ชื่อเรื่องการวิจัย : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ทำวิจัย : นางสาวศศิมา อินทะสร้อย
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาวิจัย
จากผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 5 (ว23101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562-2564 โรงเรียนเวียงนครวิทยาคม พบว่า นักเรียนขาดความสนใจในการเรียนรู้ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ โดยเฉพาะในเรื่อง สมการเคมี และในปีการศึกษา 2563 - 2564 นั้นในบางช่วงเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งเนื้อหา เรื่อง สมการเคมี มีความซับซ้อนและเป็นนามธรรม เพราะเป็นเนื้อหาที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร และการเปลี่ยนแปลงของสารทั้งในระดับอะตอมหรือโมเลกุล ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงยากต่อการทำความเข้าใจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์
ด้วยเหตุนี้ครูผู้สอนจึงนำเอาสื่อสถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) ซึ่งเป็นสื่อที่ทำให้นักเรียนได้เห็นภาพเหตุการณ์ ปรากฏการณ์เสมือนจริงและทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่เน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติและสืบหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อใช้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ รับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง สมการเคมี โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียน
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ขอบเขตการวิจัย
กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเวียงนครวิทยาคม
ตัวแปร :
ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation)
ตัวแปรตาม
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เนื้อหา : สมการเคมี
ระยะเวลา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 คาบเรียน
นิยามศัพท์เฉพาะ : 1. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านทางการใช้สถานการณ์จำลองเชิงปฏิสัมพันธ์ของ PhET เรื่อง สมการเคมี
2. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ หมายถึง ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี ทางด้านวิธีการสอนและกิจกรรม ด้านสื่อการสอน และด้านการวัดและประเมินผล
ประโยชน์ที่ได้รับ : ครูผู้สอนสามารถนำการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) ไปใช้กับเนื้อหาอื่น ๆ ได้
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง : 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ เรื่อง สมการเคมี
2. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
3. สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation)
4. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบการทดลอง : แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง (One-Group Pretest Posttest Design)
กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเวียงนครวิทยาคม โดยเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือการวิจัย : 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3
2. แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน เรื่อง สมการเคมี
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง
(Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี
การเก็บรวบรวมข้อมูล : 1. วัดผลจากแบบทดสอบเรื่อง สมการเคมี ก่อนการเรียนด้วยแบบทดสอบที่ ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
2. จัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี
ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยทำการจัดการเรียนการสอน 2 คาบ ขณะจัดการเรียนรู้ผู้วิจัย ได้สังเกตและบันทึกพฤติกรรมของ
นักเรียนตรวจและให้คะแนนการทำกิจกรรมและใบงานต่าง ๆ
3. วัดผลจากแบบทดสอบ เรื่อง สมการเคมี หลังการเรียนด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน
4. สำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง
(Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี
การวิเคราะห์ข้อมูล : การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในรูปค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการวิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent sample t-test
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยทำการวิเคราะห์เป็นรายข้อ และภาพรวมหลังจากนั้นนำค่าเฉลี่ยที่ได้มาแปลความหมายตามเกณฑ์ดังนี้ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ,2534)
ค่าเฉลี่ย 4.50-5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.50-4.49 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 2.50-3.49 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.50-2.49 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 0.50-1.49 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด
สรุปผลการวิจัย : ผลของการวิจัยในครั้งนี้พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเคมี ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเคมี เพิ่มขึ้นพัฒนาจากค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนเท่ากับ 7.80 คะแนน และหลังเรียนเท่ากับ 13.90 คะแนน
2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับใช้สถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) เรื่อง สมการเคมี มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 คิดเป็นร้อยละ 85.00 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก
การสะท้อนผล/ข้อเสนอแนะ : ผู้นำผลวิจัยไปใช้ควรสำรวจความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนของผู้เรียนก่อนการนำวิจัยไปใช้เพราะการสอนโดยสถานการณ์จำลอง (Interactive Simulation) ผู้เรียนจำเป็นต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ ไอแพด/แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์