การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2565 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 819 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 78 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 363 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 363 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 452 คน ประกอบด้วยครูผู้สอน จำนวน 66 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 186 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 186 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชาการตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับและแบบสังเกต จำนวน 8 ฉบับ รวมทั้งหมดจำนวน 14 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบสังเกตโดยใช้สูตรของครอนบาร์ค
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1.ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
1.3 ระดับความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
1.4 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด
2.2 ระดับความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ งบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2.3 ระดับความสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
2.4 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด
3.ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ระดับการวางแผน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ระดับการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.3 ระดับการนิเทศ ติดตามและประเมินผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.4 ระดับการนำผลการประเมินไปปรับปรุง พัฒนา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 11 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 นักเรียนมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.2 นักเรียนมีความซื่อสัตย์ สุจริต พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความ ซื่อสัตย์ สุจริตเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.3 นักเรียนมีวินัย พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีมีวินัยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.4 นักเรียนใฝ่เรียนรู้ พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนใฝ่เรียนรู้เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.5 นักเรียนอยู่อย่างพอเพียง พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนอยู่อย่างพอเพียงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.6 นักเรียนมุ่งมั่นในการทำงาน พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีมุ่งมั่นในการทำงานเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.7 นักเรียนรักความเป็นไทย พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนรักความเป็นไทยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.8 นักเรียนมีจิตสาธารณะ พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.9 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด
4.10 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.11 ระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด