ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน
ผู้วิจัย นางณัฏฐาดารุณี ศรีเคน
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด
ปีการศึกษา 2565
หน่วยงานต้นสังกัด กองการศึกษา สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพบริบทการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ระยะที่ 3 ดำเนินงานตามรูปแบบบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินงานการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของโรงเรียนเทศบาลบ้านแมด ปีการศึกษา 2565 รวมจำนวน 90 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง จำนวน 24 คน นักเรียน จำนวน 24 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเรียนรู้ จำนวน 30 คน และผู้ทรงเชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสำรวจสภาพบริบทที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียนเป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist) ฉบับที่ 2 แบบประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชาทักษะชีวิต ฉบับที่ 3 แบบตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ฉบับที่ 4 แบบประเมินทักษะชีวิตของผู้เรียน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ฉบับที่ 6 แบบยืนยันประสิทธิผลของการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณา
ผลการวิจัย พบว่า
1.สภาพบริบทที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ประกอบด้วยทิศทางการจัดการศึกษาของต้นสังกัด แนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และสภาพบริบทของชุมชน
2.ผลการพัฒนารูปแบบ ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบ มีโครงสร้าง 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการ (Principle) ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ (Objective) ส่วนที่ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักสูตรสถานศึกษา ( Curriculum- C) 2) ฐานการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและชุมชน ( Learning Resource- L) 3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ( Project base learning Management-P) 4) เครือข่ายความร่วมมือ ( Co-operation Network) ส่วนที่ 4 ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ (procedures and methods of operation) ได้แก่ 4.1 การพัฒนาครูเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 4.2 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 4.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 4.4 การนิเทศการจัดการเรียนรู้ 4.5 การประเมินทักษะชีวิตของผู้เรียน 4.6 การเผยแพร่ผลการดำเนินงานตามรูปแบบ ส่วนที่ 5 การประเมินผล ดังนี้ 5.1 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5.2 การยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบ
2.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ผลการดำเนินงานตามรูปแบบ ดังนี้
3.1 ผู้เรียนมีทักษะชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม
3.2 ผลการเรียนรายวิชาทักษะชีวิต โดยรวม เฉลี่ย อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม (ร้อยละ87.21)
3.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการใช้รูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
3.4 ผลการยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : 1.รูปแบบ 2.ทักษะชีวิต 3.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 4. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง