ผลจากการนำนวัตกรรม Triple T Model การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยแนวคิดเปิดใจรักการเรียนรู้ และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ความยั่งยืนไปจัดการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอินทนิน ในปีการศึกษา 2565
สามารถสรุปผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
1. เพื่อสร้างนวัตกรรม Triple T Model การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยแนวคิดเปิดใจรักการเรียนรู้ และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ความยั่งยืน ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในวิชาภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูด้วยกระบวนการ PLC
ครูผู้สอนในรายวิชาภาษาอังกฤษสามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้โดยการใช้นวัตกรรม Triple T Model การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยแนวคิดเปิดใจรักการเรียนรู้ และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ความยั่งยืน ทำให้รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นรูปแบบ Active Learning โดยใช้กิจกรรมเกมในชั้นเรียน มีการนำเกมมิฟิเคชั่นซึ่งเป็นเกมทางการศึกษาเข้ามาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยมีการนำเสนอสถานการณ์แปลกใหม่ที่นักเรียนไม่คุ้นเคย ทำให้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความอยากรู้ว่าเกมจะมีการเล่นอย่างไร และทำอย่างไรจึงจะทำให้ทีมของตนเองเป็นทีมที่ชนะ ซึ่งก่อนที่จะมีการเล่นเกม ครูจะมีการอธิบายกฎ กติกา การเล่มเกมกับตัวแทนกลุ่มรับทราบ เพื่อมีความเข้าใจที่ตรงกัน หลังจากนั้นก็ให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ส่งผลให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างอิสระ มีความสุขกับการเรียนรู้มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนนั้นมีการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรมสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้ ซึ่งการนำเกมมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนจึงเป็นการพัฒนานักเรียนในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ด้านทักษะ และเจตคติที่ดีในการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ ซึ่งผู้เรียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สนุกสนาน ตื่นเต้น กระตือรือร้น
2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ ได้รับการสอนโดยใช้นวัตกรรม Triple T Model การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยแนวคิดเปิดใจรักการเรียนรู้ และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ความยั่งยืน
ผลปรากฏว่าจากการดำเนินงานกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 19 คน ผลปรากฏว่า
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม Triple T Model การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยแนวคิดเปิดใจรักการเรียนรู้ และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ความยั่งยืนแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ (μ= 24.11 σ+ 2.51) สูงขึ้น และสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ (μ = 13.58 σ + 3.53) โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้ คือ 13.58 และคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้ คือ 24.11 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้น 10.58
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเกมกระดานวิทยาศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 80 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ (μ= 24.11) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 (μ = 24.00)
การใช้นวัตกรรม Triple T Model การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยแนวคิดเปิดใจรักการเรียนรู้ และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ความยั่งยืนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประสบผลสำเร็จและนักเรียนมีเจตคติที่ดีขึ้นในการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำรวจได้จากแบบประเมินความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้