ชื่อเรื่อง : รูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง
ชื่อผู้วิจัย : สุทธิพล พลศรีพิมพ์
ปีการศึกษา : 2565-2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการ ขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของ วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนา คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ การขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของ วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวงโดยมีวิธีการ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวงโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนา คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวงเก็บรวบรวมข้อมูลโดย การศึกษาแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาการประกันคุณภาพภายใน จำนวน 2 สถานศึกษาสถานศึกษาละ 3 คน รวมจำนวน 6 คน วิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของสถานศึกษา และจัดทำร่างรูปแบบโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบ จำนวน 20 คน ตรวจสอบร่างรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนา คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง ด้วยโครงการและกิจกรรมทดลองใช้รูปแบบขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทดลองใช้รูปแบบจำนวน 43 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง พบว่าปัญหาด้านการพัฒนาคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากด้านการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมากด้านการประเมินคุณภาพภายในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการสร้างรูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง ประกอบด้วย 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ทักษะและการประยุกต์ใช้ 2) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการและชุมชนในการสนับสนุนทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ 3) พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียน 4) ยกระดับการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 5) พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวงโดยมีโครงการทดลองใช้ 5 รูปแบบ จำนวน 10 โครงการ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกโครงการ
4. ผลการประเมินผลรูปแบบการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง พบว่า
4.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพชุมพวง ภายหลังทดลองใช้รูปแบบ ปีการศึกษา 2566 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าปีการศึกษา 2565
4.2 รางวัลที่ผู้เรียนครูผู้สอนผู้บริหารสถานศึกษาและสถานศึกษาได้รับหลังการทดลองใช้รูปแบบรวมทั้งสิ้น 13 รางวัล ผ่านเกณฑ์ที่ตัวชี้วัดรูปแบบกำหนดไว้ 4 รางวัลขึ้นไป
4.3 ผลการประเมินตนเองของผู้เรียนที่ร่วมกิจกรรมที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบใน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4.4 ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานตามโครงการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : รูปแบบ / ระบบประกันคุณภาพภายใน / คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา