ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านท่าเกวียน ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)
ผู้ศึกษา นางจิรฐา หาญประสพ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าเกวียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่าเกวียน ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ปีการศึกษา 2565 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านท่าเกวียน ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 938 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 28 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเกวียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 448 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเกวียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 448 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 454 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเกวียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 206 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเกวียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 206 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejecie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ รวม จำนวน 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรของครอนบาร์ค
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
2.3 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า การติดตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีกระบวนการวิธีการและเครื่องมือที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.2 นักเรียนเป็นคนดีมีความสุข มีความสามารถทางสติปัญญาเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.3 ส่งเสริมครู ผู้ปกครอง ให้มีศักยภาพในการร่วมกันดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่าง เป็นระบบ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.4 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.5 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.6 ระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่าความพึงพอใจของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด