ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนผดุงวิทยา ปีการศึกษา 2565
ผู้ประเมิน นางศิรินภา โยธา ครู โรงเรียนผดุงวิทยา
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบนวัตกรรมในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding 3. ผลผลิต (Output) ได้แก่ 1) 1) ครูผู้สอนสามารถออกแบบนวัตกรรมในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เกิดทักษะทักษะวิทยาการคำนวณ จากการเข้าร่วมกิจกรรม Unplugged Coding ผลลัพธ์ (Outcome) ได้แก่ 1) ครูผู้สอนสามารถออกแบบนวัตกรรมในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding ได้เหมาะสมกับผู้เรียน 2. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เกิดทักษะทักษะวิทยาการคำนวณ จากการเข้าร่วมกิจกรรม Unplug 3. รางวัล/การยกย่องชมเชยที่ได้รับจากหน่วยงานต้นสังกัด 4. ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อนวัตกรรมการจัดเรียนรู้
ผลประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินความสามารถด้านการออกแบบนวัตกรรมในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding
ผลการประเมินความสามารถด้านการออกแบบนวัตกรรมในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding ของครูผู้สอน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50)
2. ผลการมีส่วนร่วมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในการได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding
ผลการมีส่วนร่วมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในการได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding พบว่า นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งหมดจำนวน 11 คน คิดเป็น ร้อยละ 100
3.ผลการประเมินความความสามารถของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding
ผลการประเมินความความสามารถของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในวิชาวิทยาการคำนวณ สูงขึ้น คะแนนวิชาวิทยาการคำนวณ ซึ่งอยู่ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พบว่า ผู้เรียนมี ผลการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไปร้อยละ 100
4.ครูผู้สอนคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding
ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ในการส่งเสริมพัฒนาให้เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding ของครูผู้สอน มีผลการประเมินดังนี้
1) ด้านแผนการจัดการเรียนรู้การส่งเสริมพัฒนาให้เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
2) ด้านสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
3) ด้านจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
4) ประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง และนำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และ การพัฒนาผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
5.ผลการประเมินระดับความพึงพอใจดำเนินการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนผดุงวิทยา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 11 คน
ผลการประเมินระดับความพึงพอใจดำเนินการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาการคำนวณ โดยใช้รูปแบบกิจกรรม Unplugged Coding ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนผดุงวิทยาปีการศึกษา 2565 จำนวน 11 คน โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.22, S.D. = 0.52) เมื่อแยกเป็นรายข้อ พบว่า ด้านนักเรียนได้รับการส่งเสริมให้มีทักษะวิทยาการคำนวณมีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.55, S.D. = 0.52) รองลงมาได้แก่ครูผู้สอนใส่ใจดูแลผู้เรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.45, S.D. = 0.52) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านระยะเวลาในการดำเนินงานมีความเหมาะสม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.64, S.D. = 0.50)