สุรีรัตน์ วารีนิล. (2566). เพาะเมล็ดพันธุ์ความดี ด้วยวิถีพอเพียง(PorPEANG)(Sow the seeds of
goodness by a sufficient way.). นวัตกรรมถอดบทเรียน(Best Practice) สำหรับผู้บริหาร
สถานศึกษาโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ประจำปี
งบประมาณ ๒๕๖๖. ราชบุรี : โรงเรียนวัดดอนทราย(สุวรรณรัฐราษฎร์อุปถัมภ์).
บทสรุป
นวัตกรรม เพาะเมล็ดพันธุ์ความดี ด้วยวิถีพอเพียง(PorPEANG) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพภายใต้การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
การออกแบบนวัตกรรม เพาะเมล็ดพันธุ์ความดี ด้วยวิถีพอเพียง(PorPEANG) ผู้รายงานใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ ด้วยการสนทนาโฟกัสกลุ่ม(Focus Group) 2. การออกแบบนวัตกรรม ด้วยการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆที่เกี่ยวข้องและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม นำมาออกแบบนวัตกรรม และให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความสอดคล้อง รูปแบบนวัตกรรมมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการมีส่วนร่วม-การเป็นเจ้าของ-บทบาท (Panticipation- ownership- roles) ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนทำงาน (Plan) ขั้นตอนที่ 3 การสร้างพลเมืองที่มีจริยธรรม (Eethical citizen) ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผลเชิงบวก (After action review) ขั้นตอนที่ 5 เรียนรู้...สู่วิถีคิดใหม่ (New create) และขั้นตอนที่ 6 เป้าหมายความดี (Goal)
3.การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง นำผลของการใช้นวัตกรรมไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุง แก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์ และประเมินคุณภาพของนวัตกรรม 4.นำนวัตกรรมไปใช้จริงและรายงานผล
ผลการดำเนินงาน ดังนี้ สถานศึกษามีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพภายใต้การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา นั่นคือ นวัตกรรมการบริหารการศึกษา จำนวน 1 เล่ม คือ นวัตกรรม เพาะเมล็ดพันธุ์ความดี ด้วยวิถีพอเพียง (Sow the seeds of goodness by a sufficient way). ผลการประเมินคุณภาพของนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 1. การมีส่วนร่วมและมีความตระหนักร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของทุกฝ่าย 2. รูปแบบการทำงานที่ชัดเจน จริงจัง และลักษณะการบริหารงานที่เอื้อต่อผู้ร่วมงานบทเรียนที่ได้รับ 1.การสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายอย่างชัดเจน ก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง 2.การแต่งตั้งหรือมอบหมายคณะทำงานที่ชัดเจนส่งผลให้เกิดเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 3. การนิเทศภายในที่เข้มแข็งเป็นระบบส่งผลให้นำไปสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนต่อไป เงื่อนไขความสำเร็จ คือ 1. การสร้างเป้าหมายที่ชัดเจนและมั่นคงในการทำงานร่วมกัน ส่งผลให้ทุกคนทุกฝ่ายซึมซับเป้าหมายของการทำงาน 2. การประชาสัมพันธ์ผลงานการพัฒนาตน พัฒนางานของเพื่อนครูให้กว้างขวาง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี 3. การประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ 4. การหมั่นประชุมเป็นนิตย์กับเพื่อนร่วมงานและผู้ปกครอง
ก