วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ระดับปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
เรื่อง การพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยด้วยด้วยดนตรีตามรูปแบบ TFIVE+M Model ชั้นอนุบาล ๓/๒
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน โดยเฉพาะด้านอารณ์ จิตใจ และด้านสังคม นักเรียนกล้าแสดงออกประชากร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย นักเรียน จำนวน ๒๗ คน ครูระดับอนุบาล จำนวน ๖ คน ผู้ปกครอง จำนวน ๒๗ คน
กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การออกแบบผลงานนวัตกรรมหรือแนวปฏิบัติ (F = Focus) โดยวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ศึกษาหลักการ จุดมุ่งหมาย คุณลักษณะตามวัย และโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ วิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๖๐ สอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง และความต้องการของผู้ปกครอง ศึกษาแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และนำผลการประเมินพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน มาวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางการพัฒนา รวมถึงกำหนดเนื้อหา กิจกรรมด้านภาษาต่างประเทศ และวิทยาศาสตร์ คุณธรรมจริยธรรม และกล้าแสดงออกและร่วมกันตรวจสอบความครบถ้วน สมบูรณ์ของเนื้อหา และออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินผล แล้วนำมาออกแบบโมเดลและรูปแบบการนิเทศติดตาม
การดำเนินงานตามกิจกรรม (I = Integration , V = Variety, E = Evaluation, T = Team M =Music) ได้ดำเนินงานตามกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบ T FIVE Model ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (Deming Cycle หรือ PDCA) คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย ๑. ขั้นวางแผน ศึกษาหลักการ จุดมุ่งหมาย คุณลักษณะตามวัย และโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพื่อให้ทราบเนื้อหาการจัดประสบการณ์ วัสดุ อุปกรณ์ จัดทำแผน การจัดประสบการณ์ วิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ๒. ขั้นดำเนินการ กำหนดชั่วโมง/ค่าน้ำหนัก ของกิจกรรมและความเหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยดำหนดให้เรียนดนตรี สัปดาห์ละ ๓ ชั่วโมง บูรณาการกับการเรียนการสอน ตลอดถึงกำหนดทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ ๓. การตรวจสอบประเมินผล จากการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์ กำหนดการนิเทศ ติดตาม เดือนละ ๑ ครั้ง และรายงานให้ผู้ปกครองทราบเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนา ๔. ขั้นปรับปรุงและพัฒนา นำผลที่ได้มาสรุป และถอดบทเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาครั้งต่อไป ในการดำเนินงานทุกขั้นตอนเน้นกระบวนการทำงานเป็นทีม และเป็นระบบตามวงจรคุณภาพ (PDCA)
ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
พัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ และด้านสังคม มีค่าเฉลี่ย 98.10, 98.28 ตามลำดับ นักเรียนกล้าแสดงออก มีค่าเฉลี่ย 99.50 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย 100.00