การยกระดับคุณภาพผู้เรียน ด้วยรูปแบบ T-FIVE+ Model บนฐานหลักสูตรฐานสมรรถนะ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ยกผลสัมฤทธิ์ ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะ ๗ ด้าน พัฒนาการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะของครู ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์การประเมินภายใน ภายนอก และสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม และการบริหารสถานศึกษา โดยมีประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน ๕๒๗ คน ครูและบุคลากร จำนวน ๓๔ คน ผู้ปกครอง จำนวน ๕๒๗ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๕
กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
ผู้ศึกษาได้นำหลักการและรูปแบบการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบ TFIVE Model ที่ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ มาพัฒนาต่อยอด และนำมาเป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพผู้เรียน ด้วยรูปแบบ T-FIVE+ Model บนฐานหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยมีการออกแบบผลงานนวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติ ดังนี้
T = Team การทำงานเป็นทีม การทำงานทุกขั้นตอนจะเน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ประกอบด้วย แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางยกระดับ สอบถามความต้องการจากนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา พัฒนาครูร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันพัฒนาจัดการเรียนการสอน และนิเทศกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันสรุป วิเคราะห์ผลการดำเนินการ
F = Focus การวิเคราะห์ ศึกษาประเด็นที่ต้องการพัฒนา จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ โดยมีวิธีการ วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ศึกษาหลักการ จุดมุ่งหมาย แนวคิดการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ ออกแบบโมเดลและรูปแบบการนิเทศติดตาม
I = Integration การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การนิเทศติดตาม และการวัดประเมินผล โดยมีการบูรณาวิชา นำวิชาพื้นฐานมาบูรณาการเป็นรายวิชาใหม่ บูรณาครูผู้สอน ร่วมคิด ร่วมสอน ร่วมนิเทศก์ติดตามและวัดผลประเมินผล กำหนดให้มีกระบวนการ PLC ในประเด็นปัญหาที่พบเพื่อร่วมทางแนวทางแก้ไข
V = Variety การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งภายในห้องเรียน ภายในโรงเรียน เรียนรู้จากครู วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ เน้นการเรียนรู้แบบ ACTIVE LEARNING เน้นการปฏิบัติ ลงมือทำ
E = Evaluation การประเมินด้วยรูปแบบที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน นิเทศการจัด การเรียนการสอน การสังเกตเกตการสอน สอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนและการจัดกิจกรรม และการบริหารสถานศึกษา
ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 รายวิชาบูรณาการ ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ย วิชาภาษาไทย ร้อยละ 70.93 วิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 69.29 วิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 70.48 วิชาภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 70.43 วิชาพลศึกษา ร้อยละ 78.86 วิชาบูรณาการ ร้อยละ 75.55 นักเรียน เกิดสมรรถนะการจัดการตนเอง การคิดขั้นสูง การสื่อสาร การรวมพลังทำงานเป็นทีม การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน และสมรรถนะทักษะอาชีพ ครูได้รับการพัฒนาสามารถจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะได้ และผู้ปกครองพึงพอใจของต่อการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมและ การบริหารสถานศึกษา ร้อยละ ๙๔.๖๗