ชื่อเรื่อง ประเมินโครงการงานกลุ่มเกษตรกรในโรงเรียนบ้านคลองเรือ
ชื่อผู้วิจัย นายประจักสิน บึงมุม
ปีที่วิจัย ปี พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนบ้านคลองเรือ
ตามรูปแบบ CIPPiest โดย 1) ประเมินผลใน 8 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายทอดความรู้ส่งต่อของโครงการ และ 2) หาแนวทางพัฒนาโครงการงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน เพื่อต่อยอดการพัฒนา
สู่ความยั่งยืน ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 43 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้
เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ในแต่ละด้านของรูปแบบ CIPPiest และเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินก่อนเริ่มดำเนินโครงการ โดยใช้แบบสอบถามฉบับที่ 1 ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นผู้ให้ข้อมูล ระยะที่ 2 ประเมินระหว่างดำเนินโครงการใช้แบบสอบถามฉบับที่ 2 ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาและนักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล ระยะที่ 3 ประเมินหลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการใช้แบบสอบถามฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและ ผู้ปกครองนักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล แล้วนำผลการประเมินโครงการจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (%) การหาค่าเฉลี่ย () การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
โครงการงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน โรงเรียนบ้านคลองเรือ พบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยเรียงลำดับตามค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบริบท ด้านความยั่งยืน ด้านประสิทธิผล ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ด้านผลผลิต
ด้านผลกระทบ ด้านกระบวนการและด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ และแนวทางการพัฒนาโครงการ
มีผลดังนี้
1.ผลการประเมินโครงการในแต่ละด้าน
1) ด้านบริบท โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ (= 5.00)
2) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ (= 4.61)
3) ด้านกระบวนการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมของนักเรียน (= 4.50)
4) ด้านผลผลิต โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ปริมาณของกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนา (= 5.00)
5) ด้านผลกระทบ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การยอมรับและเชื่อมั่นในโครงการ (=4.65)
6) ด้านประสิทธิผล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความมีคุณค่าในการพัฒนานักเรียนสู่อาชีพเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (=5.00)
7) ด้านความยั่งยืน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การยกระดับคุณภาพการดำเนินงาน (=4.95)
8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การขยายผลการดำเนินการของโครงการ (=4.80)
2. แนวทางพัฒนาโครงการงานกลุ่มบุวเกษตรกรในโรงเรียนบ้านคลองเรือ สรุปได้ว่า
1) โครงการ มีผลการประเมินที่มีความเหมาะสม สะท้อนภาพที่ครอบคลุมการวางแผน
การดำเนินการชัดเจน ลดความเสี่ยง มีผลผลิตตามเป้าหมายได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งผลกระทบการสร้างงานจากแนวคิดหลักการสู่ผลงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี
2) ผลการประเมินโครงการ มีความเหมาะสม สอดคล้องและเป็นประโยชน์ ในด้านสารสนเทศเทศ
ที่รอบด้านในการกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพให้เป็นโครงการต้นแบบที่ดี ตามเป้าหมายของการสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและสืบทอดให้ยั่งยืนในอาชีพการเกษตร ฉบับกิจกรรมในสถานศึกษา
3) แนวทางการพัฒนาโครงการควรดำเนินใน 3 แนวทาง คือ 1) แนวทางการดำเนินโครงการในการเร่งรัดเพื่อให้การดำเนินมีสภาพที่คล่อง เช่น การเร่งรัดการดำเนินการด้านปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมด้วยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย การระดมทรัพยากร 2) แนวทางการดำเนินโครงการในการพัฒนาเพื่อการเพิ่มคุณค่า พัฒนาทักษะ ปลูกจิตสำนึกรักอาชีพการเกษตรตามแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานผ่านงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน 3) แนวทางการดำเนินโครงการเชิงรุก ด้วยการยกระดับคุณภาพกิจกรรมที่มีผลสำเร็จสูงให้เกิดผลที่สูงขึ้น มีความสมบูรณ์
และครบวงจรในการดำเนินการ เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี