การประเมินโครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาลพบุรีเขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทเกี่ยวกับความต้องการจ าเป็น
ของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกิจกรรม
และความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) เพื่อประเมินปัจจัยน าเข้าเกี่ยวกับบุคลากรของ
สถานศึกษา งบประมาณ สถานที่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ เกี่ยวกับ การวางแผน การ
ด าเนินงาน การนิเทศ ติดตาม การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข 4) เพื่อประเมินผลผลิต เกี่ยวกับผลการ
ด าเนินกิจกรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ จ านวน 316 คน ประกอบด้วย 1) นักเรียนจ านวน
146 คน 2) ครู จ านวน 17 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จ านวน 146 คน 4) กรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน จ านวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ จ านวน 9 ฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วย
ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นทุกตัวชี้วัดและภาพรวมของโครงการ
ดังนี้
1. การประเมินบริบทโครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จ านวน 4 ตัวชี้วัด ผลการประเมิน
พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงล าดับคะแนน
เฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด รองลงมาคือด้านความ
เหมาะสมของกิจกรรม ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ และความต้องการจ าเป็น
ของโครงการ ตามล าดับ
2. การประเมินปัจจัยน าเข้าโครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จ านวน 4 ตัวชี้วัด ผลการ
ประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงล าดับ
คะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านสถานที่ ด้านงบประมาณ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และด้านบุคลากร
ของสถานศึกษา ตามล าดับข
3. การประเมินกระบวนการโครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จ านวน 5 ตัวชี้วัด ผลการ
ประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด สอดคล้องอยู่ในระดับมาก โดยเรียงล าดับคะแนน
เฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการปรับปรุงแก้ไข รองลงมาด้านการนิเทศติดตาม ด้านการด าเนินงาน ด้าน
การวางแผน ด้านการประเมินผล และ ตามล าดับ
4. การประเมินผลผลิต โครงการวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จ านวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงล าดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย
ดังนี้ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รองลงมา ด้านผลการด าเนินงาน และ คุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ของนักเรียน ตามล าดับ