1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
ในภาวะปจจุบัน ภาษาอังกฤษไดเขามามาบทบาทและอิทธิพลในการดําเนินชีวิตทั้งทางตรงและทางออมอยางเลี่ยงไมได เนื่องจากภาษาอังกฤษนั้น ไดถูกยอมรับวาเปนภาษาสากล ถูกยอมรับใหเปนภาษาทางราชการในหลายๆประเทศ ดังนั้น ชีวิตประจําวันของประชากรโลกในปจจุบัน จึงไมสามารถหลีกเลี่ยงการใชภาษาอังกฤษไดผูคนที่มีความสามารถใชภาษาอังกฤษในการสื่อสารจะมีตัวเลือกในการดํารงชีวิตมากกวาผูที่ไมสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษอยางเห็นไดชัด
กระทรงศึกษาธิการมีนโยบายเรงปฏิรูปการเรียนรูทั้งระบบใหสัมพันธเชื่อมโยงกันเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของผูเรียน โดยเฉพาะอยางยิ่งการสรางเสริมสมรรถนะและทักษะการใชภาษาอังกฤษใหผูเรียนสามารถใชภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใชเปนเครื่องมือในการแสวงหาความรู เพื่อการพัฒนาตน อันจะนําไปสูการเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันของประเทศ
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT)
เป็นแนวคิดในการสอนภาษาที่มุ่งเน้นความสำคัญของตัวผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง มีการจัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน ซึ่งเชื่อมระหว่างความรู้ทางภาษา ทักษะทางภาษา และความสามารถในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ นำความรู้ด้านภาษาไปใช้ในการสื่อสาร ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงการให้ผู้เรียนได้สื่อสารในชีวิตจริง กิจกรรมและภาระงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารจริง สื่อที่ใช้ก็เป็นสื่อจริง แต่ก็ไม่ได้ ละเลยความรู้ด้านไวยากรณ์เมื่อเกิดความผิดพลาดทางด้านไวยากรณ์เพียงเล็กน้อย แต่ยัง
สามารถสื่อสารได้ครูผู้สอนไม่ควร ขัดจังหวะโดยการแก้ไขให้ถูกต้องทันทีควรแก้ไขเมื่อความผิดพลาดนั้นทำให้เกิดความไม่เข้าใจหรือสื่อสาร ไม่ประสบความสำเร็จเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Davies & Pearse, 2000;Richards, 2006)
ดังนี้ข้าพเจ้าครูผู้สอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ กลุมสาระการเรียนรูภาษาตางประเทศ โรงเรียนวัดบางแสม จึงเล็งเห็นถึงความสําคัญของการจัดการเรียนรูในรายวิชาภาษาอังกฤษ จึงไดดําเนินการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผูเรียน ดวยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ( Active learning ) ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT ( Communicative Language Teaching ) เพื่อพัฒนาความสามารถ และทักษะการใชภาษาอังกฤษของผูเรียนทั้ง ๔ ดาน คือ ทักษะการฟง การพูด การอาน และการเขียน และใหผูเรียนได้ ฝกฝนดานการใชภาษา ทาทาง การสื่อสารเพื่อตอบโต แลกเปลี่ยนขอมูลและความรู และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เปนทักษะที่จําเปนในศตวรรษที่ ๒๑
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 จุดประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching )
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิชาภาษาอังกฤษ
โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT ( Communicative Language Teaching )
2.2 เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
2.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน โรงเรียนวัดบางแสม ปีการศึกษา
2566 ร้อยละ 50 มีทักษะในการใชภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารประโยค
เชิงคุณภาพ
2.2.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน มีทักษะในการใชภาษาอังกฤษเพื่อ
การสื่อสารประโยค
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินการ
ดําเนินการตามกระบวนการ PDCA ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Plan)
- ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร/ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด / เนื้อหารายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- ศึกษาทฤษฎีของการสอนภาษาอังกฤษแบบ CLT (Communicative Language Teaching )
ขั้นที่ 2 ขั้นการดำเนินงาน D (Do)
ครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CLT (Communicative Language Teaching) ที่เป็นการเรียนรู้ภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสําคัญของผูเรียน มีการจัดลําดับการเรียนรูเปนขั้นตอนตามกระบวนการใชความคิดของผูเรียน
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมีขั้นตอนการสอนที่สําคัญ 5 ขั้นตอน (ภุชงค์ มัชฌิโม, 2559 : 56
57 ; อัมราภรณ หนูยอด และณัฐกร หิรัญโท, 2560 : 64) ดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up/Lead in) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดความพร้อมและอยาก
รู้อยากเรียนในบทใหม่ เนื้อหาจะเชื่อมโยงไปสู่สาระสำคัญของบทนั้นๆ เมื่อครูผู้สอนเห็นว่านักเรียนมีความ
พร้อม เกิดความสนุก และสนใจอยากเรียนแล้ว ก็เริ่มเรียนเนื้อหาต่อไป กิจกรรมที่กำหนดไว้ในขั้นนี้มี
หลากหลาย เช่น เล่นเกม ปริศนาคำทาย เพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้ว
2.ขั้นนำเสนอ (Presentation) ในขั้นนี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่นักเรียน มีการนำเสนอศัพท์ใหม่เนื้อหาใหม่ให้เข้าใจทั้งรูปแบบและความหมาย กิจกรรมที่ก าหนดไว้ประกอบด้วยการให้ฟังเนื้อหาใหม่ ให้นักเรียนฝึกพูดตาม ในขั้นนี้ครูเป็นผู้ให้ความรู้ทางภาษาที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องในการออกเสียงคือ Informant (ผู้ให้ความรู้) รูปแบบของภาษาจึงเน้นที่ความถูกต้อง (Accuracy) เป็นหลัก
3.ขั้นฝึก (Practice) ในขั้นนี้นักเรียนจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เรียนมาแล้วในขั้นนำเสนอ โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนใช้ภาษาได้ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็เน้นเรื่องการใช้ภาษาให้คล่องแคล่ว (fluency) การฝึกอาจจะฝึกทั้งชั้น เป็นกลุ่ม เป็นคู่ หรือรายบุคคล ขั้นนี้เป็นโอกาสที่ครูจะแก้ไขข้อผิดพลาดของนักเรียนในการใช้ภาษา ซึ่งการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นควรทำหลังการฝึกหากทำระหว่างที่นักเรียนกำลังลองผิดลองถูกอยู่ความมั่นใจที่จะใช้ภาษาให้คล่องแคล่วอาจลดลงได้ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในคู่มือครูและแผนการจัดการเรียนรู้ มีทั้งในลักษณะที่กล่าวมานี้ และในลักษณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกอย่างอิสระ Learning by Doing
4.ขั้นการใช้ภาษา (Production) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนนำคำหรือประโยคที่ฝึกมาแล้วมาใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในรูปแบบกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว (fluency) และเกิดความ
สนุกสนาน ในขั้นนี้เป็นขั้นที่เน้นนักเรียนเป็นผู้ ทำกิจกรรม ครูคอยให้ความช่วยเหลือ ถ้านักเรียนผิดพลาด
อย่าขัดจังหวะ ให้ปล่อยไปก่อน เพื่อให้นักเรียนรู้สึกสบายใจกิจกรรมที่กำหนดไว้มีหลากหลาย เช่น การเล่นเกม การทำชิ้นงาน การทำแบบฝึก การนำเสนอผลงาน
5.ขั้นสรุป (Wrap up) เป็นขั้นสุดท้ายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมงจุดประสงค์คือ เพื่อสรุปสิ่งที่ได้เรียนแล้ว กิจกรรมที่เสนอแนะไว้อาจจะเป็นการนำเสนอรายงานของกลุ่ม ทำแบบฝึกหัดเพื่อสรุปความรู้ หรือเล่นเกมเพื่อทดสอบสิ่งที่เรียนมาแล้ว
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบการดําเนินงาน (Check)
มีการดําเนินการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรูรูปแบบ CLT (Communicative Language Teaching) จากการทดสอบ การสังเกตพฤติกรรม และการประเมินคุณลักษณะทางภาษา เพื่อนําผลที่ไดรับไปใชในการปรับปรุงแกไขใหเกิดความสมบูรณ ครบถวน และดียิ่งขึ้น เพื่อใหไดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ จึงจะนําไปใชจริง
ขั้นที่ 4 สรุปผลกิจกรรมและการประเมินผลกิจกรรม (Action)
สรุปผลการจัดการเรียนรูแบบ CLT วิเคราะหขอมูลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรูเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตอไป
4. ผลการดําเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชนที่ไดรับ
4.1 ผลการดําเนินงาน
ตอนที่ 1 ผลการประเมินทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching )
1. ผลการประเมินทักษะการฟังและการพูด
ระดับผลการประเมิน จำนวนนักเรียน จำนวนนักเรียนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ
ดีมาก
21 6 28.57
ดี 7 33.33
