บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า
(ภูลังกาอนุสรณ์)
ผู้ประเมิน ชญานิศา ปิงสุแสน
ปีที่ทำการประเมิน : ปีการศึกษา 2565
การประเมินโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ด้านบริบท (Context Evaluation) ๒) เพื่อประเมินโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) 5) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและบุคลากร ต่อการดำเนินงานโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) 6) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินงานประเมินโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ๗) เพื่อสำรวจความความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) อำเภอปง จังหวัดพะเยา จำนวน 400 คน ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-๓ โรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ปีการศึกษา ๒๕65 จำนวน 364 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๒ คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คนครูและบุคลากร จำนวน 19 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1๕ คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 114 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-๓ โรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ปีการศึกษา ๒๕65 จำนวน 81 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา (ทั้งนี้ ไม่รวมรองผู้อำนวยการสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้ประเมินโครงการ) ครูและบุคลากร จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1๓ คน (ทั้งนี้ไม่รวมผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครู)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลก่อนการดำเนินโครงการ ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลระหว่างดำเนินโครงการ ระยะที่ 3 การเก็บข้อมูลหลังเสร็จสิ้นโครงการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย จากข้อค้นพบ วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 71.05 ผู้บริหาร ครูและบุคลากร จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 17.55 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 11.40 รวมทั้งสิ้น 114 คน คิดเป็นร้อยละ 100
2. ผลการประเมินด้านบริบทโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการและเหตุผลที่สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูบุคลากร และนักเรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมในโครงการ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ตัวชี้วัดความสําเร็จสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยข้อ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สถานที่สําหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ รองลงมา คือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอในการดำเนินโครงการ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนมีความพร้อมในด้านของ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของโครงการมีวิธีการที่หลากหลาย รองลงมา คือ กิจกรรมต่างๆของโครงการกําหนดระยะเวลาและเลือกสถานที่ในการดําเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เกี่ยวข้องโครงการมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนนำองค์ความรู้จากกิจกรรมในโครงการเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา คือ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนแสดงออกถึงการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. ผลประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และบุคลากรที่มีต่อโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์จากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆทั้งหมด 6 กิจกรรม ของโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา คือ นักเรียนมีกระบวนการคิดและกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และข้อที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนมีสื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับการดำเนินโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง
7. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจ
พอเพียงโรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนมีความสุข สนุกสนานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา คือ นักเรียนได้รับความช่วยเหลือจากครูผู้สอนหรือครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมเมื่อไม่เข้าใจในการทำกิจกรรมทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนสามารถทำงาน ดำเนินกิจกรรมต่างๆของโครงการร่วมกับเพื่อนในห้องได้เป็นอย่างดี
8. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการสานต่อรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า (ภูลังกาอนุสรณ์) ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ คือ โรงเรียนสนับสนุนการจัดกิจกรรมโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีทักษะอาชีพตามความเหมาะสม รองลงมา คือนักเรียนมีพัฒนาการทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆตามช่วงวัยได้ดีขึ้น เช่น ด้านการกระบวนการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านภาวะความเป็นผู้นำ ความสามัคคี และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือผลการจัดกิจกรรมตามโครงการเป็นที่น่าพึงพอใจโดยมีการชี้แจงในวาระการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