การวิจัยเรื่องการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการ
เรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษา
สภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนการพัฒนา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการ
เรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษา
ผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการน าไปปฏิบัติ
ของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัยพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน
และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จ านวน 43 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูผู้สอนโรงเรียน
บ้านยางโทน จ านวน 13 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านยางโทนจ านวน 27 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมิน
ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ในการน าไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูผู้สอน
โรงเรียนบ้านยางโทน จ านวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติพื้นฐาน
ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพปัจจุบันชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและ
ความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพปัจจุบัน(2)
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความ
ต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ที่สุด
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการ
เรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่ง
ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของ
รูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ
การตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความถูกต้องภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไป
ได้ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินคู่มือการใช้
รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พบว่า ความถูกต้องของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้
ของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ก่อนการอบรม ภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ และหลังการ
อบรมภาพรวม อยู่ในระดับดี
4. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการน าไปปฏิบัติของรูปแบบ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ความเหมาะสมของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของ
ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับ มาก และความเป็นประโยชน์การสร้างชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยรวมอยู่ในระดับมาก