ชื่อเรื่อง การศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากร
ทางการศึกษาโรงเรียนชลกันยานุกูล
ผู้วิจัย นางปาจรีย์ ศรีอรุณ
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนชลกันยานุกูล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานบุคคล
โรงเรียนชลกันยานุกูล 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารงาน
บุคคลโรงเรียนชลกันยานุกูล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารงานบุคคลโรงเรียนชลกันยานุกูล
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 149 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่ม
แบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น
ทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานบุคคลโรงเรียนชลกันยานุกูล โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร
ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ รองลงมา ได้แก่ ด้านการวางแผนอัตรากำลังคน
การกำหนดตำแหน่ง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
2. ความคาดหวังของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนชลกันยา
นุกูล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่
ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง รองลงมา ได้แก่ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนด้านที่มี
ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังคนการกำหนดตำแหน่ง
3. แนวทางในการบริหารงานบุคคลโรงเรียนชลกันยานุกูล ควรมีการดำเนินการพิจารณาให้
ความเห็นชอบในการโยกย้ายด้วยความเป็นธรรม และคำนึงถึงความจำเป็นของภารกิจงานหรือปริมาณ
ของแต่ละกลุ่มสาระวิชา ควรสำรวจข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างครบถ้วน แต่งตั้ง
บุคลากรเพื่อวางแผน รวบรวมและวิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการสร้างคู่มือการ
บริหารงานบุคคลให้สถานศึกษา และควรวิเคราะห์ความจำเป็นและความต้องการ วางแผน พัฒนา
บุคลากร โดยการมีส่วนร่วม สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานและทบทวนความรู้เป็นระยะ