รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลด้วยกระบวนการสภานักเรียน โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต ปีการศึกษา 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลด้วยกระบวนการสภานักเรียน โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต ปีการศึกษา 2565 โดยใช้รูปแบบการประเมิน (CIPP MODEL) ในด้าน 4 ด้าน ต่อไปนี้ (1) การประเมินด้านบริบท (2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (3) การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (4) การประเมินด้านผลผลิต และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีผลต่อรายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลด้วยกระบวนการสภานักเรียน โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต ปีการศึกษา 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 82 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครอง จำนวน 280 คน และนักเรียน จำนวน 280 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 656 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณขนาดของเครจซี่และมอร์แกน และวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likerts Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนทั้งหมด 656 คน โดยเป็นเพศชายและเพศหญิง จำนวนเท่ากัน คือ เป็นเพศชาย จำนวน 328 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 และเพศหญิง จำนวน 328 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน มีจำนวนเท่ากันคือ 280 คน คิดเป็นร้อยละ 42.65 รองลงมาเป็นครู จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 2.00 และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.20 ตามลำดับ
ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลด้วยกระบวนการสภานักเรียน โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ มี 2 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) อยู่ในระดับมาก และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านบริบท (Context Evaluation) อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินแยกเป็นรายด้าน ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายหัวข้อ พบว่า หัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ อยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายหัวข้อ พบว่า หัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปัญญาธรรม อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ สามัคคีธรรม อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คารวธรรม อยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายหัวข้อ พบว่า หัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ การดำเนินการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายหัวข้อ พบว่า หัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มี 2 หัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ตระหนักและเห็นความสำคัญ อยู่ในระดับมาก และการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ความรู้และความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมประชาธิปไตย อยู่ในระดับมาก
ผู้ปกครองและนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลด้วยกระบวนการสภานักเรียน โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมสภานักเรียนสามารถส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของระบบประชาธิปไตย อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมสภานักเรียนทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ อยู่ในระดับมากที่สุด มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้อย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมสภานักเรียนทำให้นักเรียนเกิดจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการระบบประชาธิปไตยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมสภานักเรียนทำให้นักเรียนกล้าแสดงออกในทางที่เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมาก นักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ในระดับมาก ครู นักเรียน และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการสภานักเรียน อยู่ในระดับมาก