1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
1.1 ความเป็นมาและสภาพของปัญหา
ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและของสังคมโลก นำมาซึ่งไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าในตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมถึงเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 220) และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสดงหาความรู้ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 221)
ด้านตัวนักเรียน พบว่า นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ จะเห็นได้จากนักเรียนไม่กระตือรือร้นเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับวิชาอื่น ๆ นักเรียนไม่กล้าแสดงออกในการใช้ภาษาอังกฤษ นักเรียนยังขาดความมั่นใจในการตอบคำถาม นักเรียนไม่มีความมั่นใจในการอ่านภาษาอังกฤษ หรือการพูดภาษาอังกฤษ และการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือนักเรียนมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น อีกทั้งปัญหาที่พบในการสอนการอ่านภาษาอังกฤษคือ เมื่อนักเรียนอ่านภาษาอังกฤษแล้วไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ในข้อความนั้น แต่จำเป็นต้องอ่านก็แก้ปัญหาโดยการเปิดพจนานุกรมหาคำศัพท์ที่ไม่ทราบความหมายและมีการจดคำแปลไว้ตลอดแต่ก็ไม่สามารถเข้าใจได้ว่าตนเองอ่านเรื่องอะไร ซึ่ง (พิสิษฐ์ สอนน้อย, 2551 : 2) กล่าวว่า จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษพบว่า เด็กไทยส่วนมากยังมีระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่ไม่พอใจและการที่ผู้เรียนส่วนมากยังขาดความสามารถในทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจอยู่นั้น อาจจะเป็นเพราะยังขาดวิธีการหรือเทคนิคที่เหมาะสมในอันที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น และจากผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งในปีการศึกษา 2563 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 30.43
จากปัญหาและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนจึงได้แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึก โดยใช้เทคนิค KWL Plus เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ เทคนิค KWL Plus ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอ่านอย่างกระตือรือร้น เป็นการอ่านที่ฝึกการถามตนเองและการใช้ความคิด และคิดในเรื่องที่อ่านเป็นสำคัญ โดยสามารถพัฒนาสมรรถภาพในการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการอ่าน สรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่าน จัดการกับสาระความรู้ขึ้นใหม่ตามความเข้าใจของตนเอง โดยการใช้แผนผังมโนทัศน์หรือแผนผังความคิด และเขียนสรุปเรื่องที่อ่านจากแผนผังนั้น อีกทั้งส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้กับผู้เรียนได้ และฝึกการระดมสมองโดยมีกรอบในการร่วมกันคิด ดังนั้นการสอนโดยใช้ เทคนิคการสอนแบบนี้ จะช่วยให้นักเรียนอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง และยังพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และยังเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียน มีความสนใจ มีความกระตือรือร้น ตลอดจนมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อไป
1.2 แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา
1) วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับ หลังเรียนโดยใช้โดยใช้แบบฝึก และเทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้โดยใช้แบบฝึก และเทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัดโพธิ์เรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
2) เป้าหมาย
1. เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 23 คน
2. เชิงคุณภาพ
1. คะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้โดยใช้แบบฝึก และเทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. ความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้โดยใช้แบบฝึก และเทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ อยู่ในระดับมาก
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เขียนอธิบายให้เห็นประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น ดังนี้
3.1 การออกแบบผลงานหรือนวัตกรรม
ครูผู้สอนจึงได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึก และเทคนิคการสอนมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อช่วยให้นักเรียนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น ดังนั้นครูผู้สอนได้ออกแบบกิจกรรมและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดใช้เทคนิค KWL Plus ที่เน้นทักษะกระบวนการอ่าน ทักษะการคิดอย่างรู้ตัว การนำประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาช่วยในการตีความเนื้อเรื่อง การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการตั้งคำถาม
ขั้นตอนในการสอนแบบใช้เทคนิค KWL Plus
จากการศึกษาตามแนวคิดของนักการศึกษา Martini (2003) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus ดังนี้
1) ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและทำงานเป็นทีม
2) เพื่อเก็บชิ้นงานจากแผนภาพตาราง KWL มาเป็นข้อมูลสำหรับครูในการช่วยเหลือการเรียนรู้ของนักเรียน
3) เพื่อให้นักเรียนเรียนเป็นรายบุคคลโดยใช้ชิ้นงานในการประเมินพัฒนาการของนักเรียน
นอกจากนี้ Conner (2004), วิไลวรรณ สวัสดิวงศ์ (2547: 74) และวัชรา เล่าเรียนดี (2547: 145) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus ไว้สอดคล้องกันดังนี้
1) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอ่านอย่างกระตือรือร้น เป็นการอ่านที่ฝึกการถามตนเองและการใช้ความคิด และคิดในเรื่องที่อ่านเป็นสำคัญ
2) สามารถพัฒนาสมรรถภาพในการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการอ่าน สรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่าน จัดการกับสาระความรู้ขึ้นใหม่ตามความเข้าใจของตนเอง โดยการใช้แผนผังมโนทัศน์หรือแผนผังความคิด และเขียนสรุปเรื่องที่อ่านจากแผนผังนั้น
3) ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้กับผู้เรียนได้
4) ฝึกการระดมสมองโดยมีกรอบในการร่วมกันคิด
และจาการศึกษาตามแนวคิดของ วิไลวรรณ สวัสดิวงศ์ (2547: 75) อ้างถึงในCarr and Ogle (2004) ที่ได้เสนอขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plusไว้ดังนี้
1) ขั้น K (What do I know)
ขั้นตอนนี้ก่อนที่นักเรียนจะอ่านเรื่อง ครูอธิบายความคิดรวบยอดของเรื่องและกำหนดคำถามโดยครูกระตุ้นหรือถามให้นักเรียนได้ระดมสมอง (Brainstorms) เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนรู้แล้วและนำข้อมูลที่ได้มาจำแนก แล้วเขียนคำตอบของนักเรียนในแผนภูมิรูปภาพช่อง K (What do I know) หลังจากนั้นนักเรียนและครูร่วมกันจัดประเภทความรู้ที่คาดการณ์ว่าอาจเกิดขึ้นในเรื่องที่จะอ่าน
2) ขั้น W (What do I want to learn)
ในขั้นตอนนี้นักเรียนค้นหาความจริงจากคำถามในสิ่งที่สนใจอยากรู้ หรือคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของเรื่อง พร้อมทั้งให้นักเรียนเขียนรายการคำถามที่ตั้งไว้ ในระหว่างอ่านนักเรียนสามารถเพิ่มคำถามและคำตอบในกลุ่มของตัวเองได้
3) ขั้น L1 (What did I learn)
ในขั้นตอนนี้นักเรียนบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างการอ่านและหลังการอ่าน ลงในช่อง L (What did I learn) พร้อมทั้งตรวจสอบคำถามที่ยังไม่ได้ตอบ
4) ขั้น L2 (Mapping)
นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จัดประเภทไว้ในขั้นตอน K(What do I know) เขียนชื่อเรื่องไว้ในตำแหน่งตรงกลางและเขียนองค์ประกอบหลักของแต่ละหัวข้อ พร้อมทั้งเขียนอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น
5) ขั้น L3 (Summarizing)
ขั้นตอนนี้นักเรียนช่วยกันสรุปและเขียนสรุปความคิดรวบยอดจากแผนภูมิความคิดซึ่งการเขียนในขั้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและนักเรียนในการประเมินความเข้าใจของนักเรียน
และจากการศึกษาจากนักวิชาการ วิไลวรรณ สวัสดิวงศ์ (2547: 77 - 78) อ้างถึงในCarr and Ogle (1987) ได้กล่าวถึงการนำเทคนิค KWL Plus มาใช้เป็นกลวิธีในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยผ่านการอ่าน ดังต่อไปนี้
1) เลือกเรื่องหรือบทความที่เหมาะสมกับระดับชั้นและระดับความสามารถในการอ่านตามวัยของนักเรียน
2) สร้างแผนภูมิภาพ KWL (KWL- chart) บนกระดานและสร้างใบงานสำหรับนักเรียนในการดำเนินการสอนนั้นครูจะต้องกระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิด ระดมพลังสมอง (Brainstorm) แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อดึงดูดความรู้ทั้งหมดของนักเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่จะอ่าน โดยครูใช้คำถามตะล่อม(Prompting) กระตุ้นนักเรียนเพื่อให้อธิบายเหตุผลที่นักเรียนมีความคิดเช่นนั้น บันทึกสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้ในช่อง K (What do I know?) และแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลที่คาดว่าจะใช้
3) แนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการตั้งคำถามเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ต้องการจากการอ่าน นำคำถามที่ตั้งไว้ใส่ลงในช่อง W (What do I want to learn?) คำถามเหล่านี้อาจได้มาจากการอภิปรายหรือการระดมความคิด คำถามควรมีหลากหลายเพื่อพัฒนาการคิด การจัดประเภทองค์ประกอบหลักของข้อมูลที่คาดการณ์ไว้จะเป็นการช่วยให้นักเรียนมีวัตถุประสงค์ในการอ่าน
4) ในขณะอ่านกระตุ้นนักเรียนให้แสวงหาคำตอบจากคำถามที่ตั้งไว้ แสวงหาข้อมูลใหม่เพิ่มเติมและเพิ่มคำถาม
5) หลังจากอ่านเรื่องหรือบทความ ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้อภิปรายผลการเรียนรู้ที่ได้จากการอ่านและเขียนลงในช่อง L (What did I learn?) บันทึกแนวคิด ความรู้ที่พบว่าน่าสนใจจากการอ่าน สำหรับคำถามบางคำถามที่ยังหาคำตอบที่ได้จากการอ่านครั้งนี้ ครูควรแนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมแก่นักเรียน
6) สร้างแผนภาพความคิด ให้นักเรียนจัดประเภทของข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในช่อง L (What did I learn?) และถามคำถามเพื่อให้นักเรียนได้บรรยายความคิด สร้างแผนภาพความคิดข้อมูลที่มีความสำคัญที่ได้จากเรื่องที่อ่าน
จาการศึกษาแนวคิด และทฤษฎีจากนักวิชาการดังกล่าวข้างต้นสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิค KWL Plus เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยดังนี้
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
ครูผู้สอนได้ออกแบบกิจกรรมและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดใช้เทคนิค KWL Plus ที่เน้นทักษะกระบวนการอ่าน ทักษะการคิดอย่างรู้ตัว การนำประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาช่วยในการตีความเนื้อเรื่อง การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการตั้งคำถาม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
และจากการจัดการเรียนการสอนด้วย KWL Plus เป็นการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการอ่าน โดยนำความรู้เดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ครูผู้สอนจึงควรนำวิธีการสอนดังกล่าวไปใช้ในการจัดการเรียนสอน เพื่อสลับปรับเปลี่ยนกับการสอนแบบเดิมๆ และสามารถเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้ได้
และนอกจากนี้การจัดการเรียนรู้ด้วย KWL Plus ที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม ทำให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง ได้ฝึกความคิดอย่างอิสระ ส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มที่ประกอบไปด้วยนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง กลาง และต่ำ ได้ช่วยเหลือกัน และ ทำหน้าที่แทนครูผู้สอน อันเป็นการทบทวนความรู้เดิมของตัวเอง การฝึกฝนซ้ำๆ ในแต่ละขั้นตอนช่วยให้นักเรียนมีความมั่นใจในการแสดงพฤติกรรม ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมาย และมีความสุขกับการเรียน เพราะผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการอภิปรายเพื่อระดมความคิดนำเสนอผลงานให้เพื่อนๆ ในห้องเรียน ทำให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามความสามารถ ได้พัฒนาทักษะทางสมอง
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
ได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ โดยมีรายละเอียดลำดับต่อไปนี้
1. การสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึก และเทคนิคการสอนแบบ KWL Plus
1.1 ผู้วิจัยศึกษาแนวคิดหลักการทฤษฎีการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus (วิไลวรรณ สวัสดิวงศ์ (2547: 77 - 78) อ้างถึงในCarr and Ogle (1987)
1.2 ศึกษาหลักสูตร สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และวิเคราะห์บทเรียนและคัดเลือกเนื้อหาที่ใช้สอนเกี่ยวกับ Friendship Beyond Frontier โดยนำไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบ ด้วยชื่อเรื่อง และมีแผนการเรียนรู้ 6 แผน ดังต่อไปนี้
แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง At the Airport
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง I Love Cooking
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง Nisas 15 Birthday
แผนการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง Going Around
แผนการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง Loy Krathong Festival
แผนการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง Lets Travel!
