ชื่อผลงาน การพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
3. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ในปัจจุบันด้วยวิถีชีวิตที่รวดเร็ว อาจทำให้เด็กถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ส่งผลให้มีสมาธิจดจ่อน้อยลง เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องหรือทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ เพราะวอกแวกไปกับสิ่งเร้ารอบข้าง ไม่สามารถอดทนต่อสิ่งเร้าเหล่านั้นได้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ครู พ่อ แม่ ต้องเสริมสร้างทักษะนี้ให้กับเด็ก ในทางจิตวิทยาเด็กที่มีปัญหาทางด้านสมาธิมักจะเกิดจากการขาดการควบคุมตนเอง ซึ่งพบในเด็กที่มาจากครอบครัวที่ขาดการอบรมด้านระเบียบวินัยที่เหมาะสมหรือถูกปล่อย ตามใจมากเกินไปหรือมีความกดดันและมีความเครียดสูง ทำให้เด็กต้องแสดงพฤติกรรมความ ตึงเครียดของอารมณ์ออกมาเป็นการเคลื่อนไหว มักพบในเด็กที่มีอายุในช่วงก่อนวัยเรียน คือ 3-6 ขวบและช่วงวัยเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นประมาณ 6-9 ขวบ ความกดดันหรือความ ตึงเครียดอาจเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เด็กถูกบังคับให้จำกัดการเคลื่อนไหวหรือเป็นสถานการณ์ที่เด็กรู้สึกว่ามีความกดดัน เช่น เด็กถูกบังคับให้นั่งอยู่เฉยๆ ถูกห้ามไม่ให้ซน ถูกบังคับให้ทำงานในห้องเรียน เป็นต้น มีเด็กเป็นจำนวนมากที่อาจจะยังไม่พร้อมในการควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น เด็กในวัยอนุบาล เด็กชั้นประถมปีที่ 1-2 เป็นต้น เด็กเหล่านี้จะมีความกังวลเมื่ออยู่ในภาวะกดดันทำให้มีการแสดงพฤติกรรมลักษณะการเคลื่อนไหวไม่ยอมอยู่นิ่งหรือขาดสมาธิ ในกรณีเช่นนี้หากเด็กได้รับการผ่อนคลายความตึง เครียด ความกดดันลงอย่างถูกต้องเหมาะสม เด็กจะสามารถปฏิบัติตนได้เป็นปกติเหมือนเด็กทั่วไป (วิฐารณ บุญสิทธิ, 2555 ) สมาธิเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับเด็ก เพราะเมื่อเด็กมีสมาธิจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างแน่วแน่ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง เป็นกระบวนการเริ่มต้นที่จะทำให้เด็กเกิดการ เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น การฝึกเด็กให้สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะธรรมชาติของเด็กนั้นจะมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอยู่เสมอ แนวทางการ จัดกิจกรรมที่ช่วยฝึกสมาธิเด็กควรเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจกิจกรรม เป็นกระบวนการช่วยฝึกสมาธิให้กับเด็ก อีกทั้งสามารถส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ของมือและตาเด็กให้ดีขึ้น ทั้งนี้การฝึก สมาธิให้กับเด็กไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นฝึกฝนและพัฒนาเด็ก อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เด็กมีสมาธิที่ดี ช่วยส่งเสริมต่อการเรียน รู้อย่างมีประสิทธิภาพของเด็ก (ฐิติยา สุ่นศรี, 2561) โรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์) เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 2 และ3 เด็กช่วงอายุ 4-6ปี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์) ที่ส่วนใหญ่จะ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูโดยผู้ปกครองที่เป็น ปู่ ย่า ตาและยาย มากกว่าพ่อแม่เด็กเอง และในปัจจุบันส่วนใหญ่จะให้เด็กเล็กอยู่กับสื่อที่เป็นสื่อออนไลน์ สังคมก้ม หน้าที่มักพบกันโดยมากสำหรับเด็กที่อยู่ในการดูแลของผู้ปกครองที่อายุมากแล้ว โดยเมื่อเด็กได้อยู่กับสื่อเหล่านี้แล้วเด็กจะอยู่นิ่ง ไม่ดื้อ และผู้ปกครองก็จะได้มีเวลาในการทำงานของตัวเอง โดยที่ลืมนึกถึงผลกระทบอื่น ๆ ที่ตามมาว่าถ้าเด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่จะทำให้เขาไม่มีสมาธิที่จดจ่อกับการทำงานหรือการเรียนที่มั่นคงได้ และความสามารถในการกำกับดูแลตนเองก็ทำได้ยาก มีลักษณะพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มั่นคงในอารมณ์ ไม่สามารถที่จะปรับตัวเองเข้ากับผู้อื่นได้ เด็กอยู่กับสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้มาก ๆ จากการศึกษาโรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์) ที่เด็กส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูโดยผู้สูงอายุทำให้เด็กถูกเลี้ยงแบบตามใจเลี้ยงแบบให้เด็กอยู่กับโทรศัพท์มือถือ ไอแพด มากกว่าการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้เหมาะสมกับวัยที่เด็กควรได้รับ ซึ่งมีเด็กหลายคนที่อยู่ในโรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์) ที่เกิดปัญหาเหล่านี้ คุณครูในฐานะผู้วิจัยได้สังเกต พฤติกรรมเด็กเหล่านี้และพบว่าในการทำ กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน ๆ ในห้องเรียนเด็ก ๆ เหล่านี้ ไม่ค่อยมีสมาธิจะอยู่ไม่ค่อยนิ่งทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ได้ไม่นาน และมีอารมณ์ที่หงุดหงิดโมโหง่ายเวลาที่ไม่ได้ของสิ่งนั้นจากเพื่อนๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยในฐานะครูปฐมวัยจึงสนใจที่จะนำแนวคิดจิตศึกษา ที่มุ่งพัฒนาด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่สงบ ผ่อนคลาย มาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กมี สมาธิอันเป็นพื้นฐานสำคัญให้เด็กสามารถกำกับตนเองได้ จดจ่อ มีความสุข สงบ ในการเรียนรู้ อันจะเป็นแนวทางสำหรับผู้ปกครอง ครู นักวิชากรและผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้ นำไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยต่อไป
4. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
จุดประสงค์ของการดำเนินงาน
1. เพื่อพัฒนาสมาธิเด็กอนุบาล 2
2. เพื่อเปรียบเทียบการมีสมาธิของเด็กอนุบาล 2 ก่อนและหลังการใช้กระบวนการจิตศึกษาพัฒนาสมาธิ
เป้าหมายของการดำเนินงาน
เชิงปริมาณ
เด็กอนุบาล 2/1 จำนวน 24 คน ได้รับการพัฒนาสมาธิโดยผ่านกระบวนการจิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
เชิงคุณภาพ เด็กอนุบาล 2/1 มีสมาธิสูงขึ้นหลังจากได้รับการพัฒนาสมาธิโดยผ่านกระบวนการจิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
5. กระบวนการผลิตผลงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน (PDCA กระบวนการบริหารจัดการ ฯลฯ)
5.1 การออกแบบผลงาน / นวัตกรรม วิธีการ การพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
5.1.1 วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล สำรวจปัญหาที่พบ
5.1.2 ศึกษาหลักสูตรปฐมวัยพุทธศักราช 2561
5.1.3 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
5.1.3.1 กระบวนการจิตศึกษาพัฒนาสมาธิ
5.1.3.2 กิจกรรมเกมสร้างสรรค์ที่พัฒนาสมาธิ CGA (Creative Game Activities)
5.1.4 วางแผนการออกแบบกิจกรรม
5.1.5 จัดทำคู่มือการจัดกิจกรรม การพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
5.1.6 สร้างแบบประเมินพฤติกรรมด้านการมีสมาธิ
5.1.7 นำไปใช้กับเด็กนักเรียนอนุบาล 2/1 โรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2566 พร้อมทั้งมีการประเมินผลก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
5.2 การดำเนินงาน
ดำเนินงานกิจกรรมตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง ( Deming Cycle หรือ PDCA ) คือวงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย
5.2.1 ขั้นวางแผน ( Plan = P )
5.2.1.1 กำหนดเป้าหมาย การพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
5.2.1.2 วางแผนการจัดกิจกรรมดำเนินการโดยวิเคราะห์สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ศึกษาหลักสูตรปฐมวัย สาระที่ควรรู้ ประสบการณ์สำคัญ มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและตัวบ่งชี้ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ปฐมวัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วางแผนการสร้างคู่มือการจัดกิจกรรม โดยกำหนดจุดมุ่งหมายและรูปแบบของกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
5.2.1.3 กำหนดตารางกิจกรรมตามแผนและเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
5.2.2 ขั้นดำเนินการ (DO = D )
5.2.2.1 ลงมือดำเนินการตามตารางกิจกรรม การพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
- กระบวนการจิตศึกษาคือ กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้เรื่องความฉลาดทางด้านอารมณ์ (EQ) และความฉลาดด้านจิตวิญญาณ (SQ) มีรายละเอียดดังนี้
* ผ่านการนั่งจับกลุ่มเป็นวงกลม ครูและนักเรียนนั่งเสมอกัน เป็นกิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้างพลังสงบ ให้เกิดความสงบภายในและการผ่อนคลาย เช่น ขณะทำกิจกรรมก็เปิดเสียงดนตรีที่มีลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำ เพื่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองของเด็กให้มีความถี่ต่ำลง
* การทำโยคะเพื่อบริหารอวัยวะภายในและเพื่อบริหารลมหายใจ ให้ได้อยู่กับลมหายใจ หรือแม้กระทั่งการนวดตัวเองหรือนวดกันและกันเพื่อส่งความรู้สึกดีต่อกัน การทำบอดีแสกน (Body Scan) เพื่อการผ่อนคลายแบบลึกและบ่มเพาะสิ่งที่ดีงามในจิตใต้สำนึกนั้นจะใช้เวลาต่าง จากกิจกรรมจิตศึกษาอื่น
* กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดสติเพื่อให้เด็กได้มีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอๆ ซึ่ง เป็นเครื่องมือ สำคัญที่จะทำให้เด็กรู้เท่าทันอารมณ์และการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละขณะเพื่อจะได้รู้ว่าควรหยุดหรือดำเนินกิจกรรมนั้นต่อ เช่น การเดินตามรอยเท้า การเดินต่อเท้าตามเส้นตรง Brian Gym เป็นต้น
* กิจกรรมฝึกสมาธิหรือการจดจ่อ ให้เด็กมีความสามารถในการคงสมาธิได้ยาวขึ้นเพื่อ กำกับความเพียรทั้งการเรียนรู้และการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล เช่น กิจกรรมส่งน้ำ ส่งเทียน ส่งลูกปิงปอง ส่งหนังยาง การพับกระดาษ การฟังนิทาน หรือเล่าเรื่อง เป็นต้น
* กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดการเพาะจิตสำนึกที่ดีงาม นิทาน เรื่องเล่าเพื่อการใคร่ครวญ การใช้คำที่ให้พลังด้านบวก การเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น
* กิจกรรมที่มุ่งบ่มเพาะพลังความรักความเมตตา เช่น การไหว้กันและไหว้สิ่งต่าง ๆ การกอด การขอบคุณกันและขอบคุณสิ่งต่าง ๆ การยกย่องชื่นชมความดีงามของคนอื่น ๆ เป็นต้น
- กิจกรรม CGA (Creative Game Activities) คือ กิจกรรมเกมสร้างสรรค์ที่ฝึกสมาธิ จิตใจจดจ่อ ทักษะกระบวนการคิด ทักษะการสังเกต เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย อย่างมีสติ ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ ดำเนินการตามตารางกิจกรรมในภาคผนวก
ตารางกำหนดกิจกรรมจิตศึกษา และ กิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
ครั้งที่ กิจกรรมจิตศึกษา กิจกรรม CGA
1 กิจกรรม ส่งน้ำส่งใจ กิจกรรม ดูครูพาทำ
2 กิจกรรม ส่งบอลส่งรัก กิจกรรม พาลุกบอลเข้าบ้าน
3 กิจกรรม แก้วลอยได้ กิจกรรม Give Me Five
4 กิจกรรม ป้อนอาหารนก กิจกรรม ไปด้วยกัน
5 กิจกรรม เบนยิม (ท่าจีบL, ท่า 1-0, ท่าเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น) กิจกรรม เก็บแก้ว
6 กิจกรรม Body Scan (ท่าต้นไม้ ท่าผีเสื้อ ท่าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว) กิจกรรม เก็บกระดุม
7 กิจกรรม ส่งลูกปิงปอง กิจกรรม คีบแก้ว
8 กิจกรรมผ่อนคลายกับนิทาน เรื่องลูกแมว 10 ตัว กิจกรรม กระโดดให้ไว
9 กิจกรรม ทำดีทำได้ชื่นชมยินดี กิจกรรม เล็งดี ดี
10 กิจกรรม แสงแห่งเทียน กิจกรรม รวมพลัง
5.2.3 ขั้นตรวจสอบและประเมิน (ChecK = C )
มีการประเมินผลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมด้านการมีสมาธิ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมจิตศึกษาและกิจกรรม CGA (Creative Game Activities)
5.2.4 ขั้นปรับปรุง พัฒนา (Action = A)
ปรับรูปแบบกิจกรรมเกมให้หลากหลายมากขึ้น และเพิ่มเวลาในการทำกิจกรรม CGA จาก 1 รอบเป็นคนละ2รอบ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาอย่างเต็มประสิทธิภาพ
6. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลที่เกิดขึ้นกับครู
1. ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
2. ครูสามารถกำหนดปัญหาพัฒนานวัตกรรม และแผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมและพัฒนาสมาธิให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม มีการวางแผน ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นการพัฒนาสมธิได้มากขึ้น
3.ครูมีการประเมินเด็กทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โดยใช้แบบสังเกตแบบประเมินพฤติกรรมการมีสมาธิ
โดยให้ข้อมูลย้อนกลับแก่เด็กในการทำกิจกรรม ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้ฝึกกระบวนการคิด การพัฒนาสมาธิ จากการลงมือกระทำด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
4. ครูเกิดการพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและเกิดความเชื่อมั่นใน
ฝีมือการสอนของตนเอง
ผลที่เกิดขึ้นกับเด็ก
1. เด็กได้รับการพัฒนาสมาธิ มีจิตใจจดจ่อ ฝึกทักษะกระบวนการคิด ทักษะการสังเกต
2. เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย อย่างมีสติ ได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่
3. เด็กได้พัฒนาด้านสมอง และได้เรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน
4. เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
5. เด็กได้พัฒนาทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนระดับที่สูงขึ้นไป และทักษะที่ใช้ในการดำเนินชีวิตใน
อนาคต เช่น การมีจิตใจจดจ่อ การมีน้ำใจ การแก้ปัญหา การคิดอย่างเป็นระบบ การทำงานเป็นกลุ่ม และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาสมอง
6. เด็กปฐมวัยร้อยละ 80 มีพฤติกรรมด้านสมาธิที่ดีขึ้น
จากการประเมิน เด็กกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมด้านการไม่มีสมาธิลดลงหลังจากได้รับการพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities) ก่อนการจัดกิจกรรมเด็กทั้ง 6 คนมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาควรได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น และเมื่อได้ใช้กระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities) มาใช้กับเด็กครบ 10 ครั้ง เด็กมีพฤติกรรมด้านการมีสมาธิที่ดีขึ้น ดูได้จากคะแนนด้านการขาดสมาธิลดลงนั่นเอง
ผลที่เกิดต่อผู้ปกครอง
1. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ ดูตัวอย่างคลิปวิดิโอแล้วนำไปเล่นกับลูกที่บ้านได้
2. ผู้ปกครองเกิดความภาคภูมิใจในตัวบุตรหลาน
3. ผู้ปกครองเข้าใจกระบวนการจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนทางโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการ
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครอง และเด็กปฐมวัย
ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1. เกิดความเป็นชุมชนแห่งกัลยาณมิตรเอื้ออาทรและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ครูและผู้บริหารมีความ
พึงพอใจในการทำงานร่วมกันและมีบรรยากาศเชิงบวก
2. เกิดกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตลอดจนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาได้
สอดคล้องตามบริบทของโรงเรียน
3. โรงเรียนมีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน ซึ่งพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ
พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพ
7. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities) ที่สามารถตอบสนองความต้องการและความสนใจของเด็กทุกคนได้เต็มตามศักยภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมในการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยนำกระบวนการจิตศึกษาและกิจกรรม CGA (Creative Game Activities) เข้ามาใช้ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้เรียนครูและบุคลากรคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ปกครองผู้เรียนและชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จดังกล่าวนั้นเกิดจากสิ่งดังต่อไปนี้
1. โรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินงานที่เป็นระบบ นำกระบวนการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ใน
การกำหนดนโยบายการและเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน ร่วมกันสร้างองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนตัวของครูและบุคลากร ด้วยการพูดคุย เล่าเรื่อง ประชุม รวมทั้งการพัฒนาการเรียนการสอน การดำเนินงานต่าง ๆ ตลอดจนการจัดกิจกรรมสนับสนุนและพัฒนาผู้เรียน และมีการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ มีการทำงานเป็นทีม คณะครู มีความสามัคคีในหมู่คณะ มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้ความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความรู้ความสามารถ
3. ผู้บริหารสถานศึกษามีกระบวนการบริหารจัดการ มีการนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นระบบตลอดทั้งมีการนำผลจากการนิเทศกำกับติดตามมาปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นเป็นลำดับ
4. ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษาและชุมชนให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นอย่างดี รวมทั้งร่วมกันระดมทุนการศึกษาระดมทรัพยากร มาใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
5. กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลุ่มเครือข่ายที่ 5 และเครือข่ายอื่นๆในอำเภอคลองหลวง มีการเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ ส่งผลให้บุคลากรในเครือข่ายได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่หลากหลาย
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยได้รับการอบรมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย มีการนิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงาน
7. ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 มีการนิเทศและให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และ ช่วยเหลือครู ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้บันทึกข้อตกลงในการพัฒนากระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ กับโรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์) โดยส่งบุคลากร อาจารย์ นักศึกษา เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้คำแนะนำครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิดและทักษะทางสังคมให้กับผู้เรียน
8. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
1. ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากการสอน เป็นผู้อำนวยความสะดวก ใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การสอน และแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีเพื่อให้การเรียนรู้ สะดวกรวดเร็ว และผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ที่ที่ ทุกเวลา
2. ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ จัดการเรียนการสอนตามแผนที่กำหนดไว้ ติดตาม และประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลจากการการติดตามประเมินผล
3. ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบตามกำหนดเวลา จัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกแต่งระหว่างบุคคล
4. ครูต้องวางแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ติดตาม ตรวจสอบงานตนเอง และด้วยบุคคลอื่นสม่ำเสมอ รายงานความก้าวหน้าและผลสำเร็จต่อสาธารณะ และวางแผนป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้
9. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
1. การเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพจ facebook ช่อง youtobe และ Tiktok
เพจ facebook ปฐมวัยโรงเรียนบึงเขาย้อน ช่อง youtobe ห้องเรียนครูเอ๋ Tiktok ครูเอ๋ shop shop
3. เผยแพร่กับโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย หนังสือตอบรับการเผยแพร่ผลงาน
10. การขยายผลต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ผลงาน นวัตกรรมหรือวิธีการปฏิบัติ
1. จัดนิทรรศการแสดงกิจกรรมการสอนผ่านกระบวนการจิตศึกษาโดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities) และเผยแพร่เอกสารแผ่นพับ ประชาสัมพันธ์โรงเรียน ในการประชุมผู้ปกครอง
2. จัดทำ VTR นำเสนอผลงานดีเด่นเกี่ยวกับการพัฒนาสมาธิเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนการ จิตศึกษา โดยใช้กิจกรรม CGA (Creative Game Activities) ให้กับเพื่อนครูปฐมวัยรับฟัง ในโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ครูปฐมวัย