ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวพาตียะห์ สาแม็ง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านบ่อหิน อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3
ปีที่รายงาน 2564
................................................................................................................................................................
บทคัดย่อ
การรายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบ่อหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.57/81.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ส่วนประกอบและหน้าที่ของพืชดอก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.57 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3