การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และ 3) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา การวิจัยครั้งนี้ มุ่งพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตามการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2564) กรมสุขภาพจิต (2551) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2552) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2559) จำแนกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน และ 5) ด้านการส่งต่อ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และระยะที่ 3 ศึกษาผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
ผลการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการคัดกรองนักเรียนและด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.41) รองลงมา คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ( = 4.32) และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ( = 4.31) และด้านการส่งต่อมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 4.28) สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาและด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.69) รองลงมาคือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ( = 4.68) ด้านการคัดกรองนักเรียน ( = 4.66) และด้านการส่งต่อ ( = 4.61) ตามลำดับ สำหรับค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) ของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่รับผิดชอบกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน หัวหน้างานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูแนะแนว เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา (PNImodified = 0.0882) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (PNImodified = 0.0833) ด้านการส่งต่อ (PNImodified = 0.0771) ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน (PNImodified = 0.0635) และ ด้านการคัดกรองนักเรียน (PNImodified = 0.0567)
2. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ประกอบด้วย 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กลไกการขับเคลื่อนและแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 4) ปัจจัยความสำเร็จ และ 5) การประเมินผล โดยกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ประกอบด้วย เข้าใจ หมายถึง การเก็บรวบรวมและศึกษาข้อมูลของนักเรียนรายบุคคลในทุกมิติ ศึกษาบริบท สภาพแวดล้อม สภาพปัญหา ความจำเป็นและความต้องการในการพัฒนา ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมและหลากหลาย สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ในการวางแผนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งการกำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ และวิธีการในการพัฒนานักเรียนตามกระบวนการของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อไป เข้าถึง หมายถึง กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจ ร่วมวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของนักเรียน การสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียนทั้งภายในสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษา นักเรียนทุกคน และภายนอกสถานศึกษา ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อความเข้าใจตรงกันและให้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากที่สุด อีกทั้งค้นหากระบวนการ กลวิธี และจัดกิจกรรมในการพัฒนานักเรียนที่หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาของนักเรียนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล พัฒนา หมายถึง กระบวนการพัฒนาแก้ปัญหาที่ยั่งยืน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนารูปแบบ กระบวนการตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมถึงการติดตาม สนับสนุน ประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล กลไกการขับเคลื่อน เข้าใจ มี 7 แนวทาง เข้าถึง มี 2 แนวทาง พัฒนา มี 4 แนวทาง ด้านการคัดกรองนักเรียน กลไกการขับเคลื่อน เข้าใจ มี 3 แนวทาง เข้าถึง มี 5 แนวทาง พัฒนา มี 1 แนวทาง ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา กลไกการขับเคลื่อน เข้าใจ มี 3 แนวทาง เข้าถึง มี 5 แนวทาง พัฒนา มี 4 แนวทาง ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน กลไกการขับเคลื่อน เข้าใจ มี 1 แนวทาง เข้าถึง มี 4 แนวทาง พัฒนา มี 4 แนวทาง ด้านการส่งต่อ กลไกการขับเคลื่อน เข้าใจ มี 3 แนวทาง เข้าถึง มี 2 แนวทาง พัฒนา มี 3 แนวทาง มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.61 ความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย 4.64
3. ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในภาพรวมเกิดผลที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน ครู สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล และชุมชน ครอบคลุมทุกมิติในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งด้านโอกาส ด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และด้านความปลอดภัย โดยส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนจำนวน 10 รายการ ครู จำนวน 5 รายการ สถานศึกษา จำนวน 5 รายการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล จำนวน 9 รายการ และชุมชน จำนวน 3 รายการ
ทั้งนี้มีข้อค้นพบที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษาในการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้
1. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) และโรคอุบัติใหม่ ที่อาจก่อให้เกิดการหยุดชะงักทางการศึกษาอีกระลอกหนึ่ง จึงควรวิจัยการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแม้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) และโรคอุบัติใหม่
2. ควรวิจัยการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ในปัจจุบัน
3. ควรวิจัยรูปแบบ แนวทาง หรือวิธีการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรูปแบบใหม่ และนำผลการวิจัยมาเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามแนวทาง การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล โดยใช้ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อนำผลการเปรียบเทียบไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคม และโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบัน