การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางภาษาของผู้เรียนให้สำเร็จตามมาตรฐานและตัวชี้วัดได้นั้น ผู้สอนต้องสามารถและจัดเนื้อหาให้เรียงลำดับตามความยากง่ายของเนื้อหาก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามที่ต้องการ และถ้าหากเราได้จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้กระบวนการต่างๆจนกลายเป็นความชำนาญเป็นทักษะที่แต่ละบุคคลจะมีติดตัวผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991;Merrill Harmin and Melanie Toth, 2006 ; Schmidt, 1993; วิ จ า ร ณ์ พ า นิช , 2556;วิ ริ ย ะ ฤา ชั ย พาณิชย์,2560) เป็นการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน รวมถึงกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักเรียนได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร
กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้ครูพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และได้นำแนวคิดการ จัดการเรียนรู้เชิงรุกมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยกำหนดเป็นนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่มุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน เพื่อเอื้อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสมากขึ้นในการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีปฏิสัมพันธ์และรู้จักการทำงานเป็นทีม ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ วางแผน แก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และที่สำคัญต้องพัฒนาผู้เรียนให้ค้นหาศักยภาพและความชอบของตนเองได้ (เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์, 2561) สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นโยบายและจุดเน้นที่2 การยกระดับคุณภาพการศึกษา ข้อ 2.2 จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ค้นพบพรสวรรค์ความสนใจ ความถนัดในอาชีพของตนด้วยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ทั้งในห้องเรียน สถานประกอบการ รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มและห้องดิจิทัลให้คำปรึกษาแนะนำ และสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วน (Quick Policy) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนActive Learning
การนิเทศแบบสอนแนะ เป็นกระบวนการแนะนำและการสอนงานแบบรายบุคคลเพื่อพัฒนาทั้งทางด้านความรู้ ทักษะและความสามารถในการทำงาน ปกติมักใช้กับผู้ที่มี ความสามารถในบางด้านที่ยังไม่สมบูรณ์และเป็นวิธีการในการกระตุ้นให้พัฒนาการทำงาน (Blanchard and Thacker, 2004) การนำแนวคิดกระบวนการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) และการเรียนรู้แบบ ผสมผสาน (Blended Learning) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการนิเทศ จึงช่วยพัฒนาคุณภาพการ จัดการเรียนการสอน อันจะส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการนิเทศ ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นการนิเทศที่เกิดจากความสมัครใจของครูผู้สอนในการที่จะพัฒนา การจัดการเรียนรู้ของตนตามเป้าหมายที่กำหนดผ่านการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่อยู่ในบริบท การเรียนรู้เดียวกัน และส่งเสริมการสร้างบรรยากาศของการพัฒนาวิชาชีพครูที่มีการเกื้อกูลกัน และกันอย่างเป็นมิตร โดยมีผู้สอนงาน (Coach) ซึ่งเป็นผู้รู้ที่เข้ามาส่งเสริมความรู้และฝึกฝน ทักษะที่สัมพันธ์กับเป้าหมายที่ผู้สอนต้องการพัฒนาก่อนการสอน ทำการสังเกตการสอนและ กระตุ้นให้ครูผู้สอนวิเคราะห์และสะท้อนผล การปฏิบัติการสอนของตนเองจนสามารถพัฒนาการ จัดการเรียนรู้ของตนได้ตรงตามเป้าหมายและมีพี่เลี้ยง (Mentor) เป็นผู้คอยสนับสนุน ส่งเสริมให้ กำลังใจตลอดกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สอนสามารถพัฒนาบทเรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การนิเทศในศตวรรษที่ 21 ยังต้องมีการนำ เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนให้การนิเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความ ต้องการของผู้รับการนิเทศ โดยเฉพาะระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ทางการศึกษาที่สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการ ติดต่อสื่อสาร การให้คำปรึกษา การเสนอแนะแหล่งการเรียนรู้และการนิเทศออนไลน์ ซึ่ง ช่วยทำให้ผู้นิเทศสามารถติดตามพัฒนาการของผู้สอนได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง กระบวนการนิเทศดังกล่าวข้างต้นจะช่วยพัฒนาทักษะการสะท้อนคิด การประสานความร่วมมือ
สภาพที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีความมุ่งหวังพัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการนิเทศแบบสอนแนะ ซึ่งส่งผลให้ผู้สอนตระหนักถึงบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกและจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง จนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
วัตถุประสงค์
1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นที่พัฒนาสมรรถนะ
ครูภาษาอังกฤษ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการนิเทศแบบสอนแนะ
2) ศึกษาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ ดำเนินการจัดทำแผนการนิเทศ และปฏิบัติการ
นิเทศ ตามแผนการนิเทศ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
3) ศึกษาผลการใช้กระบวนการนิเทศแบบสอนแนะ ที่พัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ ด้าน
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง
เชิงปริมาณ
1) ครูภาษาอังกฤษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ได้รับการ
นิเทศแบบสอนแนะ ที่พัฒนาสมรรถนะครูภาษาอังกฤษ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร้อยละ 80
2) ครูภาษาอังกฤษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ที่ได้รับการ
นิเทศแบบสอนแนะ มีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร้อยละ 80
3) นักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย สร้างสรรค์นวัตกรรม
จากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูที่ได้รับการนิเทศแบบสอนแนะ ร้อยละ 80
เชิงคุณภาพ
1) การออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาอังกฤษมีคุณภาพ ระดับดีขึ้นไป
2) ผู้เรียนสามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงาน จากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ระดับดีขึ้นไป