เรื่องการพัฒนากล้ามเนื้อมือด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
๑. ที่มาและความสำคัญ
จากประสบการณ์ที่สอนชั้นอนุบาลปีที่ 3 พัฒนาการด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็กกล้ามเนื้อมือนิ้วมือของนักเรียนยังไม่แข็งแรงและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาของนักเรียนยังไม่ดีเท่าที่ควรจึงได้จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้พัฒนากล้ามเนื้อมือด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
กำลังสำคัญของชาติในอนาคตเด็กในวัยนี้เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นของชีวิตเป็นวัยแห่งการพัฒนาตนเองเป็นวัยแห่งการรับรู้และเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพและความสามารถในวัยต่อมานอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าวัยอื่น ๆ ดังนั้นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จึงต้องพัฒนาเด็กให้ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง4ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคมและสติปัญญาซึ่งเป็นการพัฒนาให้เด็กเป็นคนดีคนเก่งมีความสุข
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันโดยกล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นอวัยวะหนึ่งในการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเช่นการใส่-ถอดกระดุมรูดซิปการแปรงฟันผูกเชือกรองเท้างานศิลปะรวมทั้งการขีดเขียนถ้าเด็กใช้กล้ามเนื้อเล็กได้คล่องแคล่วจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ และการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยควรส่งเสริมให้ใช้กล้ามเนื้อสายตาร่วมกับมือเพราะการประสานงานของกล้ามเนื้อเล็กของเด็กยังไม่พร้อมเท่าที่ควร การเล่นและการจัดกิจกรรมศิลปะต่างๆจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความพร้อมทางมือและตามากที่สุดเด็กจะเรียนรู้อย่างสนุกสนานเด็ก
พัฒนาการทางร่างกายว่าการของเด็กจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมด้านต่างๆสําหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึงการที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำกับวัสดุเช่นการเล่นลูกบอลการขีดเขียนเด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกันลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหวการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อการพัฒนาความสามารถในกาควบคุมร่างกายการบังคับส่วนต่างๆของร่างกาย
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เหมาะสมต่อความสนใจความสามารถและสอดคล้องกับหลักพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างยิ่งกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ไม่เพียงส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาและการผ่อนคลายความคลายเครียดทางอารมณ์เท่านั้นแต่ยังส่งเสริมความคิดอิสระและจินตนาการฝึกให้รู้จักทำงานด้วยตนเองและฝึกการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ทั้งความคิดและการกระทำซึ่งถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะนำไปสู่การเรียนอ่านเขียนอย่างสร้างสรรค์ต่อไปมีสมาธิ
จากการสังเกตกล้ามเนื้อมือของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๓ พบว่ากล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรงจึงเห็นควรส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อมือให้มีประสิทธิภาพสมวัยมากขึ้น
๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๑. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยให้มีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง
๒. เพื่อให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และฝึกสมาธิให้แก่เด็กปฐมวัยเป้าหมายเชิงปริมาณเด็กปฐมวัยจำนวน ๑๐ คน
๓. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน