บทนำ
สถานการณ์โลกในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรปรับตัวใน โลกอนาคต การเรียนรู้เชิงรุก ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ ความรู้ มีทักษะ มีคุณธรรมและจริยธรรมมากขึ้น และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีการนำแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปพัฒนาการคิดเชิงระบบ และเป็นรูปธรรมในลักษณะของการเรียนแบบมีการปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนร่วมกันทั้งการเรียน การสร้างองค์ความรู้ การลงมือปฏิบัติด้วยจริง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนไปปรับโครงสร้างเพิ่มเวลาเรียนรู้ จัดกิจกรรมการสอนทุกระดับทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน หรือทางออนไลน์ เพื่อเข้ากับบริบทของผู้เรียนอย่างเหมาะสม และสามารถพัฒนาให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในกำหนดช่วงเวลาของกระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับ โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การสร้างสรรค์ และเข้าใจในเชิงลึกในสถานการณ์ต่าง ๆ จนผู้เรียนสามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกใน อนาคต และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน และสังคมส่วนรวม ได้อย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่าแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้เชิงรุกเป็น การออกแบบการจัดการเรียนการสอนของผู้สอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้จากการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เสนอสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอย่างแท้จริง ผ่านวิธีการหรือการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีการกำหนด อย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายในสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องทำ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสะท้อนความรู้ ภายใต้ การคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การมีส่วนร่วม ผู้เรียนจะเกิด ประสบการณ์ และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
โรงเรียนสารทิศพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) อิงวัฒนธรรมวิถีน่าน ภายใต้ชื่อเรื่อง อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สานศิลป์วิถีชุมชนเป็นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลยาบหัวนา ตลอดจนลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ โดยได้ศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านเกษตรกรรม ด้านหัตถกรรม ด้านโภชนาการอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านประเพณีและพิธีกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ซึ่งถูกสืบสาน สืบทอด ต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการ แบ่งออกเป็น ๕ ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ที่ ๑ เศรษฐกิจพอเพียง ฐานการเรียนรู้ที่ ๒ อาหารและการแปรรูป ฐานการเรียนรู้ที่ ๓ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฐานการเรียนรู้ที่ ๔ ด้านประเพณีและพิธีกรรม ฐานการเรียนรู้ที่ ๕ ด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ได้มีการดำเนินการศึกษาค้นความข้อมูล จากการเรียนรู้ การสังเกต การสอบถาม และนำความรู้ที่ได้รับมาฝึกปฏิบัติ ออกแบบเป็นชิ้นงาน สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนักเรียนจะได้รับความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังสร้างความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนและความเป็นไทยได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างและพัฒนาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศการบริหารและจัดการสถานศึกษาด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ของโรงเรียนสารทิศพิทยาคม
2. เพื่อส่งเสริมสรรถนะทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรของนักเรียนโรงเรียนสารทิศพิทยาคม
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ของโรงเรียนสารทิศพิทยาคม
กระบวนการ
การออกแบบนวัตกรรม อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สานศิลป์วิถีชุมชนด้วย SARATIT.P MODEL เป็นรูปแบบใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ของโรงเรียนสารทิศพิทยาคม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตร พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ สู่สากล บนพื้นฐานความเป็นไทย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย มีขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการ PDCA ดังนี้
๑. Swot & Strategy การวิเคราะห์บริบทและสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค โอกาสในการพัฒนา และจัดทำแผนกลยุทธในการพัฒนาสถานศึกษาและวางแผนในการดำเนินงานโดยการประชุมปฏิบัติการระดมความคิดร่วมกันระหว่างนักเรียน โรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติในระดับต่าง ๆ พระราชบัญญัติการศึกษา นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อกำหนดทิศทาง กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ในการจัดทำแผนกลยุทธ และแผนปฏิบัติการประจำปี ของสถานศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ
๒. Active learning หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก จากการลงมือปฏิบัติจริง โดยมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการ แบ่งออกเป็น ๕ ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ที่ ๑ เศรษฐกิจพอเพียง ฐานการเรียนรู้ที่ ๒ อาหารและการแปรรูป ฐานการเรียนรู้ที่ ๓ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฐานการเรียนรู้ที่
๔ ด้านประเพณีและพิธีกรรม ฐานการเรียนรู้ที่๕ ด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นต้น
๓. Reflection & Report หมายถึง ทบทวนและตรวจสอบการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยผู้บริหารสถานศึกษา มีการนิเทศและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อสะท้อนความคิด แก้ปัญหาร่วมกันกับคณะครู สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะและมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อวางแผนพัฒนานำไปใช้ครั้งต่อไป
๔. Authentic Assessment หมายถึง มีการประเมินผลตามสภาพจริง จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
๕. Team หมายถึง การขับเคลื่อนการดำเนินงานจะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ผู้บริหารและครู ต้องมีทิศทางในการดำเนินทางเป็นไปในแนวทางเดียวกันใช้กระบวนการ PLC ในการวางแผนการดำเนินงาน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมกันขับเคลื่อนดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม มีความยั่งยืน
๖. Innovation หมายถึง การสร้างและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของผู้บริหารสถานศึกษาและของครูผู้สอน อย่างต่อเนื่อง
๗. Technology หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๘. Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของเครือข่ายความร่วมมือ โรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่า ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายความร่วมมือภายนอกโรงเรียน มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนหน่วยงานอื่นร่วมขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเป็นส่วนช่วยให้งานสำเร็จและงานที่ออกมามีประสิทธิภาพ บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์