BDK VOLUNTEER MODEL หนูน้อยจิตอาสา ตระหนักค่าพลเมืองดี
ขั้นตอนการดำเนินงาน
โรงเรียนบริหารจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติให้มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม โดยใช้นวัตกรรม BDK VOLUNTEER MODELหนูน้อยจิตอาสา ตระหนักค่าพลเมืองดี ตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.ขั้น Plan นำโมเดลขั้น B (Bandinkong’ s problem condition) มาใช้กล่าวคือ การศึกษาสภาพปัญหา บริบท ของโรงเรียนในปัจจุบัน โดยการ SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่เป็นปัญหา จากนั้นวางแผนการขับเคลื่อนและสร้างโมเดลการขับเคลื่อน เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยยึดหลักความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของโรงเรียน และอิงบริบทของโรงเรียนตามสภาพจริง
2.ขั้น Do นำโมเดลขั้น D : Develop together มาใช้กล่าวคือ การพัฒนาร่วมกันทุกภาคส่วนตามกิจกรรมของโมเดล VOLUNTEER : หนูน้อยจิตอาสา ตระหนักค่าแห่งความดี ดังนี้
V : Vission (วิสัยทัศน์) สร้างความตระหนักรู้ถึงวิสัยทัศน์ของโรงเรียนแก่ทุกภาคส่วน เพื่อให้ทราบถึงจุดเน้น และการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี มีจิตอาสาด้วยหัวใจ โดยการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากร พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้แก่นักเรียนเพื่อให้ทราบว่าจิตอาสาคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ในคาบกิจกรรมเวทีคนเก่ง
O : Organization (การจัดการอย่างเป็นระบบ) การจัดการอย่างเป็นระบบทุกภาคส่วนเพื่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลวัง โรงเรียน ชุมชน ในการดำเนินงานมีการกำหนดหน้าที่มอบหมายงานอย่างชัดเจน
L : Learning by doing (เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง) นักเรียนได้เรียนรู้การมีจิตอาสาผ่านการลงมือปฏิบัติจริงทุกกิจกรรม โดยโรงเรียนสำรวจความต้องการในการทำกิจกรรมจิตอาสาของนักเรียน แล้วให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม รวมถึงการลงมือปฏิบัติจริงผ่านเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน โดยสามารถจำแนกกิจกรรมจิตอาสาได้ดังนี้
-จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในโรงเรียนและชุมชน ได้แก่ กลุ่มงานจิตอาสาที่มีการดูแลรักษา ความสะอาดเรียบร้อยของโรงเรียน ศาสนสถาน หรือสถานที่สาธารณะ ได้แก่ ชุมชนบ้านดินก้อง ชายหาดสมบูรณ์ นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมหนูน้อยอนุรักษ์สวนป่าพัฒนาสวนป่าของโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ การเก็บขยะในชุมชน การทำความสะอาดวัดก่อนวันสำคัญทางศาสนา การเก็บขยะริมชายหาด การคัดแยกขยะต้นทาง การปล่อยลูกปูม้ากลับคืนสู่ธรรมชาติ การปลูกป่าทดแทน ณ หาดสมบูรณ์ โดยได้รับความร่วมมือจาก อบต.วัง
-จิตอาสากิจกรรมนักเรียน ได้แก่ กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนในการจัดงานหรือกิจกรรมของโรงเรียน เช่น การปฏิบัติหน้าที่เป็นพิธีกรในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ในโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน กิจกรรมทาสีในโรงเรียน แกนนำต้านยาเสพติดกับครูตำรวจแดร์ เป็นต้น
-จิตอาสาฝ่ายแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ กลุ่มงานจิตอาสาที่อำนวยความสะดวกด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
-จิตอาสาฝ่ายประชาสัมพันธ์ ได้แก่ กลุ่มงานจิตอาสาที่ช่วยงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน เช่น กิจกรรมภาษาไทยภาษาอังกฤษวันละคำ กิจกรรม อย.น้อย
-จิตอาสาฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร ได้แก่ กลุ่มงานจิตอาสาที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสัญจรของผู้ปกครองที่มารับนักเรียนตอนเลิกเรียน การช่วยดูแลนักเรียนข้ามถนนเพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษา
-จิตอาสาฝ่ายวิชาการนักเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลด้านความรู้ทางวิชาการแก่รุ่นน้อง เพื่อน ๆ เช่น การสอนน้องอ่านหนังสือในกิจกรรมพี่น้องยอดนักอ่าน การช่วยน้องฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษในกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเล่านิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน เป็นต้น
U : Useful (เป็นประโยชน์) ดำเนินการปลูกฝังการมีจิตอาสา คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน และการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการมีจิตอาสาให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่พลเมืองดี เน้นย้ำให้นักเรียนได้เห็นถึงคุณค่าของตนเองว่าสามารถสร้างประโยชน์ต่อคนรอบข้าง ชุมชน สังคมได้เป็นอย่างมาก เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ควรกระทำ
N : New innovation (นวัตกรรมใหม่) ส่งเสริมให้นักเรียนคิดนวัตกรรมใหม่หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้สร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมในรูปแบบใดก็ได้อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ผลงาน ในกิจกรรมนวัตกรรมสร้างสรรค์ประจำชั้น ซึ่งได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น นิทานส่งเสริมการอ่าน นิทานชนิดของคำ นวัตกรรมด้านการเขียนย่อความ ของนักเรียนชั้น ป.6
T : Teamwork (การทำงานเป็นทีม) ทุกภาคส่วนมีความสามัคคีในการดำเนินการ ทำงานเป็นทีม โดยผู้บริหารกระจายอำนาจให้ครูบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน มีบรรยากาศการทำงานแบบกัลยาณมิตรเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
E : Experience (ประสบการณ์) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การมีจิตอาสา เชิญผู้มีประสบการณ์ด้านจิตอาสามาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่นักเรียน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนสามารถนำไปต่อยอดได้ในการทำสิ่งที่ดีเพื่อส่วนรวม
E : Evaluation (การประเมินผล) นักเรียนประเมินตนเองก่อนจบปีการศึกษา เพื่อสะท้อนความรู้สึก ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติกิจกรรมด้านจิตอาสาเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
R : Reinforcement (การเสริมแรง) and Report (รายงาน) คุณครูให้การเสริมแรงเชิงบวกนักเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น คำชม การมอบเกียรติบัตร “หนูน้อยจิตอาสาตระหนักค่าแห่งความดี” ในแต่ละปีการศึกษาเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการมีจิตอาสา และการเป็นพลเมืองดี จากนั้นประชาสัมพันธ์รายงานผลผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การประชุมผู้ปกครอง การประชาสัมพันธ์ทางเพจโรงเรียนบ้านดินก้อง เป็นต้น
3.ขั้น Check วัดและประเมินผลการดำเนินงานตามสภาพจริง โดยคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน นำโดยนายชนะ พรหมม่วง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดินก้อง และคณะนิเทศ ตรวจสอบจากการรายงานผลการดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ
4.ขั้น Action โดยนำโมเดลขั้น K : Knowledge Development (การพัฒนาความรู้ใหม่) มาใช้กล่าวคือ การนำผลการประเมินมาวิเคราะห์และสะท้อนผลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาองค์ความรู้การดำเนินการให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ได้คำนึงถึงส่วนที่เป็นไปตามแผนและไม่เป็นไปตามแผน ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ หรือไม่สำเร็จ หากพบปัญหาอุปสรรคก็ปรับปรุงขั้นตอนการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์อีกครั้ง ถ้าหากไม่พบแสดงว่าการดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่และขยายผลเพื่อพัฒนาสู่ความมีคุณภาพที่ยั่งยืนต่อไป ในขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข โรงเรียนบ้านดินก้องได้ดำเนินการจัดประชุมครูและบุคลากรเป็นประจำทุกเดือน เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสะท้อนปัญหาหลังการปฏิบัติงานทั้งปัญหาที่เกิดขึ้น