกส์ดีไซน์.

รัตนา นครเทพ. (2552). การนำเสนอรูปแบบการนิเทศภายในโดยการประยุกต์ใช้แบบกัลยาณมิตร

ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศศิธร จันทมฤก. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และ

วัฏจักรการสืบสอบหาความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

ศุภอักษร แก้วพรหม. (2559). การจัดทำคู่มือการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนโรงเรียนแม่โถวิทยาคม จังหวัด

เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา (การบริหารการศึกษา)

บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สกาวรัตน์ ไกรมาก. (2555). การนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิด (Reflective Coaching Supervision)

เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

พะเยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2.

บรรณานุกรม (ต่อ)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566 – 2570. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ

ระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3). กรุงเทพมหานคร: สกศ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐. กรุงเทพฯ :

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของ

สถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพ

การศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สุมน อมรวิวัฒน์.(2545). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนนำร่อง : รูปแบบที่คัดสรร. กรุงเทพฯ :

ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส พี เค เปเปอร์ แอนด์ฟอร์ม

.(2547). กัลยาณมิตรนิเทศ สำหรับผู้บริหารกลยุทธ์ในการนิเทศเพื่อสร้างโรงเรียนให้

เข้มแข็ง. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สกศ.

อดุลย์ศักดิ์ ยืนนาน. (2555). คูมือพัฒนาครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวทางการปฏิรูปในทศวรรษ

ที่สอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อัจฉรา ทองเพ็ง. (2555). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในเขต

ตำบลหนองตาคง อำเภอโปงน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

โพสต์โดย ต้อย : [18 ก.ค. 2566 เวลา 12:10 น.]
อ่าน [2908] ไอพี : 1.179.230.33
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 98,094 ครั้ง
ดูให้รู้ - วิธีการสอนเพื่อพัฒนาสมองทั้งซีกขวาและซ้ายในญี่ปุ่น
ดูให้รู้ - วิธีการสอนเพื่อพัฒนาสมองทั้งซีกขวาและซ้ายในญี่ปุ่น

เปิดอ่าน 29,618 ครั้ง
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายในการจัดงาน
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายในการจัดงาน

เปิดอ่าน 17,346 ครั้ง
ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะ

เปิดอ่าน 67,089 ครั้ง
"ละครซิทคอม" คืออะไร
"ละครซิทคอม" คืออะไร

เปิดอ่าน 30,055 ครั้ง
ใส่หลอดในขวดซอสมะเขือเทศจะทำให้เทออกง่าย
ใส่หลอดในขวดซอสมะเขือเทศจะทำให้เทออกง่าย

เปิดอ่าน 112,893 ครั้ง
พยางค์ และ คำ
พยางค์ และ คำ

เปิดอ่าน 9,629 ครั้ง
รับชม คุณครูฮ้องเพลงคำเมือง "ภูมิแพ้โปเกม่อน" ให้กำลังใจครูที่ปวดหัวกับนักเรียนที่มัวเล่นเกมล่าโปเกม่อน
รับชม คุณครูฮ้องเพลงคำเมือง "ภูมิแพ้โปเกม่อน" ให้กำลังใจครูที่ปวดหัวกับนักเรียนที่มัวเล่นเกมล่าโปเกม่อน

เปิดอ่าน 22,811 ครั้ง
แบ่งปันความสุข แบ่งเบาความทุกข์
แบ่งปันความสุข แบ่งเบาความทุกข์

เปิดอ่าน 35,203 ครั้ง
Fast Math Trick จินตคณิต สูตรคิดเร็ว เลขยกกำลัง 2
Fast Math Trick จินตคณิต สูตรคิดเร็ว เลขยกกำลัง 2

เปิดอ่าน 11,023 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา คือ รากฐานของการปฏิรูปประเทศ โดย รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์
ปฏิรูปการศึกษา คือ รากฐานของการปฏิรูปประเทศ โดย รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์

เปิดอ่าน 9,990 ครั้ง
มท.ค้านกำนัน-ผญบ.นั่งเก้าอี้ อปท. โดยตำแหน่ง-ไม่เอาประเมินผลทุกปี
มท.ค้านกำนัน-ผญบ.นั่งเก้าอี้ อปท. โดยตำแหน่ง-ไม่เอาประเมินผลทุกปี

เปิดอ่าน 19,991 ครั้ง
เหรียญกล้าหาญ
เหรียญกล้าหาญ

เปิดอ่าน 11,189 ครั้ง
ชี้เป็นเด็กอัจฉริยะต้องมี 6Q
ชี้เป็นเด็กอัจฉริยะต้องมี 6Q

เปิดอ่าน 38,252 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 15 การเตะโทษ ณ จุดโทษ
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 15 การเตะโทษ ณ จุดโทษ

เปิดอ่าน 15,831 ครั้ง
เกร็ดน่ารู้"แพนด้ายักษ์"
เกร็ดน่ารู้"แพนด้ายักษ์"

เปิดอ่าน 11,222 ครั้ง
ดูกันหรือยัง "กังนัม สไตล์" Original
ดูกันหรือยัง "กังนัม สไตล์" Original
เปิดอ่าน 21,704 ครั้ง
PHP Multi Elearning II
PHP Multi Elearning II
เปิดอ่าน 26,304 ครั้ง
ฝึกอ่านภาษาอังกฤษง่ายๆตามแบบเรียนมานี มานะ ปิติ ชูใจ
ฝึกอ่านภาษาอังกฤษง่ายๆตามแบบเรียนมานี มานะ ปิติ ชูใจ
เปิดอ่าน 12,473 ครั้ง
4 อาหารสลายพุง
4 อาหารสลายพุง
เปิดอ่าน 14,511 ครั้ง
ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร
ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