บทคัดย่อ
เรื่อง การประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ปีการศึกษา 2565
หน่วยงาน โรงเรียนโพธิสารพิทยากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา 2565
การประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียน โพธิสารพิทยากร ปีการศึกษา 2565 ใช้รูปแบบ CIPP Model มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทและสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียน โพธิสารพิทยากร 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนโพธิสารพิทยากร 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนโพธิสารพิทยากร 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนโพธิสารพิทยากร 5)เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนโพธิสารพิทยากร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 789 คน ประกอบด้วย ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนโพธิสารพิทยากร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 98 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 339 คน และผู้ปกครองนักเรียนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 339 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น 6 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมก่อนการดำเนินงานโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับความเหมาะสมปัจจัยนำเข้าก่อนการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการระดมทรัพยากร 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถึงคุณภาพ การบริหารจัดการสถานศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป ของโรงเรียนโพธิสารพิทยากร ปีการศึกษา 2565 และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีผลต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for window ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1.ผลการประเมินบริบทและสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมินเป็นครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงาน และความเป็นไปได้ของโครงการ ผลการประเมินของทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.08, S.D. = 0.62 มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นรายข้อระหว่าง 3.97 - 4.22 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.03, S.D. = 0.60 มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นรายข้อระหว่าง 3.88 4.18
2.ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมินเป็นครู มีความคิดเห็นต่อด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.93 S.D. = 0.44) ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมของบุคลากร ด้านความเพียงพอของงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ด้านการบริหารจัดการและ ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพร้อมของบุคลากร ( = 4.03 S.D. = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ทุกข้อ มีค่าเฉลี่ยทุกรายการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นระหว่าง 3.63 - 4.23 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 3.84, S.D. = 0.39
3.ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการ ผู้ตอบแบบประเมินเป็นครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการตามการบริหารงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบและติดตาม และการปรับปรุงอย่างเหมาะสม ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 กระบวนการ ผลการประเมินของทั้งสามกลุ่มอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 3.64, S.D. = 0.43 ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นรายข้อระหว่าง 3.57 3.98 ความคิดเห็นของผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 3.63, S.D. = 0.41 ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นรายข้อระหว่าง 3.49 3.87 และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ความเหมาะสมเท่ากับ 3.84, S.D. = 0.39 มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นระหว่าง 3.77 3.96
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนโพธิสารพิทยากร ปีการศึกษา 2565 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคคล ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือ และสนับสนุนการจัดการศึกษาจำนวน 34 รายการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2) ด้านงบประมาณ ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง จำนวน 15 รายการ คิดเป็นเงิน 7,510,036 บาท ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง จำนวน 12 รายการ คิดเป็นมูลค่า 3,111,637 บาท ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4) ด้านการบริหารจัดการ สามารถระดมทรัพยากรด้านการบริหารจัดการโดยการเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ในการบริหารจัดการสถานศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ของโรงเรียนปีการศึกษา 2565 อย่างต่อเนื่อง ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโครงการทั้ง 4 ด้าน ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้ง สามกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.77, S.D. = 0.38) รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 3.71, S.D. = 0.39) ส่วนผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.55, S.D. = 0.38) ทั้งสามกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสามกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.04, S.D. = 0.37) รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, S.D. = 0.39) ส่วนผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.27, S.D. = 0.37)
4.4 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน พบว่า ทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้คะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 90.80 รองลงมาคือมาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน และมาตรฐานที่ 2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ได้คะแนนเฉลี่ย 87.59 และ 87.03 ตามลำดับ ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการทั้ง 4 กลุ่ม ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความพึงพอใจในระดับมาก ( = 3.97, S.D. = 0.36) รองลงมาได้แก่ ครู มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.94, S.D. = 0.39) ส่วนนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.80, S.D. = 0.36) และผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.64, S.D. = 0.37) ทุกกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด