TAMD Model (ธรรมดีโมเดล) จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Quality Child : QC) ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
โดยมีจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรมแยกแยะสิ่งที่ผิด ชอบ ชั่ว ดี ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม รู้จักปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการตามรูปแบบของโรงเรียนสุจริต คือ มีทักษะการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ
เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นมืออาชีพ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม ช่วยกันสร้างคนดีให้กับบ้านเมือง
เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและส่งเสริมให้นักเรียนสร้างเครือข่ายคุณธรรมนำชีวิตในชุมชน เป็นรากฐานที่มั่นคงให้กับสังคมต่อไป
เป้าหมาย
1 ด้านปริมาณ
- นักเรียนร้อยละ 85 มีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณธรรมเป้าหมาย
- บุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 90 เป็นที่ปรึกษานักเรียนในการดำเนินโครงงานคุณธรรมระดับห้องเรียน/ระดับโรงเรียน
- โรงเรียนมีผลงานด้านคุณธรรมจริยธรรมเป็นที่ยอมรับเชิงประจักษ์อย่างน้อยจำนวน 1 ผลงาน
- โรงเรียนมีภาคีเครือข่ายในการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอย่างน้อย 1 เครือข่าย
2 ด้านคุณภาพ
- นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณธรรมเป้าหมาย และเกิดเป็นพฤติกรรมเชิงบวกที่คงทน เป็นคนดีของบ้านเมืองต่อไป
- บุคลากรในสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชน ชุมชนมีความพึงพอใจ และให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
TAMD Model (ธรรมดีโมเดล) เป็นนวัตกรรมที่นำหลักการทำงานตามแนวคิดของการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole school approach) และคุณธรรมหลักของโรงเรียนสุจริต 5 ประการ คือ มีทักษะการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ ที่โรงเรียนสวนป่าแม่กะสีได้เข้าร่วมโครงการจนได้รับเลือกให้เป็นต้นแบบโรงเรียนสุจริต นำมาร่วมวิเคราะห์สภาพปัญญาที่มีอยู่ นำมาสร้างเป็นตัวต้นแบบของนวัตกรรมโดยพัฒนาด้วยวงจรการควบคุมคุณภาพ The Deming Cycle หรือวงล้อ PDCA โดยใช้การปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน จากการบอกสอนท่องจำ เป็นการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ให้ได้รับประสบการจริง เน้นการสร้างวินัยเชิงบวก มีทัศนคติที่ดีในการเปลี่ยนแปลง ยกย่องสรรเสริญผู้ที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง และตักเตือนอย่างกัลยณมิตร ยึดมั่นในคุณธรรม โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ช่วยในการทำความเข้าใจ และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพของนักเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน ทำให้นักเรียนที่เป็นผลผลิตหลัก เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถตามศักยภาพของตนเอง และมีความสุข เป็นรูปแบบการส่งเสริมที่มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ภายใต้การบริหารให้ฐานะโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School Learning Community : SLC)