งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง
การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ และสมาธิ
โดยใช้โยคะสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย
นางสาวธันยพัฒ เมาจา ตำแหน่ง ครู
ระดับปฐมวัย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองคอกหมู
สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลตาขัน
อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ และสมาธิ โดยใช้โยคะสำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย นางสาวธันยพัฒ เมาจา
ความสำคัญและที่มา
ปัจจุบันโยคะกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทุกๆ วัน ผู้คนทุกเพศ ทุกวัย จากทั่วทุกมุมโลกหันมาฝึกโยคะกันมากขึ้น ไม่ใช่แค่วัยทำงานเท่านั้นที่เล่นโยคะได้ แต่วัยเด็ก ก็มีและที่สำคัญยังช่วยเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจได้ การฝึกโยคะในเด็กนั้น สามารถเริ่มฝึกได้ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เด็กพร้อมจะรับฟังคำสั่งได้ โดยประโยชน์ของการฝึกโยคะนั้นสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กได้ทั้งทางด้านร่างกายและด้านจิตใจการฝึกโยคะยังช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกการควบคุมสติอารมณ์ ควบคุมความรู้สึกของตนเอง เพิ่มสมาธิ คลายความเครียด และยังให้ประโยชน์ในด้านสุขภาพจิตอีกมากมาย การฝึกโยคะยังช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะฟังและเชื่อมต่อกับร่างกายหรือจิตใจของตัวเอง ทำให้พวกเขามีความรู้สึกที่มั่นใจมากขึ้นมื่อฝึกโยคะ เด็กๆ ไม่เพียงแต่จะได้เรียนรู้การฝึกหายใจที่เหมาะสมแล้ว ยังได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการหายใจต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ผู้วิจัยเห็นถึงประโยชน์จากการฝึกโยคะสำหรับเด็กเล็ก จึงได้จัดทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นส่งเสริมการเรียนรู้การมีสติอยู่กับลมหายใจ ให้เด็กเป็นคนที่มีสติ และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อให้เด็กเล็กมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้กล้ามเนื้อแขน ขา มือ เท้า ลำตัว มีประสิทธิภาพขึ้น ช่วยให้การเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน ทรงตัวดี
2.เพื่อให้เด็กเล็กไม่ป่วยง่าย เลือดไหลเวียนดี ขับถ่ายสะดวก
3.เพื่อฝึกสมาธิ จิตจดจ่อ และมีสติ
4.เพื่อส่งเสริมจินตนาการให้กับเด็ก
5.เพื่อให้เด็กอารมณ์ดี ร่าเริง ยิ้มแย้ม แจ่มใส ร่าเริง มั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น โยคะขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
2. ตัวแปรตาม พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจและสมาธิ
กรอบแนวคิดการวิจัย
การปฏิบัติโยคะขั้นพื้นฐาน พัฒนาการทางด้านร่างกาย
อารมณ์-จิตใจและสมาธิ