พอใช้ 8 38.10
ปรับปรุง - 0.00
จากตาราง ผลการประเมินทักษะการฟังและการพูดของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีผลการเมินในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 28.57 , ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 33.33 และระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 38.10
2. ผลการประเมินทักษะการเขียน
ระดับผลการประเมิน จำนวนนักเรียน จำนวนนักเรียนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ
ดีมาก
21 10 47.62
ดี 8 38.10
พอใช้ 3 14.28
ปรับปรุง - 0.00
จากตาราง ผลการประเมินทักษะการเขียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีผลการเมินในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 47.62 , ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 38.10 และระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 14.28
3. ผลการเมินประเมินการทำงานกลุ่ม
ระดับผลการประเมิน จำนวนนักเรียน จำนวนนักเรียนที่ได้ คิดเป็นร้อยละ
ดีมาก
21 17 80.95
ดี 4 19.05
พอใช้ . -
ปรับปรุง - -
จากตาราง ผลการประเมินการทำงานกลุ่มของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีผลการเมินในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 80.95 , ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 19.05
ตอนที่ 2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิชาภาษาอังกฤษ
โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT ( Communicative Language Teaching )
รายการประเมิน x ̅ S.D. แปลผล
ด้านเนื้อหา
1. เนื้อหาน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของนักเรียน 4.86 0.36 มากที่สุด
2.เนื้อหามีความเหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน 4.75 0.44 มากที่สุด
3. เนื้อหามีความแปลกใหม่และทันสมัยให้ได้เรียนรู้ 4.79 0.42 มากที่สุด
4. เนื้อหา แบบฝึก สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.89 0.31 มากที่สุด
4.82 0.38 มากที่สุด
ด้านการออกแบบ
5. การจัดรูปแบบน่าสนใจ มีสาระและน่าอ่าน 4.75 0.44 มากที่สุด
6. มีภาพประกอบสวยงามน่าสนใจและเหมาะสมกับเนื้อหา 4.64 0.49 มากที่สุด
7.การออกแบบแต่ละแบบฝึกมีเนื้อหาพอดีกับระดับของนักเรียน 4.71 0.46 มากที่สุด
8. การจัดเรียงแต่ละแบบฝึกเรียงจากง่ายไปหายาก 4.57 0.50 มากที่สุด
4.67 0.47 มากที่สุด
ด้านกิจกรรม
9. คำสั่ง คำอธิบายของแบบฝึก ชัดเจน 4.61 0.50 มากที่สุด
10. แต่ละแบบฝึกมีตัวอย่าง ง่ายต่อการปฏิบัติกิจกรรม 4.71 0.46 มากที่สุด
11. มีการใช้คำถามช่วยให้นักเรียนเข้าใจกิจกรรมมายิ่งขึ้นและ ส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด 4.68 0.48 มากที่สุด
12. แต่ละกิจกรรมมุ่งเน้นเพื่อฝึกทักษะการคิดและการนำไปใช้ 4.57 0.50 มากที่สุด
4.64 0.49 มากที่สุด
ด้านประโยชน์
13. แบบฝึกช่วยเพิ่มพูนให้นักเรียนเกิดทักษะทางการแก้โจทย์ ปัญหาและพัฒนาทักษะกระบวนการคิด 4.75 0.44 มากที่สุด
14. นักเรียนสามารถนำทักษะกระบวนการและความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจำวันและการศึกษาต่อได้ 4.71 0.46 มากที่สุด
15. นักเรียนเกิดความมั่นใจในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ เข้าใจเพิ่มมากขึ้น 4.79 0.42 มากที่สุด
รวม 4.75 0.44 มากที่สุด
รวมเฉลี่ย 4.72 0.45 มากที่สุด
จากตาราง ๓ พบว่า ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิชาภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT ( Communicative Language Teaching ) พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.72, S.D.= 0.45) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านเนื้อหามี ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (X = 4.82, S.D.= 0.38) รองลงมาได้แก่ ด้าน ประโยชน์มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (X = 4.75, S.D.= 0.44) และด้านการออกแบบมี ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (X = 4.67, S.D.= 0.47) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ย น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (X = 4.64, S.D.= 0.49)
4.2 ผลสัมฤทธิ์
พัฒนาการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching ) ผลดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้
4.2.1 ผู้เรียน
การพัฒนาการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่
5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching ) ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจ ในการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (Learning by doing) มีความกระตือรือร้นในการเรียน มีความสุข สนุกไปกับการเรียน รู้จักการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น และการทำงานเป็นทีม กล้าคิด กล้าแสดงออก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ มีภาวะความเป็นผู้นำสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ในวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น เห็นความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
4.2.2 บุคลากรภายในโรงเรียน
บุคลากรภายในโรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ PLC ทั้งระดับช่วงชั้น
และระดับโรงเรียน แบ่งปันประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ให้ความช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน
ต่างๆ ให้การยอมรับซึ่งกันและกัน ให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ ก่อให้
บรรยากาศเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ซึ่งชี้ให้เห็นข้อดี ข้อควรปรับปรุงในการจัดการเรียนรู้ทำให้ได้
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
4.3.1. ได้วิธีการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีประสิทธิภาพ
4.3.2 เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษในการประยุกต์ใช้วิธีการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching ) เพื่อพัฒนาเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะการเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
4.3.3 เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนในเนื้อหาต่างๆ ของกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
5. ปัจจัยความสำเร็จ
บุคคล/ หน่วยงาน/ วิธีการที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์คือ
1. นโยบายของผู้บริหารโรงเรียน นายสุริยา ศรีโภคา ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางแสม
มีนโยบายให้ครูทุกคนในโรงเรียนจัดทำนวัตกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning และสื่อการเรียนการสอน มาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งคอยให้การสนับสนุนในทุกๆด้าน
2. การใช้วิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามทฤษฎีการเรียนรู้รูปแบบ CLT (Communicative Language Teaching ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางแสม ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองต่อการ
เรียนรู้ของนักเรียน ครูผู้สอนสามารถให้คำแนะนำกับผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น นักเรียนได้ลงมือ
ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างแท้จริง (Learning by Doing) ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ
ทำให้การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษไม่น่าเบื่ออีกต่อไป และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
3. กระบวนการ PLC เกิดประโยชน์ต่อครูผู้สอน ดังนี้ ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวในงานสอนของ
ครูลง เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่
จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน รู้สึกว่าต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อพัฒนาการโดยรวมของนักเรียน และร่วมกันรับผิดชอบเป็นกลุ่มต่อผลสำเร็จของนักเรียน สิ่งที่เรียกว่า พลังการเรียนรู้ (Powerful learning) ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนของตนมีผลดียิ่งขึ้น กล่าวคือ มีการค้นพบความรู้และความเชื่อใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับวิธีการสอนและตัวผู้เรียนซึ่งตนไม่เคยสังเกตหรือสนใจมาก่อน เข้าใจในด้านเนื้อหาสาระที่ต้องทำการสอนได้แตกฉานยิ่งขึ้น และรู้ว่าตนเองควรแสดงบทบาทและพฤติกรรมการสอนอย่างไร จึงจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดตามเกณฑ์ที่คาดหมาย ทราบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพของตนได้ตลอดเวลา ครูเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนต่อไปเพิ่มความพึงพอใจ เพิ่มขวัญกำลังใจต่อการปฏิบัติงานสูงขึ้น และลดอัตราการลาหยุดงานน้อยลงมีความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนวิธีสอน ให้สอดคล้องกับลักษณะผู้เรียนได้อย่างเด่นชัด และรวดเร็วมีความผูกพันที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้ปรากฏอย่างเด่นชัดและยั่งยืน มีความประสงค์ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ ต่อปัจจัยพื้นฐานด้านต่างๆ และยังส่งผลต่อนักเรียน ดังนี้ อัตราการขาดเรียนลดลง มีผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเด่นชัด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษที่สูงขึ้นอย่างเด่นชัด มีความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์การเรียน ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภูมิหลังไม่เหมือนกัน ลดลงชัดเจน
6. บทเรียนที่ได้รับ
การพัฒนาการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching ) สอดคล้องกับตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลการประเมินในด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารดีขึ้น
และนักเรียนมีความมั่นใช้ ในการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆและชีวิตประจำวันมากขึ้น การจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ ครูเป็น Coach คอยแนะนำให้คำปรึกษา นักเรียนเป็นผู้ลงมือ ปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learning by doing)
ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้พัฒนาการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching) มีผลการประเมินในด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารดีขึ้น ซึ่งผู้ศึกษาได้เสนอแนะ
ดังต่อไปนี้
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
1.1 ครูผู้สอนจะต้องศึกษาวิธีการสอนทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าด้วยการทำกระบวนการ PLCและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผน
1.2 ครูผู้สอนต้องตรวจผลงานแล้วแจ้งคะแนนให้นักเรียนทราบทันทีและแก้ไขข้อบกพร่องที่พบทันที หากตรวจผลงานแล้วพบว่า มีนักเรียนที่คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ครูผู้สอนควรอธิบายให้คำแนะนำเพิ่มเติมเป็นรายบุคคลจนกว่านักเรียนจะเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำแบบทดสอบต่อไป
1.3 ครูผู้สอนต้องคอยให้กำลังใจและควรมีการเสริมแรงให้กับนักเรียนโดยเฉพาะ
นักเรียนที่เรียนอ่อน ครูจะต้องให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด หาโอกาสยกย่องชมเชยซึ่งจะทำให้นักเรียนกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้นักเรียน
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 ควรใช้วิธีการสอนทฤษฎีการเรียนรู้แบบ CLT (Communicative Language Teaching) ในเรื่องอื่น ๆ ทางภาษาอังกฤษในระดับต่อ ๆ ไป
2.2 กิจกรรมเข้ากลุ่มควรจะฝึกก่อนปฏิบัติการอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อให้
นักเรียนเคยชินกับการจัดกิจกรรมเข้ากลุ่ม และเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
2.3 ควรจัดทำแผนภูมิการเรียนรู้ ให้นักเรียนอ่านและศึกษาพร้อมกันก่อนจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจและตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกัน
การเผยแพร่
- เผยแพร่ทางช่องทาง Facebook และ Youtube
9. บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ภุชงค์ มัชฌิโม. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการสะกดคำ ประกอบการ
จัดการเรียนรู้ 2W3P ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาสารคาม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด
Davies & Pearse. (2000). Success in English Teaching. Hong Kong: Oxford University Press.
10. ข้อมูลของเจ้าของผลงาน
ชื่อ นางสาวพุทธิดา สุนทรไชย
ตำแหน่ง ครู วิทยาฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนวัดบางแสม อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทร 063-7727080