ชื่องานวิจัย การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ( ผลิตภัณฑ์จากลูกหยี ) ในเขตเทศบาล
ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566
ชื่อคณะวิจัย ๑. ดร.นริศรา แดสามัญ ตำแหน่ง ปลัดเทศบาลตำบลยะรัง
๒. นายอัซรีย์ ศุภศิริ ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักปลัด รรท.
ผู้อำนวยการกองการศึกษา
๓. นางสาวกุลกนก ภูดิทสายแก้ว ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารการศึกษา
สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ปีที่วิจัย พ.ศ. 25ุ66
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ( ผลิตภัณฑ์จากลูกหยี ) ในเขตเทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ( ผลิตภัณฑ์จากลูกหยี ) ในเขตเทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ร้านค้าที่เป็นเจ้าของยี่ห้อผลิตภัณฑ์จากลูกหยี และจัดจำหน่ายในเขตเทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี จำนวน 10 ร้าน ( ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ) ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาทั้งกลุ่มประชากร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความตรง ชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วนให้มากที่สุด โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยสัมภาษณ์ด้วยตนเอง จำนวน 10 ร้าน และได้รับความร่วมมือในการให้สัมภาษณ์ จำนวน8 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 80 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่น และตอนที่ 2 เป็นข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ใช้วิธีการสรุปความ จัดกลุ่มหาความถี่ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา( content analysis )
ผลการวิจัยพบว่า
1. สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกหยียะรังมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มี 2 ประการ คือ
๑.๑ ในพื้นที่อำเภอยะรังเป็นพื้นที่ที่มีลูกหยีดี มีคุณภาพ
๑.๒ อำเภอยะรังมีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคนเก่ง ฉลาด ขยัน และมีความรู้ รู้จักนำหลักโภชนาการมาปรับแต่ง ประยุกต์ให้เข้ากับผลไม้ (ลูกหยี) ที่มีในท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้อง
กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ที่ในพื้นที่มีต้นหยีเกิดขึ้นมากมาย โดยนำมาทำเป็นของขบเคี้ยว
ไว้รับประทานจนมีชื่อเสียง และกลายเป็นของฝาก ของดีเมืองยะรัง และจังหวัดปัตตานี
๒. จากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
2.1 กลุ่มที่ 1 มีลักษณะเด่น คือ
- มีประสบการณ์มาก เป็นผู้ที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว
- มีข้อจำกัดในการทำงาน เช่น สภาพร่างกาย เป็นต้น
- มีกรอบความคิดจำกัด
- หวงความรู้มาก
- ผู้สืบทอดภูมิปัญญามีน้อย ส่งผลให้การเจริญเติบโตของกิจการ
มีข้อจำกัด
2.2 กลุ่มที่ 2 มีลักษณะเด่น คือ
- ชอบเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และมีความรู้ด้านเทคโนโลยี
- มีความภาคภูมิใจในตนเอง
- ร่าเริง สดใส ยิ้มเก่ง คิดบวก และมีความสุขในสิ่งที่ทำ
- มีความคิดอยากพัฒนาชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ
- มีผู้สืบทอดภูมิปัญญาหลายรุ่นส่งผลให้การเจริญเติบโตของกิจการดี
มีการพัฒนา และต่อยอด
2.3 กลุ่มที่ 3 มีลักษณะเด่น คือ
- มีประสบการณ์มาก และประสบความสำเร็จในชีวิต
- มีข้อจำกัดในการทำงาน เช่น สภาพร่างกาย สูงวัย เป็นต้น
- ชอบเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
- มีความภาคภูมิใจในตนเอง
- ร่าเริง สดใส ยิ้มเก่ง คิดบวก และมีความสุขในสิ่งที่ทำ
- มีความคิดอยากพัฒนาชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ
- มีผู้สืบทอดภูมิปัญญาหลายรุ่นส่งผลให้การเจริญเติบโตของกิจการ
มีความสม่ำเสมอ และเป็นไปด้วยดี
๓. เขตเทศบาลตำบลยะรังมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดจำนวน 5 ชุมชน ชาวบ้าน
มีรายได้จากการทำลูกหยีส่งร้านค้าทั้ง 5 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100.๐๐ บางชุมชนทำลูกหยีประมาณ 10-20 หลังคาเรือน แต่บางชุมชนทำลูกหยีเกือบทุกหลังคาเรือน นอกจากนี้ การแปรรูปลูกหยี ส่งผลให้มีการสร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน คนในชุมชนได้มีการพัฒนาตนเอง จนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจริง และเห็นเป็นรูปธรรม