ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา PIROM Model เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนศรีภิรมย์พิทยา
ผู้ประเมิน นายวัฒนา โยธา ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีภิรมย์พิทยา
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา PIROM Model เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนศรีภิรมย์พิทยา 2. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา PIROM Model เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนศรีภิรมย์พิทยา 3. ผลผลิต (Output) ได้แก่ 1) ครูผู้สอน มีความสามารถในการวางแผน ออกแบบการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ 2) ผู้เรียน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21สำหรับแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ผลลัพธ์ (Outcome) ได้แก่ 1) ครูผู้สอนเกิดการพัฒนาตนเองในการจัดวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับสถานการณ์ และความพร้อมของผู้เรียน 2) ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 และมีพัฒนาการด้านการอ่านการเขียน และการคิดคำนวณเหมาะสมตามระดับชั้น 3) รางวัล/การยกย่องชมเชยที่ได้รับจากหน่วยงานต้นสังกัด 4) ความพึงพอใจของครูผู้สอน และผู้เรียนต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษา
ผลประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินความสามารถด้านการวางแผน ออกแบบการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ของครูผู้สอน
ผลการประเมินคุณภาพในการความสามารถด้านการวางแผน ออกแบบการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ของครูผู้สอน โดยครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินตนเอง มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.42,  = 0.74) เมื่อดูเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การทดลองใช้นวัตกรรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67,  = 0.52) รองลงมาได้แก่ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสรุปผลการใช้นวัตกรรม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50,  = 0.55) ส่วนรายการที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ การศึกษาแนวทางวิธีแก้ปัญหามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.17,  = 0.75)
2.ผลการสำรวจการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และความสามารถด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของผู้เรียน
ผลการสำรวจการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และความสามารถด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของผู้เรียน พบว่า นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้งหมดจำนวน 108 คน คิดเป็น ร้อยละ 100
3.ผลการตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ของครูผู้สอน มีผลการประเมินดังนี้
1. ด้านแผนการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยมจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ระดับดีเลิศ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33
2. ด้านสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยมจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ระดับดีเลิศจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67
3. ด้านจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม กับวัยมีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยมจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ระดับดีเลิศจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 และระดับดีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67
4. ประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง และนำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และ การพัฒนาผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยมจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ระดับดีเลิศ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33
4.ผลการประเมินทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และความสามารถด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณของผู้เรียน
นักเรียนปกติระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 มีจำนวนทั้งสิ้น 80 คน มีผลการอ่าน ระดับดีขึ้นไป 74 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50 และนักเรียนปกติระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 มีจำนวนทั้งสิ้น 80 คน มีผลการอ่านระดับดีขึ้นไป 70 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50
5. ผลการตรวจสอบรับรางวัล/การยกย่องชมเชยที่ได้รับจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น
ผลการตรวจสอบรับรางวัล/การยกย่องชมเชยที่ได้รับจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น พบว่า สถานศึกษาได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่ จำนวน 5 รางวัล ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน 1 รางวัล รางวัลระดับจังหวัด 4 รางวัล รางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 8 รางวัล ครูผู้สอนได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน 2 รางวัล รางวัลระดับจังหวัด 13 รางวัล รางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 19 รางวัล ผู้เรียนได้รับรางวัลได้รับรางวัลระดับชาติ จำนวน 2 รางวัล รางวัล ระดับภาคจำนวน 5 รางวัล รางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 13 รางวัล ผ่านเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน ได้รับรางวัลจากการพัฒนาตนเองตามรูปแบบการบริหารสถานศึกษา PIROM Model
6.ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน และผู้เรียนต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา
ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผลการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนด้วยกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะ ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน ศรีภิรมย์พิทยาปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 4.17,  = 0.69) เมื่อแยกเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67,  = 0.52) รองลงมา ได้แก่ ผู้อำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินการนิเทศกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50,  = 0.55) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ระยะเวลาในการดำเนินงานมีความเหมาะสม มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.83,  = 0.98)
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อผลการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนด้วยรูปแบบ การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน ศรีภิรมย์พิทยา ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของ ผู้เรียน โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 3.99,  = 0.66) เมื่อแยกเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.31,  = 0.69) รองลงมา ได้แก่ โรงเรียนส่งเสริมให้มีการต่อยอดพัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.22,  = 0.54) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ โรงเรียนสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.51,  = 0.77)