บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อมหรือบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน โรงเรียนแม่บงใต้ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในขั้นตอนที่ 1 การประเมินการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 5 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 13 คน ในขั้นตอนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ ได้แก่ ครู จำนวน 5 คน ผู้ปกครอง จำนวน 43 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 22 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 70 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ การประเมินการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̄ = 4.92) รองลงมา คือ ด้านผลผลิต (x̄ = 4.91) ด้านสภาวะแวดล้อมหรือบริบท (x̄ = 4.86) และ ด้านปัจจัยนำเข้า (x̄ = 4.79) ตามลำดับ
1.1 ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ ด้านสภาวะแวดล้อมหรือบริบท ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความสอดคล้อง/เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และบริบทของโรงเรียน (x̄= 5.00) และเป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และบริบทของโรงเรียน (x̄= 5.00) รองลงมา คือ หลักการ และความสำคัญของโครงการมีความชัดเจนและเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน (x̄=4.92) ถัดมา การดำเนินงานของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียน นักเรียน ครู และ ผู้ปกครองนักเรียน (x̄= 4.69) และการกำหนดกิจกรรม วิธีการดำเนินการและระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสมและปฏิบัติได้จริง (x̄= 4.69) ตามลำดับ
1.2 ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มีสถานที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการและมีห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่เอื้อต่อการดำเนินงานตามโครงการ (x̄= 5.00) มีห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่เอื้อต่อการดำเนินงานตามโครงการ (x̄= 5.00) มีผลการประเมินมากที่สุด (x̄= 5.00) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ (x̄= 4.92) มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานตามโครงการอย่างเหมาะสม (x̄ = 4.92) มีเอกสาร หนังสือ วารสาร เพียงพอต่อการดำเนินโครงการ (x̄= 4.92) ถัดมาบุคลากรมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการวางแผนการจัดทำโครงการ (x̄= 4.85) มีวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ สำหรับดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ (x̄= 4.85) ถัดมามีการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม (x̄= 4.69) ถัดมามีงบประมาณสนับสนุนจากชุมชน และหน่วยงานอื่นอย่างเพียงพอ (x̄= 4.62) บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ (x̄= 4.62) และมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอย่างเพียงพอจากต้นสังกัด (x̄= 4.54) มีจำนวนบุคลากรมีเพียงพอต่อการดำเนินงานตามโครงการ (x̄= 4.54) ตามลำดับ
1.3 ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ ด้านกระบวนการตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.92) ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับสูงสุด 6 อันดับแรก ได้แก่ มีการดำเนินงานโครงการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ (x̄= 5.00) ได้รับความร่วมมือจากครู นักเรียนและชุมชน (x̄= 5.00) ผู้บริหารสถานศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการตลอดจนเสร็จสิ้นโครงการ (x̄= 5.00) มีการกำกับ ติดตามงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ (x̄= 5.00) มีการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการตามขั้นตอนที่กำหนด (x̄= 5.00) มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (x̄= 5.00) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̄= 5.00) รองลงมา คือ นักเรียนสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามความถนัดและความสนใจ (x̄ = 4.92) มีระบบการติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน (x̄ = 4.92) มีการดำเนินงานโครงการที่กำหนดไว้ (x̄ = 4.85) และนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึง(x̄ = 4.54) ตามลำดับ
1.4 ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีผลสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยเรียงลำดับสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ครูและนักเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการดำเนินงานของโครงการและเป็นที่ยอมรับของชุมชน (x̄ = 5.00) ครูได้ใช้สื่อ อุปกรณ์ ช่วยเสริมในการปฏิบัติกิจกรรมให้กับนักเรียนทุกกิจกรรมอย่างเหมาะสมและน่าสนใจ (x̄= 5.00) โรงเรียนมีบรรยากาศที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้ (x̄ = 5.00) โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย (x̄= 5.00) โรงเรียน มีอาคารสถานที่ /ห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการ ในสภาพใช้การได้ดี (x̄ = 5.00) มีการประเมินมากที่สุด (x̄ = 5.00) รองลงมา คือ ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ที่โรงเรียนจัดขึ้น (x̄ = 4.92) โรงเรียนสนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน (x̄= 4.92) ครูและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม (x̄ = 4.85) ครูและนักเรียนเกิดความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน (x̄ = 4.77) และครูและนักเรียนมีความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการ (x̄ = 4.62) ตามลำดับ
2. ผลการสอบถามความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ สรุปได้ดังนี้
2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ ด้านกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการที่ได้กำหนดไว้ (x̄ = 4.36) โรงเรียนมีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ อยู่ในสภาพใช้การได้ดี (x̄ = 4.21) และผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ( x̄= 4.14) ตามลำดับ
3. ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านแม่บงใต้ จังหวัดแพร่ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ มีการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมปรับปรุงระบบน้ำดื่มสะอาด (x̄= 5.00) รองลงมา คือ มีความเข้าใจการดำเนินงานและมีส่วนร่วมกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมปรับปรุงเวทีแสดงความสามารถของนักเรียน และมีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมปรับปรุงห้องเรียน/ห้องกลุ่มสาระ (x̄= 4.96) มีความพึงพอใจต่อการเนินกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิลและมีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมปรับปรุง (x̄ = 4.91) ถัดมามีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมปลูกหญ้า จัดสวน (x̄ = 4.86) มีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมประกวดเขตพื้นที่รับผิดชอบ x̄= 4.81) และได้รับประโยชน์การดำเนินกิจกรรม Big Cleaning Day (x̄= 4.63) ตามลำดับ