1.3 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWL Plus จำนวน 6 แผน ใช้เวลาสอนแผนละ 3 ชั่วโมง ทั้งหมด 6 สัปดาห์ รวมเวลา 18 ชั่วโมง ซึ่งในแต่ละแผนการสอนมีขั้นตอนในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ดังนี้
1) ขั้น K (What do I know)
ขั้นตอนนี้ก่อนที่นักเรียนจะอ่านเรื่อง ครูอธิบายความคิดรวบยอดของเรื่องและกำหนดคำถามโดยครูกระตุ้นหรือถามให้นักเรียนได้ระดมสมอง (Brainstorms) เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนรู้แล้วและนำข้อมูลที่ได้มาจำแนก แล้วเขียนคำตอบของนักเรียนในแผนภูมิรูปภาพช่อง K (What do I know) หลังจากนั้นนักเรียนและครูร่วมกันจัดประเภทความรู้ที่คาดการณ์ว่าอาจเกิดขึ้นในเรื่องที่จะอ่าน
2) ขั้น W (What do I want to learn)
ในขั้นตอนนี้นักเรียนค้นหาความจริงจากคำถามในสิ่งที่สนใจอยากรู้ หรือคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับความคิดรวบยอดของเรื่อง พร้อมทั้งให้นักเรียนเขียนรายการคำถามที่ตั้งไว้ ในระหว่างอ่านนักเรียนสามารถเพิ่มคำถามและคำตอบในกลุ่มของตัวเองได้
ภาพประกอบการสอนกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
เทคนิคการสอนแบบ KWL Plus
ขั้น 1 K (What do I know)
และขั้น 2 W (What do I want to learn)
3) ขั้น L1 (What did I learn)
ในขั้นตอนนี้นักเรียนบันทึกความรู้ที่ได้ระหว่างการอ่านและหลังการอ่าน ลงในช่อง L (What did I learn) พร้อมทั้งตรวจสอบคำถามที่ยังไม่ได้ตอบ
4) ขั้น L2 (Mapping)
นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จัดประเภทไว้ในขั้นตอน K(What do I know) เขียนชื่อเรื่องไว้ในตำแหน่งตรงกลางและเขียนองค์ประกอบหลักของแต่ละหัวข้อ พร้อมทั้งเขียนอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น
ภาพประกอบการสอนกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
เทคนิคการสอนแบบ KWL Plus
ขั้น 3 L1 (What did I learn)
และขั้น 4 L2 (Mapping)
5) ขั้น L3 (Summarizing) ข้นสรุปองค์ความรู้
ขั้นตอนนี้นักเรียนช่วยกันสรุปและเขียนสรุปความคิดรวบยอดจากแผนภูมิความคิดซึ่งการ
เขียนในขั้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและนักเรียนในการประเมินความเข้าใจของนักเรียน
2. การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ
2.1 ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาตามคู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.2 สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยให้สอดคล้องกับเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีตัวเลือกที่ถูกเพียงตัวเดียว จำนวน 40 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหาและผลการเรียนที่คาดหวังที่กำหนด
2.3 นำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษไปใช้ทดลองจริงกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
3. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก และเทคนิคการสอนแบบ KWL Plus มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
3.1 สร้างประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ฐานสมอง โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิธี ของลิเคอร์ท (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 107) โดยครอบคลุมด้านเนื้อหา ครูผู้สอน ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้และด้านการวัดประเมินผลการเรียน
เกณฑ์การประเมินการตรวจให้คะแนนแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมีดังนี้
พึงพอใจระดับมากที่สุด ให้ค่าระดับคะแนน 5
พึงพอใจระดับมาก ให้ค่าระดับคะแนน 4
พึงพอใจระดับปานกลาง ให้ค่าระดับคะแนน 3
พึงพอใจระดับน้อย ให้ค่าระดับคะแนน 2
พึงพอใจระดับน้อยที่สุด ให้ค่าระดับคะแนน 1
เกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ยแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมีดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.51 5.00 หมายถึง ระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51 4.50 หมายถึง ระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51 3.50 หมายถึง ระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51 2.50 หมายถึง ระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 150 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด
3.3 นำแบบสอบถามความพึงพอใจในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค KWL Plus ที่ไปใช้ทดลองจริงกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย