บทคัดย่อ
รายงานการใช้สื่อการออนไลน์ในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยโลกเสมือนจริง
(Metaverse) Spatial และ live worksheets ในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ด้วยขั้นตอนของโพลยา หน่วย
การเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้ากระแส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียน
ด้วยโลกเสมือนจริง (Metaverse) Spatial และ live worksheets ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)
เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์โดยการเรียนด้วยโลกเสมือนจริง (Metaverse)
Spatial และ live worksheets 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ในการเรียนรู้ด้วย
โลกเสมือนจริง (Metaverse) Spatial และ live worksheets และ4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนด้วยโลกเสมือนจริง (Metaverse) Spatial และ live worksheets
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน ภาคเรียนที่ 2 ปี
การศึกษา 2565 โรงเรียนสองครพิทยาคม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ได้มาโดยการสุ่มแบบเลือกกลุ่ม
(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีเครื่องมือ
5 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ห้องเรียนออนไลน์โลกเสมือนจริง
(Metaverse) Spatial และ live worksheets จำนวน 5 ห้อง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่ง
เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ 4) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง
ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย
การเรียนออนไลน์โลกเสมือนจริง (Metaverse) Spatial และ live worksheets เป็นแบบมาตราส่วนประเมิน
ค่า 5 ระดับจำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ค่าส่วนเบี่ยง
มาตรฐาน (S.D) และ ทดสอบค่าที (t-test for Dependent Sample)
2
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของห้องเรียนออนไลน์โลกเสมือนจริง (Metaverse) Spatial และ live
worksheets ในการแก้โจทย์ปัญหาด้วยขั้นตอนของโพลยา วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 4 เรื่องไฟฟ้ากระแส ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.76/80.36ตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์โลกเสมือนจริง
(Metaverse) Spatial และ live worksheets ในการแก้โจทย์ปัญหาด้วยขั้นตอนของโพลยา ร่วมกับการ
เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 4 เรื่องไฟฟ้ากระแส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยห้องเรียนออนไลน์โลกเสมือนจริง (Metaverse)
Spatial และ live worksheets ในการแก้โจทย์ปัญหาด้วยขั้นตอนของโพลยา ร่วมกับการเรียนรู้แบบสืบ
เสาะหาความรู้ (5E) วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 4 เรื่องไฟฟ้ากระแส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
ที่สุด (X) เท่ากับ 4.7