ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านสมานมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
ผู้รายงาน ชนก แสนติยศ
ปีที่จัดทำ 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านสมานมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชาการที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย ครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1-ประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 รวมจำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบประเมิน จำนวน 6 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย
ผลการวิจัย พบว่า
1. ด้านบริบทของโครงการ โดยรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมและก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะชีวิต มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยด้านบริหารจัดการ และด้านบุคลากร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านงบประมาณ ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า 1) ด้านการวางแผน พบว่า ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านการดำเนินงาน พบว่า มีการปฏิบัติกิจกรรมปลูกผักอินทรีย์ กิจกรรมปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ กิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อ กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน ในระดับมากที่สุด ส่วนกิจกรรมเลี้ยงปลาในนาข้าวอินทรีย์ มีการปฏิบัติในระดับมาก 3) ด้านการตรวจสอบและติดตาม พบว่า มีการจัดประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ นิเทศติดตามการดำเนินงานกิจกรรมตามแผนการนิเทศที่กำหนดไว้ บันทึกการนิเทศติดตามกิจกรรม สรุปผลการประเมินทักษะชีวิตนักเรียน และประเมินความพึงพอใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และ 4) ด้านการปรับปรุงแก้ไข พัฒนา พบว่า รายงานผลการดำเนินงานแก่หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้
4.1 โรงเรียนบ้านสมานมิตร มีแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ภายในโรงเรียนสำหรับใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน จำนวน 6 แหล่งเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาในบ่อ แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาในนาข้าวอินทรีย์ แหล่งเรียนรู้การปลูกผักอินทรีย์ แหล่งเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่แบบอินทรีย์ และแหล่งเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน
4.2 การประเมินทักษะการใช้ชีวิตของทักษะชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านสมานมิตร
กิจกรรมที่ 1 จำนวนนักเรียน 18 คน มีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 30 คะแนน ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีนักเรียนที่ได้คะแนน 29 คะแนนขึ้นไป จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
กิจกรรมที่ 2 จำนวนนักเรียน 18 คน มีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 31.50 คะแนน ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีนักเรียนที่ได้คะแนน 29 คะแนนขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 94.44 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
กิจกรรมที่ 3 จำนวนนักเรียน 18 คน มีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 32 คะแนน ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีนักเรียนที่ได้คะแนน 29 คะแนนขึ้นไป จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 94.44 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
กิจกรรมที่ 4 จำนวนนักเรียน 18 คน มีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 29.67 คะแนน ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีนักเรียนที่ได้คะแนน 29 คะแนนขึ้นไป จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
กิจกรรม 5 จำนวนนักเรียน 18 คน มีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 29 คะแนน ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีนักเรียนที่ได้คะแนน 29 คะแนนขึ้นไป จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
กิจกรรมที่ 6 จำนวนนักเรียน 18 คน มีคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด 29.16 คะแนน ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีนักเรียนที่ได้คะแนน 29 คะแนนขึ้นไป จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาทักษะชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านสมานมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยแต่ละด้านมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านความรู้และทักษะการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ และนักเรียนมีความรู้และทักษะการเลี้ยงปลาในบ่อ ด้านทักษะการใช้ชีวิต คือ มีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และด้านผลผลิต คือ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้สำหรับให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนมีความพอเพียงและมีจิตสาธารณะ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด