เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อากาศ รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 รหัสวิชา ว 13101
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านลัดกะสัง) ด้วยเกมการศึกษาร่วมกับแบบฝึกทักษะ
ผู้วิจัย นางวราภรณ์ นามบุตร โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านลัดกะสัง) กองการศึกษา เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อากาศ รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 รหัสวิชา ว 13101 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านลัดกะสัง) ด้วยเกมการศึกษาร่วมกับแบบฝึกทักษะครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ ด้วยเกมการศึกษาร่วมกับแบบฝึกทักษะ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียน เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษาร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านลัดกะสัง) เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษาร่วมกับแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบประเมินแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบที (t - test) แบบตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples t - test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษาร่วมกับแบบฝึกทักษะ เท่ากับ 82.55/81.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.07